ข่าว

ครั้งแรก พบซากหมีถ้ำทั้งตัวอายุ 3.9 หมื่นปีในไซบีเรีย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักโบราณคดีรัสเซียเผยพบซากหมีถ้ำ สัตว์สูญพันธุ์ช่วงยุคน้ำแข็ง แบบทั้งตัวสภาพสมบูรณ์เป็นครั้งแรก คาดเบื้องต้นอายุเกือบ 4 หมื่นปี 


ไซบีเรียน ไทมส์  รายงานว่า  นักวิทยาศาสตร์รัสเซียพบซากหมีถ้ำ 2 ตัว สองจุดแยกกันในเพอร์มาฟรอสต์ หรือชั้นดินเยือกแข็งในไซบีเรีย  ตัวหนึ่งเป็นหมีโตเต็มวัย พบบนเกาะBolshoy Lyakhovsky  ทะเลอาร์กติก อีกตัวเป็นซากลูกหมี พบบนแผ่นดินใหญ่ยาคูเทีย 

หมีถ้ำ ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Ursus spelaeus สัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยอาศัยในยูเรเซีย ช่วงกลางถึงปลายยุคไพลสโตซีน ก่อนสูญพันธุ์เมื่อประมาณ 1.5 หมื่นปีก่อน  

 

ครั้งแรก พบซากหมีถ้ำทั้งตัวอายุ 3.9 หมื่นปีในไซบีเรีย

 Siberian Times

 

เลนา กรีกอรีวา ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งมีชีวิตยุคน้ำแข็งแถวหน้าของรัสเซีย ระบุว่านี่คือการค้นพบที่มีความสำคัญต่อโลก  หลักฐานหมีถ้ำที่เคยพบเจอก่อนหน้านี้  มีเพียงกระดูกและหัวกระโหลกเท่านั้น แต่ซากหมีถ้ำโตเต็มวัยล่าสุด เป็นการพบซากแบบทั้งตัวครั้งแรก อยู่ในสภาพดี และมีเนื้อเยื่ออ่อน อวัยวะภายในยังอยู่ครบ รวมถึงจมูกที่ยังสมบูรณ์ 

นักวิทยาศาสตร์รัสเซีย  คาดหวังว่าเนื้อเยื่ออ่อนจากหมีถ้ำวัยผู้ใหญ่ ที่ได้รับการเก็บรักษายาวนานหลายหมื่นปีในสุสานเพอร์มาฟรอสต์ จะช่วยให้ค้นพบดีเอ็นเอของสัตว์ผู้ล่าในยุคน้ำแข็งชนิดนี้ได้  

 

ครั้งแรก พบซากหมีถ้ำทั้งตัวอายุ 3.9 หมื่นปีในไซบีเรีย

 Siberian Times

 

ซากหมีถ้ำถูกพบครั้งแรกโดยคนเลี้ยงกวางเรนเดียร์ บนเกาะห่างไกล Bolshoy Lyakhovsky  ทะเลอาร์กติก ก่อนส่งมอบสิทธิ์วิจัยให้นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น เฟเดอรัล (NEFU) ในเมือง Yakuts ซึ่งเป็นทีมวิจัยช้างแมมมอธและแรดขนขาว สิ่งมีชีวิตในยุคเดียวกัน  นักวิจัยจะทำการศึกษาวิเคราะห์ต่อไป โดยจะเชิญนักวิทยาศาสตร์ต่างชาติมาร่วมศึกษาด้วย 

 

ครั้งแรก พบซากหมีถ้ำทั้งตัวอายุ 3.9 หมื่นปีในไซบีเรีย

 Siberian Times


เบื้องต้น ประเมินว่า ซากหมีถ้ำวัยผู้ใหญ่ น่าจะมีอายุระหว่าง 2.2 – 3.95 หมื่นปี แต่จะทราบได้แน่นอนด้วยการวิเคราะห์คาร์บอนกัมมันตรังสี  ส่วนซากลูกหมีถ้ำที่พบในเพอร์มาฟรอสต์เมืองยาคูเทีย นักวิทยาศาสตร์จะเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลัง


ช่วงไม่กี่ปีมานี้ มีการค้นพบช้างแมมมอธ แรดขนยาว ลูกม้า ลูกสุนัข และลูกสิงโตถ้ำจากยุค้ำแข็งครั้งใหญ่หลายหน เนื่องจากชั้นดินเยือกแข็งหลอมละลาย 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ