ข่าว

ถอดบทเรียน 'SMEs' ผู้รอดชีวิตจากสมรภูมิโควิด เดินหน้าตลาดต่างประเทศ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ธุรกิจ "SMEs" ล้มละลายในสมรภูมิโควิด และเข้าสู่ตลาดต่างประเทศน้อย ภาครัฐ-มหาวิทยาลัยจับมือถอดบทเรียน SMEs ผู้อยู่รอดและเติบโตในตลาดต่างประเทศ ตั้งรับเหตุไม่คาดคิดคล้ายโควิด พร้อมรอบรวมคู่ค้าต่างประเทศให้ผู้ประกอบการไทยเลือกทำธุรกิจโดยไม่ต้องไปดิ้นรนหาเอง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ผ่อนคลายลง แต่ยังไม่พ้นวิกฤตเศรษฐกิจที่สร้างความเสียหายให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หลายธุรกิจล้มละลาย หลายบริษัทกู้สินเชื่อช่วยพยุง แต่มีหลายบริษัทกู้สินเชื่อไม่ผ่าน เพราะข้อจำกัดหลายๆ อย่าง จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการฟื้นตัวเศรษฐกิจภาพรวม ในขณะเดียวกันก็มีผู้รอดชีวิต อยู่รอดและเติบโตในตลาดโลกอย่างแข็งแรง

 

 

 

 

ภาพประกอบ

"น.ส.ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ" นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านไทยรัฐออนไลน์ไว้ว่า ภาพรวม "SMEs" ไทยในเวลานี้ยังขาด "ผลิตภาพ" (การวัดประสิทธิภาพของการผลิต ตลอดจนการทำงาน) โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่เป็นขนาดกลาง หรือขนาดย่อยที่เป็นรายเล็ก การไม่นำ "ผลิตภาพ" มาใช้ จึงทำให้ไม่รู้ผลลัพธ์ เช่น การไม่นำเทคโนโลยี หรือระบบออนไลน์ มาใช้ในการประกอบธุรกิจ ทำให้วัดผลไม่ได้ เมื่อกิจการไม่ดี แก้ปัญหาการจัดการภายในร้านไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลต่างๆ ในการนำมาใช้ต่อยอดธุรกิจการขาดผลิตภาพ จึงส่งผลค่อนข้างรุนแรง ทำให้ "SMEs" ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ 

 

ธุรกิจเล็กๆ ที่ไม่มีตัวเลขจะขอกู้สินเชื่อสถาบันการเงินไหนก็ไม่ผ่าน ถึงแม้ที่ผ่านมาภาครัฐจะมีนโยบายในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยกองทุนต่างๆ โดยเฉพาะช่วงโควิด 19 ระบาด มีการปล่อยกู้หลายแสนล้าน แต่ทาง "SMEs" เหล่านี้ก็เข้าไม่ถึงอยู่ดี เพราะไม่สามารถกู้กับสถาบันการเงินได้ สุดท้ายไปจบลงที่เงินกู้นอกระบบ

 

 

 

 

ภาพประกอบ

 

 

 

 

"SMEs" มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจไทย ทั้งช่วยสร้างงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างเงินตราต่างประเทศ ลดการนำเข้าสินค้าต่างประเทศ เป็นจุดเริ่มต้นในการประกอบการธุรกิจ เชื่อมโยงกับกิจกรรมขนาดใหญ่ และภาคการผลิตอื่นๆ เป็นแหล่งพัฒนาทักษะฝีมือ รวมถึงสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจ หลายหน่วยงานจึงระดมความคิดเห็นและแนวทางแก้ไขมากมาย ตั้งแต่การแก้กฎหมายล้มละลาย เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจ "SMEs" ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือนิติบุคคลสามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ง่ายกว่าเดิม 

 

 

 

 

ล่าสุด "สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)" และ "คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)" ได้ร่วมมือกันถอดบทเรียนจากธุรกิจผู้รอดชีวิต สู่ผู้ประกอบการ "SMEs" ที่ต้องการเติบโตในตลาดต่างประเทศ โดย มข.เป็นผู้จัดทำข้อมูลผู้ค้าต่างประเทศในเชิงลึก เพื่อให้ผู้ประกอบการไทย สามารถค้นหาคู่ค้าที่ต้องการทำธุรกิจด้วย โดยไม่ต้องดิ้นรนหาเอง 

 

 

 

 

ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมถอดบทเรียนของ สสว.และ มข.

 

 

 

 

การถอดบทเรียนครั้งนี้ สสว.และ มข. ได้เชิญผู้ประกอบการ "SMEs" มาร่วมวงเสวนาหัวข้อ "ถอดรหัสบทเรียนทางธุรกิจจากผู้รอดชีวิต : อยู่รอดและเติบโตในตลาดโลกหลังโควิด-19 ภายใต้กิจกรรมการศึกษาการจัดทำข้อมูลเครือข่ายผู้ให้บริการและรายละเอียดการให้บริการของต่างชาติ" ซึ่งได้รับความสนใจทั้งจากผู้ประกอบการ "SMEs" ที่ประสบความสำเร็จ และกำลังจะก้าวสู่ความสำเร็จ 

 

 

 

 

เครือข่ายความร่วมมือถอดรหัสบทเรียนทางธุรกิจจากผู้รอดชีวิต : อยู่รอดและเติบโตในตลาดโลกหลังโควิด-19 ภายใต้กิจกรรมการศึกษาการจัดทำข้อมูลเครือข่ายผู้ให้บริการและรายละเอียดการให้บริการของต่างชาติ

 

 

 

 

"ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ" รองผู้อำนวยการ สสว. บอกว่า สถานการณ์ปัจจุบัน "SMEs" มีระดับการเข้าสู่สากลน้อยเกินไป ทั้งในแง่ของจำนวน SMEs ที่เป็นผู้ส่งออกและมูลค่าการส่งออก จึงมีความจำเป็นต้องส่งเสริมให้ "SMEs" ที่มีศักยภาพสามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศให้ได้มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ 

 

 

 

 

ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ

 

 

 

 

"ข้อมูลที่จัดเก็บจะช่วยใช้ผู้ประกอบการที่ต้องการหาตลาดต่างประเทศ อยากทำการค้า อยากส่งออกอะไรก็ค้นหาคู่ค้าในระบบที่ มข.จัดทำไว้ได้เลย ข้อมูลนี้ช่วยสนับสนุน SMEs เข้าสู่ตลาดต่างประเทศ หรือเรียกว่า Market intelligence ที่ครบถ้วน เพื่อให้ "SMEs" มีข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมทางการตลาดของประเทศคู่ค้าที่เพียงพอ และเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สภาพเศรษฐกิจ ข้อมูลด้านการตลาดเชิงลึก พฤติกรรมผู้บริโภค กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน ขั้นตอนการส่งออก หน่วยงานสำคัญ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ "SMEs" วิเคราะห์ถึงแนวโน้มและการคาดการณ์ความต้องการของตลาดได้อย่างแม่นยำมากขึ้น" "ดร.วิมลกานต์" ระบุ

 

 

 

 

ภาพประกอบ

 

 

 

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ