ข่าว

เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10000 บาท แลกเป็น เงินสด ได้หรือไม่ สินค้าไหนใช้ไม่ได้

เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10000 บาท แลกเป็น เงินสด ได้หรือไม่ สินค้าไหนใช้ไม่ได้

18 ก.ค. 2567

มีคำตอบ "เงินดิจิทัลวอลเล็ต" 10000 บาท แลกเป็น เงินสด ได้หรือไม่ ลงทะเบียนยืนยันตัวตนยังไง สินค้าประเภทไหนไม่เข้าร่วมบ้าง

เตรียมให้พร้อม สำหรับโครงการ "เงินดิจิทัลวอลเล็ต" 10,000 บาท ที่จะเปิดให้ลงทะเบียน 1 ส.ค. 2567 นี้ ซึ่งได้มีการมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ รวมไปถึงการลงรายละเอียดเงื่อนไขของการรับสิทธิ์ และมาตรการป้องกันการทุจริต การเรียกเงินคืนให้ชัดเจนขึ้น ล่าสุด นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกมายืนยันว่า ปลายปีนี้เงินถึงมือประชาชนแน่นอน ตามที่ได้ยืนยันมาตลอด 4-5 เดือนที่ผ่านมา และยืนยันได้ว่าระบบทัน เงินเพียงพอ ได้ทันในกรอบเวลาสำหรับ 50 ล้านคน 500,000 ล้านบาท 

 

 

ในขณะที่หลายคนมีการตั้งคำถามว่า เงินดิจิทัล สามารถแลกเป็นเงินสดได้หรือไม่ ซึ่ง นายจุลพันธ์ ได้อธิบายในกรณีนี้ว่า กลไกเติมเงิน 10,000 บาท นำไปใช้ผิดประเภทผิดวัตถุประสงค์หรือไปทำอะไรที่ผิดไปจากกลไกที่กำหนดไว้ นั้น ต้องยอมรับว่าโครงการในอดีตเคยเกิดขึ้น เช่น ให้เงินไป ไม่ได้ซื้อสินค้าจริง แล้วแลกเป็นเงินสดมา แต่เราก็สามารถดำเนินการตามกฎหมายฟ้องร้องคืนได้ ในกรณีที่ใครเคยทำผิดข้อจำกัดของรัฐในโครงการต่างๆ มีคดีความฟ้องร้องเรียกเงินคืน คนเหล่านั้นจะถูกตัดสิทธิ์จากโครงการนี้ ขอยืนยันว่าเราป้องกันเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเต็มที่

 

พร้อมเตือนร้านค้า และประชาชน หากมีความพยายามที่จะรับแลกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นเงินสด แทนการใช้จ่ายผ่านระบบ ดิจิทัลวอลเล็ต ถือว่ามีความผิด และถูกดำเนินคดีทางอาญา รวมถึงตัดสิทธิการเข้าร่วมโครงการของรัฐในอนาคต

 

ก่อนหน้านี้ พบพฤติกรรมการทุจริตโครงการคนละครึ่ง ด้วยการสแกนจ่ายคิวอาร์โค้ดร้านค้าในโครงการฯ เสมือนการซื้อขายสินค้าจริง แต่ผู้ประชาชนแลกรับเป็น "เงินสด" แทน โดยร้านค้า จะหักเปอร์เซ็นต์เอากำไร ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างดำเนินคดีและเรียกเงินคืนจากประชาชนและร้านค้ากลุ่มนี้มากกว่า 2,000 คน

 

สำหรับเงื่อนไข คุณสมบัติ ผู้มีสิทธิ์ได้รับ เงินดิจิทัล วอลเล็ต ยังยึดตามเดิม ได้แก่

 

  • สัญชาติไทย เกณฑ์อายุ 16 ปี ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2567
  • เงินฝากไม่เกิน 5 แสนบาท ภายในวันที่ 31 มี.ค. 2567
  • รายได้ไม่เกิน 8.4 แสนบาท ใช้เกณฑ์ข้อมูลรายได้ภาษีย้อนหลัง ปีภาษี 2566
  • มีบัญชีดิจิทัลวอลเล็ตสำหรับรับเงินตามนโยบาย

 

 

2 กลุ่ม ที่ไม่ได้รับ เงินดิจิทัล

 

  • ผู้ที่มีรายได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปี
  • ผู้ที่มีเงินฝากในสถาบันการเงินพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐรวมกันทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ตั้งแต่ วันที่ 31 มี.ค. 2567
     

 

ผู้ที่มีสิทธิสามารถลงทะเบียนผ่านแอปฯ ทางรัฐ โดยสามารถยืนยันตัวตันได้ 6 ช่องทางตามนี้

 

 

 

สินค้าที่ไม่สามารถใช้ เงินดิจิทัล วอลเล็ต ประกอบด้วย

 

  • สลากกินแบ่งรัฐบาล
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ยาสูบ
  • กัญชา
  • กระท่อม
  • พืชกระท่อม
  • ผลิตภัณฑ์กัญชา-กระท่อม
  • บัตรกำนัล
  • บัตรเงินสด
  • ทองคำ
  • เพชร
  • พลอย
  • อัญมณี
  • น้ำมันเชื้อเพลิง
  • ก๊าซธรรมชาติ
  • ร้านทำผม
  • ร้านนวด
  • ร้านเสริมสวย