ข่าว

ฟ้าเปิดชวนดู ดาวหางจื่อจินซาน -แอตลัส ริมทะเลสาบสงขลาฝั่งพัทลุง

ฟ้าเปิดชวนดู ดาวหางจื่อจินซาน -แอตลัส ริมทะเลสาบสงขลาฝั่งพัทลุง

01 ต.ค. 2567

ฟ้าเปิดชวนดู "ดาวหางจื่อจินซาน -แอตลัส" ริมทะเลสาบสงขลาฝั่งพัทลุง หากพลาดต้องรออีก 80,660 ปีข้างหน้า พร้อมเปิดที่มาการค้นพบดาวหางนี้

1 ต.ค. 2567 ฟ้าเปิดชวนดูดาวหางจื่อจินซาน -แอตลัส ริมทะเลสาบสงขลาฝั่งพัทลุง หากพลาดต้องรออีก 80,660 ปีข้างหน้า

 

ความสวยงามของท้องฟ้าที่สดใสในยามเช้า ริมทะเลสาบสงขลา ฝั่งจังหวัดพัทลุง ถือเป็นช่วงที่สวยงามอีกช่วงหนึ่ง ของฤดูลมเปลี่ยนทิศ จากลมตะวันตกกำลังเปลี่ยนเป็นลมตะวันออก รับหน้าฝน

 

โดยช่วงนี้เป็นช่วงฟ้าโปร่ง เหมาะสำหรับการชมแสงยามเช้า และดาวหาง ที่กำวิ่งผ่านโลก มองเห็นด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ ช่วง  04.30 น. จนถึงเช้า ริมทะเลสาบสงขลา

ฟ้าเปิดชวนดู ดาวหางจื่อจินซาน -แอตลัส ริมทะเลสาบสงขลาฝั่งพัทลุง

บ้านปากประถือเป็นจุดไฮไลต์ จุดที่ช่างภาพสายถ่ายภาพดาว สายธรรมชาติ ให้ความสนใจ ตื่นมาถ่ายดาวหาง และชมแสงแรก ตามจุดต่างๆ ของริมทะเลสาบ อย่างที่ปากประวิลล่า ท้องที่ ม.8 ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง ถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่เหมาะสำหรับการนั่งชมดาวหาง และแสงยามเช้า ที่ทอแสงทองสะท้อนกับพื้นน้ำอย่างสวยงาม ชวนให้ได้หลงใหล

 

ฟ้าเปิดชวนดู ดาวหางจื่อจินซาน -แอตลัส ริมทะเลสาบสงขลาฝั่งพัทลุง

สำหรับดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส เหนือฟ้าเมืองไทย สามารถดูได้ในช่วงเช้ามืด ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ทางทิศตะวันออก ทางใต้ โดยดาวหาง C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) ค้นพบโดยระบบเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ ATLAS (Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System) ในประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023

ต่อมาพบว่ามีรายงานจากนักดาราศาสตร์ที่หอดูดาวจื่อจินซานในประเทศจีน ได้ค้นพบดาวหางดวงนี้ก่อนหน้านั้นแล้ว เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2023 ดังนั้น ชื่อของหอดูดาวทั้งสองฝั่ง จึงกลายเป็นชื่อของดาวหางดวงนี้ สำหรับระหว่างวงโคจรของดาวพุธและดาวศุกร์ โดยจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2024 ที่ระยะห่างประมาณ 58.6 ล้านกิโลเมตร (ประมาณระยะห่างจากดวงอาทิตย์ถึงดาวพุธ) ก่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2024 ที่ระยะห่าง 70.6 ล้านกิโลเมตร

 

ซึ่งจะเป็นช่วงที่ดาวหางจะมีความสว่าง ปรากฏบนท้องฟ้ามากที่สุด ก่อนที่ดาวหางจะโคจรออกห่างจากโลกไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะโคจรกลับมาอีกครั้งในอีก 80,660 ปีข้างหน้า