ข่าว

ปภ.แนะนำ "วิธีการขับรถช่วงฤดูฝน" และ หลักการแก้ไขเหตุฉุกเฉิน

11 ก.ย. 2565

ปภ.แนะนำประชาชนถึง "วิธีการขับรถช่วงฤดูฝน" และ หลักการแก้ไขเหตุฉุกเฉิน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ลดความกังวลใจ

ในสถานการณ์ช่วงฤดูฝน ผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่ มักจะมีความกังวลคล้ายๆกัน เวลาเจอน้ำท่วมขังนั้น คงหนีไม่พ้นเรื่องการขับรถอยู่บนถนนและรถเกิดดับกลางทาง รวมถึงการขับรถในช่วงฝนตกที่มีสภาพถนนเปียกลื่น มีน้ำท่วมขัง และ ทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทางไม่ชัดเจน อาจจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนรุนแรง

 

ล่าสุด กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนและแนะนำ ข้อควรปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขเหตุฉุกเฉินในการขับรถในช่วงฝนตก และ "วิธีการขับรถช่วงฤดูฝน" ดังนี้

ข้อควรปฏิบัติ และ "วิธีการขับรถช่วงฤดูฝน"

- การขับรถ ไม่ขับรถเร็ว เว้นระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากกว่าปกติ ไม่หยุดหรือเปลี่ยนช่องทางกะทันหัน ให้สัญญาณไฟล่วงหน้า ก่อนเลี้ยวหรือเปลี่ยนช่องทางในระยะไม่ต่ำกว่า 60 เมตร

- การหยุดรถ แตะเบรกเบา ๆ เพื่อชะลอความเร็ว ก่อนหยุดรถ เพื่อเตือนให้รถคันหลังเว้นระยะห่างหรือหยุดรถได้อย่างปลอดภัย

- รถพลิกคว่ำ เกิดจากการขับรถด้วยความเร็วสูงและเบรกกะทันหันในเส้นทางเปียกลื่น

- ตรวจสอบยางรถใช้งาน ดอกยางละเอียด ร่องยางลึก และเติมลมยางให้มากกว่าปกติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนน

- การขับรถ ไม่ขับรถเร็วและไม่หยุดรถกะทันหัน เพราะจะทำให้ล้อล็อก ส่งผลให้รถเสียการทรงตัว และพลิกคว่ำได้ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้แตะเบรกเบา ๆ เป็นจังหวะแบบถี่ ๆ เพื่อชะลอความเร็ว

- รถติดหล่ม การขับรถผ่านเส้นทางที่เป็นดินโคลนและมีหลุมบ่อ ควรขับไปตามแนวรอยล้อรถ หากรถมีอาการหนืด ให้หมุนพวงมาลัยไปมาช้า ๆ จะช่วยป้องกันล้อรถไม่ให้จมโคลนลึก

 

วิธีแก้ไขรถติดหล่ม

- ห้ามเร่งเครื่องยนต์หรือหักพวงมาลัยอย่างแรง เพราะจะทำให้ล้อจมโคลนลึกกว่าเดิม ให้ใช้ก้อนอิฐหรือท่อนไม้วางด้านหน้าของล้อหลัง จากนั้นค่อย ๆ เร่งเครื่องยนต์ หรือใช้รถที่มีกำลังแรงกว่ามาลากรถที่ติดหล่ม

- รถหลุดโค้ง เกิดจากการขับรถด้วยความเร็วสูงขณะผ่านทางโค้ง ทำให้รถไถลออกนอกเส้นทาง

- การขับรถ ใช้ความเร็วในระดับที่สามารถควบคุมรถได้ และปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร ไม่เหยียบเบรกขณะเข้าโค้ง เพราะจะเกิดแรงเหวี่ยง ทำให้รถหลุดโค้ง

 

วิธีการขับรถ

 

วิธีแก้ไขรถเสียหลักหลุดโค้ง

- ห้ามหักพวงมาลัยกะทันหัน แตะเบรกเบา ๆ เพื่อชะลอความเร็วรถ จะช่วยให้รถกลับเข้าช่องทางได้ปลอดภัย

- รถเหินน้ำ เกิดจากการขับรถด้วยความเร็วสูงผ่านแอ่งน้ำ ส่งผลให้ยางรีดน้ำไม่ทัน ทำให้ล้อรถลอยบนผิวน้ำและหน้ายางไม่สัมผัสพื้นถนน

- การขับรถ ลดความเร็วเมื่อขับผ่านเส้นทางที่มีแอ่งน้ำ รวมถึงไม่เหยียบเบรกและหักพวงมาลัยกะทันหัน

 

วิธีแก้ไขรถเหินน้ำ และ "วิธีการขับรถช่วงฤดูฝน"

- ค่อย ๆ ถอนคันเร่ง เพื่อชะลอความเร็ว พร้อมจับพวงมาลัยให้มั่น จะช่วยควบคุมรถให้อยู่ในช่องทาง

 

เทคนิคขับรถผ่านเส้นทางน้ำท่วมขัง

- น้ำท่วมระดับผิวถนนประมาณ 10 ซม. ขับรถให้ช้าที่สุด พร้อมรักษาความเร็วรถอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงไม่ขับรถเร็วและไม่เร่งเครื่องยนต์

- น้ำท่วมระดับท้องรถประมาณ 20 ซม. ขับรถให้ช้าที่สุดไปตามแนวการขับขี่รถคันหน้า หรือขับรถบนกึ่งกลางถนนหรือบริเวณระดับน้ำต่ำที่สุด พร้อมระวังคลื่นน้ำจากรถคันหน้าที่ขับสวนทางมา

- น้ำท่วมระดับถึงไฟหน้ารถประมาณ 40 ซม. หยุดรถเพื่อประเมินสถานการณ์ กรณีน้ำลึกและไหลเชี่ยวให้เลี่ยงไปใช้เส้นทาง ห้ามขับรถผ่านเส้นทางดังกล่าวโดยเด็ดขาด

 

นอกจากนี้ การขับรถขึ้น – ลง ภูเขา ในช่วงที่ฝนตกมีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มปิดทับเส้นทาง ผู้ขับขี่ควรสังเกตสภาพแวดล้อมริมทาง หากระดับน้ำในร่องน้ำเพิ่มขึ้นและมีสีเดียวกับดินบนภูเขา มีร่องรอยดินสไลด์ตามไหล่ทาง ให้หลีกเลี่ยงการขับรถผ่านเส้นทางดังหล่าว เพราะอาจเกิดดินถล่มปิดทับเส้นทาง

 

ทั้งนี้ การเรียนรู้วิธีป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางช่วงฤดูฝน