ข่าว

ครั้งแรก “มหาวิทยาลัยมหิดล”จับมือ “มหาวิทยาลัยระดับโลก” เปิด Double Degree

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ครั้งแรก "มหาวิทยาลัยมหิดล" ร่วมกับ University of Reading สหราชอาณาจักร ถือเป็น มหาวิทยาลัยระดับโลก เปิดหลักสูตรนานาชาติ 2 ปริญญา จบแล้วได้ ป.โทวิทย์-ศิลป์ กำหนดเปิดรับสมัครในปี2567

นับเป็นครั้งแรกที่ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับ University of Reading สหราชอาณาจักร เปิดหลักสูตรนานาชาติสองปริญญา (Double Degree) สาขาวิชาการออกแบบและพัฒนาสังคม (Society Design Development Program)มุ่งผลิตผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agents) ที่สามารถสำเร็จการศึกษาโดยได้รับปริญญาโทนานาชาติทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ M.Sc. (Master of Science) in Applied International Development จาก University of Reading สหราชอาณาจักร และด้านศิลปศาสตร์ M.A. (Master of Arts) in Society Design and Development จาก มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ครั้งแรก “มหาวิทยาลัยมหิดล”จับมือ “มหาวิทยาลัยระดับโลก” เปิด Double Degree

ผศ.ดร.ภัทรียา กิจเจริญ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเบื้องหลังสำคัญของการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ทางการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานของการสร้างพลังเครือข่ายนานาชาติ โดยเชื่อมั่นว่าหลักสูตรดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างความรู้และพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตให้แข็งแกร่ง พร้อมที่จะเป็นผู้นำในการพัฒนาสังคมให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติได้ หรือ SDGs ในทุกมิติ

 

 

ผศ.ดร.ภัทรียา กิจเจริญ

 

โดย University of Reading สหราชอาณาจักร ถือเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก ที่จะเป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงดูดความร่วมมือจากเครือข่ายนานาชาติระดับโลกที่ไม่จำกัดเพียงในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่ยังรวมถึงประเทศกำลังพัฒนาซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับประเทศไทย เอื้อประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาวิชาการให้ตอบโจทย์โลกในวันข้างหน้าต่อไปได้อย่างครอบคลุม

หลักสูตร Double Degree ระดับปริญญาโท สาขาวิชาการออกแบบและพัฒนาสังคม (Society Design Development Program) University of Reading สหราชอาณาจักร - มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดเปิดรับสมัครในปี2567

 

 


เปิดกว้างสำหรับผู้สมัครวุฒิปริญญาตรีจากทุกสาขาให้สามารถนำเสนอแนวคิดรวบยอดในการทำวิจัย (Concept Paper) เพื่อเข้ารับการคัดเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรฯ ในหัวข้อต่างๆ ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้เกิดขึ้น ต่อสังคมโลก โดยไม่ได้เน้นมูลค่าหน่วยกิต และผู้เรียนไม่ต้องเดินทางไกลไปเรียนถึงสหราชอาณาจักร โดยผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาดูงานได้ทั้งในประเทศไทย หรือในต่างประเทศ

 

 

ทั้งนี้ หลักสูตรดังกล่าวมุ่งตอบคำถามในการพัฒนาสังคมใน 5 ประเด็น ได้แก่ สังคมควรจะมีลักษณะอย่างไร สังคมมีการพัฒนาพัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงในด้านใด การพัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจก่อให้เกิด ผลกระทบอย่าง เราจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างไร และจะประเมินการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้อย่างไร

 

 

ผศ.ดร.ภัทรียา กิจเจริญ ได้มองถึงทิศทางการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมในโลกยุคปัจจุบันว่า ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญจากก้าวเล็กๆ สู่ก้าวที่ยิ่งใหญ่ จากในระดับชุมชน ที่จะสามารถขยายผลได้ต่อไปถึงระดับประเทศ และระดับโลก

 

 

กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของหลักสูตรฯ ได้แก่ ผู้ที่มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมที่ดีขึ้น ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ “คนรุ่นใหม่” ไปจนถึงคนรุ่นใหญ่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีพลังในการทำงาน พนักงานองค์กรต่างๆ บุคลากรที่ทำงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคม รวมไปถึงบุคลากรในส่วนท้องถิ่น ที่มีแนวความคิด หรือร่วมดำเนินการในโครงการพัฒนาชุมชนต่างๆ ในปัจจุบัน

 

 

โดยผู้สนใจอาจเริ่มต้นจากการลงทะเบียนผ่านโครงการเรียนรู้ตลอดชีพ MAP-C (Mahidol Apprenticeship Program Curriculum) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสะสมหน่วยกิตเป็นการ “ชิมลาง” ก่อนโอนเข้าศึกษาต่ออย่างเต็มรูปแบบต่อไปก็ย่อมได้ ในสถานการณ์ปัจจุบัน โลกต้องการผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความรอบรู้ และมีมุมมองที่ครอบคลุมองค์ความรู้ในหลายมิติ เพื่อออกแบบและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ