ข่าว

เบ้าหลอมผิดเพี้ยน ‘น้องหยก’ ดอกผล ‘Child center’ ที่ยึด ‘เด็กเป็นศูนย์กลาง’

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'น้องหยก' เป็นสัญญาณเตือนทุกฝ่าย ทุกคน ต้องมองให้เห็นนัยความสัมพันธ์ของโลกอนาคตกับการศึกษา นี่คือตัวอย่างของปัญหาที่กำลังจะขยายตัว เมื่อเด็กถูกเบ้าหลอมผิดเพี้ยน กดดันคนอื่นให้ทำตามความต้องการของตัวเอง ทำให้คนเห็นตัวเองเอาตัวรอด ไม่ใช่บ้านเมืองรอด!!

ดราม่า ‘น้องหยก’ นักเรียนหญิงวัย 15 ปี เยาวชนนักเคลื่อนไหวทางกาเรมือง จำเลยในคดี ม.112 โพสต์ข้อความถุกไล่ออกจากโรงเรียนและยังพยายามปีนรั้วเข้าโรงเรียนหลายครั้ง จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์ และสั่นสะเทือนวงการศึกษาไทย ท่ามกลางคำถาม ประเทศไทยหล่อหลอมเด็กมาอย่างไรทำไมได้ดอกผลเป็นแบบนี้

 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน นักวิชาการด้านการศึกษา มีคำอธิบายผ่าน 'คมชัดลึก' เอาไว้แบบนี้ว่า กรณี ‘น้องหยก’ เป็นสัญญาณเตือนทุกฝ่าย ทุกคน ที่ต้องมองให้เห็นนัยความสัมพันธ์ของโลกอนาคตกับการศึกษา 

 

Child Center เบ้าหลอมผิดเพี้ยน

เมื่อย้อนกลับไปในอดีตจะพบว่าพื้นฐานเรื่องนี้เราต้องมองประโยชน์ ยึดประโยชน์ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีจุดอ่อน ความหมายก็คือว่าพอเราสอนเอาประโยชน์ ทำให้นักเรียนเอาทุกอย่างมาเทียบกับตัวเอง เช่น ความคิด ความต้องการของตัวเอง และสิ่งที่ไม่เหมือนความคิดและความต้องการของตัวเองว่าสิ่งนี้ผิด 

 

"เมื่อเราปลูกฝังเรื่องนี้มา 20-30 ปีแล้ว ที่เรียกตัวงเองว่าการศึกษายุคใหม่หรือ Child Center Learning ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เมื่อเป็นแบบนี้ทำให้นักเรียนเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ก็เกิดการปะทะกับสิ่งที่อยู่รอบรอบตัวนักเรียน ทั้งในชั้นเรียน โรงเรียน และสังคมอย่างที่เราเห็นวันนี้ น้องหยก ในโซเชียลมีเดียชัดเจนมาก"

 

การแก้ปัญหาเรื่องนี้  เรื่องสิทธิเสรีภาพและประโยชน์ส่วนบุคคล ต้องกลับมาทบทวนใหม่ ประเด็นสำคัญที่ต้องทบทวน เพราะโลกเราวันนี้ เราเห็นแล้วว่าโลกเกิดภาวะโลกร้อน เกิดปรากฏการณ์ฝนตกหนักเวลาสั้นๆ เกิดภัยแล้ง เกิดไฟป่า เกิดแผ่นดินไหว

 

"นี่คือสัญญาณเตือนโลกของเราเปลี่ยนแปลงไป ความหมายก็คือเราจะเอาตัวเราเองเป็นศูนย์กลางไม่ได้แล้ว เราต้องเอาโลกเป็นศูนย์กลาง"

 

 ประเด็นสำคัญจะอยู่ร่วมกันในโลกนี้โดยไม่มีข้อขัดแย้งรุนแรง อยู่อย่างสันติ บนความหลากหลายได้อย่างไร นี่คือสิ่งที่เราต้องสอน ทั้งระบบการศึกษาต้องตอบโจทย์เรืิ่องนี้ให้ได้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ของ นักเรียน ครู และผู้บริหาร และสถานศึกษา

 

น้องหยก ดอกผลการจัดการศึกษาแบบยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง

 

Child Center ถูกบางส่วน แต่ใช้ไม่ได้เวลานี้ ต้องพัฒนาคุณภาพของนักเรียน บนกรอบความต้องการของนักเรียนเป็นตัวตั้ง อันนี้ถูกส่วนเดียว

 

เพราะนักเรียนต้องอยู่ในชุมชน อยู่ในสังคม ต้องคำนึงถึงต้องการของชุมชน และความต้องการของสังคม  นักเรียนจะต้องตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคมด้วย

 

วันนี้การศึกษาไทยขาดสิ่งนี้มากๆ จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ ความเห็นแก่ตัว การเชื่อมั่นในตัวเอง การไม่รับฟังความเห็นคนอื่น จนถึงขั้นกดดันคนอื่นให้ทำตามความต้องการของตัวเอง

 

สิ่งนี้จึงนำไปสู่การแข่งขันต่อสู้เพื่อการเอาตัวรอดเป็นหลัก แต่ความร่วมมือและความกลมกลืนกลับหายไป หากปล่อยผ่านจะกลายเป็นสังคมตัวใครตัวมัน 

 

เช่น เราเดินผ่านคนนอนรอความตายริมข้างถนน เราก็จะเดินผ่านแบบไม่รู้สึกอะไร หรือเราเห็นคนกำลังถูกวิ่งราวกระเป๋า เราก็จะรู้สึกเฉยๆ เราไม่เกี่ยวข้อง เราก็จะปล่อยผ่านไป

 

เอาตัวรอด แต่ไม่ใช่บ้านเมืองรอด

แต่พอถึงวันที่ตัวเองกำลังจะตาย ถูกวิ่งราวกระเป๋า วันนี้เราจะรู้ว่าทำไมไม่มีใครมาช่วยเรา ถึงวันนี้ก็สายไปแล้ว

 

เมื่อเบ้าหลอมการศึกษาผิดเพี้ยนทำให้คนเห็นตัวเอง เอาตัวรอด ไม่ใช่บ้านเมืองรอด จนถึงเวลานี้ยังมองไม่เห็นพรรคการเมืองไหน ที่จะแก้ไขความท้าทายนี้ได้ 

 

โลกอนาคตเป็นอย่างไร การศึกษา ต้องสร้างคนอย่างนั้น อย่าลืมว่าโลกอนาคตจะเป็นโลกที่หลากหลาย สลับซับซ้อนรวดเร็ว

 

การศึกษาต้องสร้างคนที่สามารถอยู่กับความหลากหลายได้ จัดการกับความสลับซับซ้อนได้ และแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

 

รัฐบาลใหม่ ระบบการศึกษา โรงเรียน ครู พ่อแม่ผู้ปกครอง และนักเรียน จะร่วมมือกับปรับเปลี่ยนให้การศึกษา ตอบโจทย์โลกอนาคตได้อย่างไร แค่ไหน??

 

...กมลทิพย์ ใบเงิน...เรื่อง

 

logoline