ข่าว

"ติดโควิดซ้ำ" ไม่ได้อันตรายกว่าติดครั้งแรก หมอสิงคโปร์แย้งผลวิจัยสหรัฐ  

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้เชี่ยวชาญโรคติดต่อในสิงคโปร์ ตั้งข้อสังเกตและแย้งผลศึกษาในสหรัฐที่สรุปว่าคน “ติดโควิด-19 ซ้ำ”   เสี่ยงตายและอวัยวะพังมากกว่า 

 


ผลศึกษา ตีพิมพ์ในวารสาร เนเจอร์ เมดิซีน เผยแพร่เมื่อ 10 พ.ย.2565  จุดความวิตกถึงความร้ายแรงจากโควิด-19 ขึ้นมาอีกครั้ง  กับข้อสรุปที่ว่า  ผู้ที่ติดโควิดซ้ำ มีความเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้นสองเท่า  มีแนวโน้มต้องเข้ารพ. มากกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อครั้งแรก   ทั้งยังพบว่า ผู้ติดเชื้อซ้ำ มีความเสี่ยงปอดมีปัญหา 3.5 เท่า และเสี่ยงต่อหัวใจมากกว่า 3 เท่า  

 

ผลศึกษาชิ้นนี้ใช้ฐานข้อมูลกระทรวงทหารผ่านศึกสหรัฐ ระหว่าง 1 มีนาคม 2565 – 6 เมษายน 2565  แยกเป็นผู้ติดโควิดตั้งแต่สองครั้งเกือบ 4.1 หมื่นคน ผู้ติดเชื้อครั้งแรกจำนวน 4.4 แสนคน จากผู้ป่วยทั้งหมด 5.8 ล้าน โดยผู้เข้ารับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย

 

สเตรทไทมส์  สื่อสิงคโปร์ อ้างความเห็น  ศาสตราจารย์ Professor Ooi Eng Eong  ผู้เชี่ยวชาญโรคอุบัติใหม่ มหาวิทยาลัยการแพทย์  Duke-NUS  ว่า รู้สึกตกใจที่ผลศึกษาชิ้นนี้ ผ่านการตรวจทานโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer review) และตีพิมพ์ในวารสาร เนเจอร์ เมดิซีน เพราะเป็นผลศึกษาที่ให้ข้อมูลน้อยมาก ว่าคนติดเชื้อซ้ำมีโรคประจำตัวอะไรอยู่  

 

 

ขณะที่ ศาสตราจารย์  Paul Tambyah  ที่ปรึกษาอาวุโสโรคติดต่อ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติ และว่าที่ประธานสมาคมโรคติดต่อระหว่างประเทศ มองว่าปัญหาใหญ่ของผลศึกษาชิ้นนี้ คือกลุ่มติดเชื้อครั้งแรกและติดเชื้อซ้ำ แตกต่างกันมาก  กลุ่มติดเซื้อซ้ำในผลศึกษานี้ มีแนวโน้มเป็นผู้มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และเป็นผู้ป่วยที่รักษาระยะยาว อีกทั้งการศึกษาผู้ป่วย 41,000 คนจาก 5.8 ล้าน เป็นกลุ่มตัวอย่างเล็กมาก ยากที่จะนำข้อมูล มาตีความ และเป็นไปไม่ได้ที่นำมาเป็นบทสรุปกับประชากรกลุ่มอื่น 

 

ด้าน นายแพทย์  Shawn Vasoo  ผู้อำนวยการศูนย์โรคติดต่อแห่งชาติ ชี้ว่า ข้อมูลผู้ป่วยในสิงคโปร์ช่วง 1 เดือนครึ่ง ระหว่างตุลาคม  2565 ถึงกลางพฤศจิกายน 2565  พบว่า ผู้ติดเชื้อซ้ำ ที่ป่วยหนัก ต้องให้ออกซิเจน อยู่ในห้องไอซียูหรือเสียชีวิต มีสัดส่วนเพียง 0.2%  ส่วนผู้ติดเชื้อครั้งแรก มีแค่ 0.3%  นอกจากนี้ ผลศึกษาจากทหารผ่านศึกสหรัฐ  โฟกัสที่ผู้ป่วยชายอายุมาก และจำนวนมากสูบบุหรี่ หรือมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ  ด้วยเหตุนี้ ผลศึกษาในสหรัฐจึงไม่ได้สะท้อนผู้ป่วยทั่วไป 

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่


เพิ่มเพื่อน Line: https://lin.ee/qw9UHd2
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/   

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ