น้ำท่วมปัตตานี ยังอ่วม ย่านเศรษฐกิจท่วมสูง หลายพื้นที่เริ่มขาดแคลนอาหาร
น้ำท่วมภาคใต้ "ปัตตานี" ยังอ่วม ย่านเศรษฐกิจระดับน้ำยังท่วมสูง หลายพื้นที่เริ่มขาดแคลนอาหาร ทำให้ถนนทุกเส้นในจมอยู่ใต้น้ำ และปริมาณยังเพิ่มสูงขึ้น
29 พ.ย. 2567 สถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดภาคใต้เข้าสู่ภาวะวิกฤต มวลน้ำทะลักเข้าท่วมถึงในตัวเมือง พร้อมทั้งยังให้ประชาชนเก็บของและอพยพขึ้นสู่ที่ปลอดภัย โดยเพจเฟซบุ๊ก "Pattani ToDay ปัตตานี ทูเดย์" รายงานสถานการณ์น้ำท่วมที่ จังหวัดปัตตานี โดยรุบุว่า
หลายพื้นที่เริ่มขาดแคลนอาหาร อาหารไม่พอกับความต้องการของประชาชน บ้างซื้อตุนเพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่คาดว่าจะมีหนักกว่านี้ ไปอีกหลายวัน
และมีบางร้านแม่ค้าฉวยโอกาส ขายผักบุ้ง กำละ 100 บาท ไข่ไก่ มาม่า ปลากระป๋อง ข้าวสารอาหารแห้ง เป็นการฉวยโอกาสที่น่าเกลียดที่สุด ทุกคนเดือดร้อนกันมามากพอแล้ว อย่าน่าเลือดจนลืมตัวให้มากเลย
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีประชาชนเดือดร้อนกันเยอะ ไม่แปลกเลยที่ร้านเจ้าสัวขายดีจนอาหารบางอย่างขาดตลาด เพราะมีป้ายราคาที่ชัดเจน ไม่ใช่ร้านของชำบางร้าน ที่ฉวยโอกาสในเวลาที่ประชาชนเดือดร้อนแบบนี้
นอกจากนี้ยังมีรายงาน ว่าเจ้าของบ่อจระเข้ได้ตัดสินใจฆ่าจระเข้ เนื่องจากกลัวว่าจะหลุดออกไปจากบ่อซิเมนต์
น้ำท่วมปัตตานี ล่าสุด
อย่างไรก็ตาม รายงานล่าสุดจากทางเพจ ระบุว่า "มวลน้ำมาถึงวงเวียนหอนาฬิกาจังหวัดปัตตานีแล้ว ถนนหนองจิก ตั้งแต่วงเวียนหอนาฬิกา หน้าบิ๊กซี ไปจนถึงโรงแรมเซาเทิร์นวิว มอเตอร์ไซต์ รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ น้ำท่วมสูงขึ้นเร็วมาก ขึ้นสูงเรื่อยๆ
เฝ้าระวังน้ำขึ้น ติดตามระดับน้ำ อยู่ตลอดทั้งคืนเพื่อพร้อมอพยพหนี
ขอให้มีการช่วยเหลืออาสาสมัครฉุกเฉิน และระดมความช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง ในช่วง 4 คืนนี้ ขอให้อดทนใน 4 คืนนี้
โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงในเมือง และพื้นที่ลุ่มต่ำ ให้เตรียมความพร้อมและขอให้ทุกคนปลอดภัยจากภัยพิบัติน้ำท่วมในครั้งนี้ด้วยครับ"
ย่านเศรษฐกิจของปัตตานี ถนนพิพิธทั้งเส้นเต็มไปด้วยน้ำ และถนนสายเศรษฐกิจอีกหลายเส้นของปัตตานี น้ำขึ้นสูงเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว ถนนถูกปิดไม่สามรถสัญจรได้ หลาย ๆ ร้านได้มีการเตรียมตัวใว้ล่วงหน้าแล้ว และบางร้านที่ไม่ทันก็ให้รีบยกของโดยเร็ว เพราะน้ำมาเร็วมาก เครื่องสูบน้ำหลายตัว ทำงานสูบน้ำอย่างต่อเนื่อง
สายด่วน เบอร์โทรฉุกเฉิน แจ้งเหตุน้ำท่วม
รายชื่อเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินที่ควรติดต่อในกรณีเกิดเหตุการณ์อุทกภัย หรือน้ำท่วม
- ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คปภ.) โทร. 1111 กด 5
- สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัยน้ำท่วม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โทร. 1784
- ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ขอความช่วยเหลือ โทร. 1193
- ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ขอความช่วยเหลือ โทร. 1146
- บริการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นำส่งโรงพยาบาล กู้ชีพ โทร. 1669
- กรมชลประทาน โทร. 1460
- กรมอุตุนิยมวิทยา สายด่วนข้อมูลสภาพอากาศ โทร. 1182
หมายเหตุ: เบอร์โทรศัพท์เหล่านี้เป็นเบอร์ที่สามารถใช้ติดต่อขอความช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม หรืออุทกภัยได้ทันที
คำแนะนำ: ควรบันทึกเบอร์โทรศัพท์เหล่านี้ไว้ในโทรศัพท์มือถือ หรือติดไว้ในที่ที่สามารถเห็นได้ง่าย เพื่อให้สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วในกรณีฉุกเฉิน