ข่าว

'บุหรี่ไฟฟ้า' ปัญหาในคอนเสิร์ต สะท้อนกฎหมายสั่งแบน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กระแสดราม่าปัญหา 'บุหรี่ไฟฟ้า' ในกิจกรรมคอนเสิร์ต ที่ศิลปินหลายคนออกมารณรงค์ ก่อนที่จะมีการจัดประชุมภาคีสมาชิกกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลกครั้งที่ 10 หรือ FCTC COP10 ในเดือนกุมภาพันธ์ นี้

เป็นกระแสอย่างต่อเนื่องสำหรับประเด็นเรื่อง "บุหรี่ไฟฟ้า" ในงานคอนเสิร์ต หลังคนดังทั้งไทยและต่างประเทศออกมาประกาศย้ำห้ามผู้ชมหรือผู้เข้าร่วมกิจกรรมใช้บุหรี่ไฟฟ้าภายในงาน ชี้ส่งผลต่อศิลปินและผู้ชม ย้ำสถานการณ์ปัจจุบันว่าการแบน หรือ หยุดบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้จริง มีผู้ใช้จำนวนมาก แต่ยังไร้แวว รัฐบาล ออกมาควบคุม ขณะที่การประชุมเวทีควบคุมยาสูบโลก COP10 จะถกปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าระหว่างต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ 

 

 

หลังจากเข้าสู่ปี 2024 มาเพียงหนึ่งเดือน ก็มีศิลปินจำนวนมากมายทั้งไทยและต่างประเทศที่ออกมาประกาศห้ามใช้ "บุหรี่ไฟฟ้า" ภายในงาน พร้อมยกเหตุผลด้านมารยาทและผลกระทบต่อสุขภาพของศิลปินและผู้ชม ไม่ว่าจะเป็น ก้อง ห้วยไร่ ที่ประกาศคืนเงินค่าบัตรเข้าชมให้แก่ผู้ชมที่ต้องการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในงาน แพท วง Klear ที่กล่าวว่าตนเหมือนโดนคนดูฆ่า หลังขอร้องห้ามสูบบุหรี่ในคอนเสิร์ตแล้วโดนพ่นควันใส่หน้า หรือแม้กระทั่งคอนเสิร์ตล่าสุดของวงในตำนานอย่าง Coldplay ที่ผู้ชมโวยระงม รวมถึงนักแสดง คอปเตอร์ ภานุวัฒน์ ที่โพสต์บน X ส่วนตัวว่าเซ็งกับคอนเสิร์ตหลังเจอคนใช้กัญชาและบุหรี่ไฟฟ้าเกลื่อน

หากพูดในมุมของหลักการแล้ว ผู้เข้าชมการแสดงควรเคารพผู้ชมท่านอื่นในงานโดยการไม่สูบบุหรี่ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่มวนหรือ "บุหรี่ไฟฟ้า" ก็ตาม ก่อนหน้านี้ปัญหาของการสูบบุหรี่ในคอนเสิร์ตอาจไม่มากเท่าปัจจุบัน เพราะบุหรี่มวนนั้นถูกควบคุมด้วยกฎหมายที่ระบุโทษและค่าปรับชัดเจน แต่ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า "บุหรี่ไฟฟ้า" ที่แท้จริงแล้วถูก แบน อยู่นั้น ได้กลายเป็นสิ่งที่แอบใช้กันอย่างโจ่งแจ้งเสียแล้ว และเนื่องจากแม้จะมีการแบน แต่ในทางปฏิบัตินั้นมีผู้ใช้จำนวนมหาศาลมากกว่า 700,000-1,000,000 คน ทำให้เกิดความต้องการจำนวนมากจนควบคุมไม่ได้

'บุหรี่ไฟฟ้า' ปัญหาในคอนเสิร์ต สะท้อนกฎหมายสั่งแบน

ดังนั้นภาระหน้าที่จึงถูกผลักมายัง ศิลปินและผู้จัด ที่ต้องรับหน้าที่ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในคอนเสิร์ตเสียเอง นำมาซึ่งคำถามว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เหตุใดจึงยังไม่เห็นปัญหาและเข้ามาจัดการให้ถูกต้องชัดเจนเสียที เพราะผู้ใช้ในปัจจุบันนั้นมีมากกว่าที่รัฐบาลจะกดทับสิ่งเหล่านี้ไว้ใต้ดินอีกแล้ว แถมยังไม่สามารถควบคุมการเข้าถึงของเยาวชนได้อีก

 

ขณะนี้จนถึงวันที่ 16 ก.พ.67 การประชุมภาคีอนุสัญญากรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (FCTC) ครั้งที่ 10 กำลังดำเนินไป ซึ่งหนึ่งในหัวข้อนั้นก็มีเรื่องของการควบคุมการใช้ "บุหรี่ไฟฟ้า" อยู่ด้วยซึ่งเกิดคำถามตามมามากมายว่าประเทศไทยล้มเหลวในการแบนบุหรี่ไฟฟ้า เลือกเอาแต่ข้อมูลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนจุดยืนในการแบนโดยไม่สนใจหลักฐานเชิงประจักษ์ใหม่ ๆ สวนทางกับประเทศชั้นนำของโลก เช่นเดียวกับมาตรการและข้อแสนอแนะต่าง ๆ ของ WHO FCTC ที่อาจจะไม่เหมาะสมอีกต่อไป แล้วประเทศไทยจะจัดการกับบุหรี่ไฟฟ้าอย่างไรให้ต่างไปจากเดิม

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ