ข่าว

ชัดเจนกว่าครั้งไหน  WHO ยกไทยตัวอย่างจัดการโควิด-19 ชี้ความสำเร็จไม่ได้มาแบบโชคช่วย 

ชัดเจนกว่าครั้งไหน WHO ยกไทยตัวอย่างจัดการโควิด-19 ชี้ความสำเร็จไม่ได้มาแบบโชคช่วย 

14 พ.ย. 2563

ผอ.องค์การอนามัยโลกชมไทย จัดการโควิด-19 ได้โดยไม่มีวัคซีน ด้วยความร่วมมือร่วมใจ และการวางรากฐานสาธารณสุข  

 

ในการกล่าวปิดประชุมสมัชชาสุขภาพโลก เมื่อวาน(13 พ.ย.) ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ได้กล่าวชื่นชมประเทศไทย ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการกับสถานการณ์โรคระบาด โควิด-19  เป็นสุดยอดตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ไวรัสสามารถควบคุมได้แม้ปราศจากวัคซีน  ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รัฐบาล ทั้งสังคมตัวเลขของไทยอธิบายได้ด้วยตัวของมันเอง”

ไทยเป็นประเทศที่รายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายแรก นอกประเทศจีน แต่จนถึงปัจจุบัน ไทยมีผู้ติดเชื้อไม่ถึง 4,000 ราย เสียชีวิตราว 60 ราย ทั้งที่มีประชากร 70 ล้านคน โดยมีเมืองติดอันดับเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลกอย่างกรุงเทพ  เมื่อเทียบกับอังกฤษ ที่มีประชากร 68 ล้านคน กลับมีผู้ติดเชื้อ 1.3 ล้าน เสียชีวิตกว่า 5 หมื่นราย ซึ่งผู้อำนวยการอนามัยโลกระบุว่า 

ชัดเจนกว่าครั้งไหน  WHO ยกไทยตัวอย่างจัดการโควิด-19 ชี้ความสำเร็จไม่ได้มาแบบโชคช่วย 

 

“นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ไทยมีความมุ่งมั่นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสาธารณสุขมาตั้งแต่ 40 ปีก่อน และได้สร้างเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กว่า 1 ล้านคน เพื่อให้ทำหน้าที่ป็นหูเป็นตาให้กับระบบสาธารณสุขในชุมชนของตัวเอง นอกจากนี้  ไทยยังศึกษาบทเรียนจากอดีต รวมถึงประสบการณ์ของตัวเองในการรับมือกับโรคซาร์ส เมื่อปี 2556 และล่าสุด ก็กำลังศึกษาบทเรียนในปัจจุบัน ด้วยการทำงานกับสำนักงานขององค์การอนามัยโลกในประเทศไทย เพื่อทบทวนและทำความเข้าใจว่าจะเพิ่มความเข้มแข็งให้กับมาตรการเชิงป้องกันด้านสาธารณสุขได้อย่างไร 

ชัดเจนกว่าครั้งไหน  WHO ยกไทยตัวอย่างจัดการโควิด-19 ชี้ความสำเร็จไม่ได้มาแบบโชคช่วย 

องค์การอนามัยโลกสรุปถ้อยแถลงของผอ.ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผ่านบัญชีทวิตเตอร์ 

 

“ผมขอเรียกร้องให้ทุกประเทศดำเนินรอยตามประเทศไทย ไม่มีประเทศไหนพูดได้ว่าเตรียมพร้อมรับมือกับโควิด-19 ได้ดีพอ หรือพูดว่าไม่มีอะไรให้ต้องเรียนรู้”

 
นอกจากนี้ ดร. อัดฮานอม กีบรีเยซุส ยังกล่าวย้ำอีกครั้งว่า โรคระบาดครั้งนี้เผยให้เห็นถึงผลตามมาจากการไม่ลงทุนด้านสาธารณสุขยาวนาน และเป็นชนวนวิกฤติเศรษฐกิจกระทบประชาชนหลายพันล้านคน ถึงเวลาแล้วสำหรับการมองใหม่ว่า สุขภาพไม่ใช่ค่าใช้จ่ายแต่เป็นการลงทุน และเป็นรากฐานการผลิต การฟื้นตัวและเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ