ข่าว

‘ธรรมศาสตร์’ ปั้น ‘ตลาดนัด - พื้นที่ธุรกิจ’ จุดประกายนักศึกษา - รับใช้ชุมชน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส่องกลเม็ด 'มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ ปั้น ‘ตลาดนัด - พื้นที่ธุรกิจ’ จุดประกายนักศึกษา - รับใช้ชุมชน ธำรงบทบาทการเป็น ‘เสาหลัก’ ให้กับสังคม และเป็นแสงสว่างให้กับประชาชน

ท่ามกลางความผันผวน ความไม่แน่นอน และความคลุมเครือของโลกยุคใหม่ ซึ่งมีการจำกัดความในภายหลังว่า VUCA เรียกร้องให้ ‘มหาวิทยาลัย’ ต้องธำรงบทบาทการเป็น ‘เสาหลัก’ ให้กับสังคม และเป็นแสงสว่างให้กับประชาชน

‘ธรรมศาสตร์’  ปั้น ‘ตลาดนัด - พื้นที่ธุรกิจ’  จุดประกายนักศึกษา - รับใช้ชุมชน

สอดรับกับแนวคิดการศึกษาเชิงผลิตภาพ หรือ ‘มหาวิทยาลัย 4.0’ ที่มหาวิทยาลัยในฐานะคลังทรัพยากร ทั้งองค์ความรู้ งานวิจัย กำลังคน งบประมาณ สถานที่ อาณาบริเวณ ฯลฯ จะต้องนำทรัพยากรเหล่านั้นออกมา ‘ตอบสนอง’ ความต้องการของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชุมชน เพื่อปูทางไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable) ในระดับประเทศ

ด้วยปณิธานการเป็น ‘มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน’ และด้วยการตั้ง ‘ตัวชี้วัด’ ของทุกนโยบายให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ทำให้บทบาทของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) นาทีนี้มีความน่าสนใจไม่น้อย ควรค่าแก่การนำมาบอกต่อ

‘ธรรมศาสตร์’  ปั้น ‘ตลาดนัด - พื้นที่ธุรกิจ’  จุดประกายนักศึกษา - รับใช้ชุมชน

เพราะความเรียบง่ายคือคำตอบ ดังนั้นแม้ว่าเป้าหมายข้างต้นจะดูเป็นสากลและสอดคล้องกับยุคสมัยเพียงใด หากแต่สิ่งที่ ‘ธรรมศาสตร์’ ได้ริเริ่มดำเนินการกลับเป็นกิจกรรมที่ดูเหมือนว่าไม่ได้หวือหวาอะไร ทว่าสามารถเชื่อมร้อยกับชุมชนได้อย่างกลมเกลียว

ธรรมดาแค่ไหนถึงควรค่าแก่การกล่าวขวัญถึง มาดูกัน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตั้งอยู่ใน อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ล่าสุดได้เข้าร่วมโครงการ ‘1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล’ ของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขันอาสารับหน้าที่ที่ดูแลพื้นที่ 3 ตำบลของ จ.ปทุมธานี ด้วยการเสริมสร้างองค์ความรู้ และส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย 

‘ธรรมศาสตร์’  ปั้น ‘ตลาดนัด - พื้นที่ธุรกิจ’  จุดประกายนักศึกษา - รับใช้ชุมชน

พื้นที่มากกว่า 600 ไร่ ภายใต้การบริหารจัดการของ สำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา มธ. จึงได้รับการจัดสรรเป็นสัดส่วน โดยตั้งต้นจากการให้ความสำคัญกับนักศึกษาเป็นอันดับแรก พร้อมๆ ไปกับการเชื่อมต่อมหาวิทยาลัยเข้ากับชุมชน

 

ธรรมศาสตร์เลือกที่จะใช้ ‘ตลาด’ เป็นเครื่องมือในการผสานความร่วมแรงร่วมใจระหว่างมหาวิทยาลัย นักศึกษา และชุมชน โดยได้จัดตั้งตลาด ‘ตลาดนัดอินเตอร์โซน’ และ ‘เชียงรากมาร์เก็ต’ ขึ้นในมหาวิทยาลัย ในรูปแบบตลาดช่วงเย็น รวบรวมของอร่อย สินค้าสไลฟ์สไตล์ แลtเปิดกว้างพื้นที่กิจกรรม โดยที่มาสินค้าในตลาดนั้นเป็นการชักชวนชุมชน-เครือข่ายเกษตรกรใน จ.ปทุมธานี เข้ามาตั้งแผงขายสินค้า ทั้งผักสด ผลไม้ปลอดภัย เนื้อสัตว์อนามัย รวมถึงสินค้าอุปโภค บริโภค มากมาย ท่ามกลางความสนใจของลูกค้าที่หมุนเวียนไม่ต่ำกว่าวันละ 3.5 หมื่นราย

‘ธรรมศาสตร์’  ปั้น ‘ตลาดนัด - พื้นที่ธุรกิจ’  จุดประกายนักศึกษา - รับใช้ชุมชน

นายภูวดล สิริชัยสินธพ ผู้จัดการฝ่ายบริหารพื้นที่ธุรกิจ สำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา มธ. เล่าว่า จากเดิมที่มีเพียงตลาดนัดอินเตอร์โซนซึ่งเป็นตลาดช่วงเย็นวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เปิดบริการเพียง 2 วัน / สัปดาห์ ในปัจจุบันเราพัฒนาเชียงรากมาร์เก็ต ช่วงเย็นวันอังคารและวันพุธ ให้สามารถเปิดบริการตลาดนัดได้ 4 วัน/สัปดาห์ และจะเพิ่มเป็นทุกวันในอนาคต เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทั้งผู้ซื้อและชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งสินค้าที่วางขายในตลาดเชียงรากมาร์เก็ตนั้น เป็นสินค้าที่มาจากนักศึกษา และชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ผักสวนครัวปลอดสารพิษจากฟาร์มยั่งยืนที่มีจำหน่ายให้กับประชาคมธรรมศาสตร์ในราคาย่อมเยาว์ ‘ฟาร์มยั่งยืน’ เป็นการพัฒนาทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยสร้างการหมุนเวียนทรัพยากรภายในมหาวิยาลัยมีการทำปุ๋ยจากเศษใบไม้ กิ่งไม้ เพื่อนำมาใช้ในการเกษตร และต่อยอดการปลูกผัก ดูแลต้นไม้ แบ่งขาย ไปจนถึงกระจายผลผลิตไปยังโรงอาหารของมหาวิทยาลัย โดยแนวคิดนี้มาจาก มธ. ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

‘ธรรมศาสตร์’  ปั้น ‘ตลาดนัด - พื้นที่ธุรกิจ’  จุดประกายนักศึกษา - รับใช้ชุมชน

ซึ่งถือว่ามหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และธรรมศาสตร์ก็ต้องการที่จะดูแลชุมชนโดยรอบเพื่อให้เกิดความยั่งยืนไปด้วยกัน

‘ธรรมศาสตร์’  ปั้น ‘ตลาดนัด - พื้นที่ธุรกิจ’  จุดประกายนักศึกษา - รับใช้ชุมชน

เมื่อตลาดคือผู้คน พื้นที่เปล่าๆ จึงกลับมีชีวิตชีวาขึ้นมา เกิดการใช้ชีวิต เกิดเศรษฐกิจฐานราก สามารถสร้างและหมุนเวียนรายได้กลับสู่ชุมชน หนำซ้ำยังก่อกำเนิดเป็น ‘รายได้’ ให้แก่นักศึกษาโดยตรง หรืออาจกล่าวได้ว่าเชียงรากมาร์เก็ต คือตลาดสำหรับทุกคน (Market For All)

 

“ถ้าพูดว่าเชียงรากมาร์เก็ตมีกลิ่นอายของโมเดลเศรษฐกิจ BCG ตามนโยบายของรัฐบาลก็คงไม่เกินความจริง” นายภูวดล ระบุ

 

แน่นอนว่า เมื่อมีผู้คนก็ย่อมมีความต้องการที่มากขึ้น จากพื้นที่ตลาดเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพออีกต่อไป มธ.จึงพัฒนาแนวทางการบริหารพื้นที่ธุรกิจ ซึ่งเป็นแนวทางการคัดสรรผู้ประกอบการให้เป็นตามความต้องการของประชาคม มีร้านค้าแบรนด์ชั้นนำซึ่งโดยเริ่มมาจากการสำรวจความต้องการของนักศึกษา บุคลากร ผู้อยู่อาศัย ก่อนเข้ามาเปิดจำหน่าย

 

“สินค้าและบริการที่เข้ามาเปิดในมหาวิทยาลัยนั้น จะต้องเริ่มมาจากความต้องการของนักศึกษาเป็นลำดับแรก เช่น ทางเลือกระหว่างการเปิดร้านกาแฟกับตู้กาแฟอัตโนมัติ ซึ่งนักศึกษาก็ลงความเห็นว่าต้องการ ‘ตู้’ มากกว่า เพราะมีความต้องการดื่มที่ไม่จำกัดเวลา ทั้งที่ผลตอบแทนที่มหาวิทยาลัยจะได้รับจากร้านกาแฟมีจำนวนที่มากกว่า แต่สุดท้ายเราก็เลือก ‘ตู้กาแฟอัตโนมัติ’ เข้ามาเติมเต็ม เพราะเป็นเสียงของนักศึกษา” นายภูวดล ระบุ

 

นอกเหนือจากแนวทางการทำธุรกิจแล้ว มหาวิทยาลัยยังจัดทำข้อตกลงให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ต้องจ้างงานนักศึกษาธรรมศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษามีรายได้พิเศษจากงาน Part Time ในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือนักศึกษาจะได้เพิ่มพูนทักษะการทำงาน เข้าใจระบบ ได้รับการเทรนนิ่งจากบริษัทใหญ่ๆ ที่เข้ามาทำธุรกิจในพื้นที่ 

 

ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารชื่อดังที่เข้ามาเปิดสาขาในมหาวิทยาลัย ก็มีนโยบายส่งนักศึกษา Part Time ไปเทรนนิ่งที่สำนักงานใหญ่ โดยนักศึกษาจะได้เปิดประสบการณ์กับหน้างานในแผนกอื่นๆ และยังมีโอกาสได้งานทำทันทีที่จบการศึกษา

 

อย่างที่กล่าวในข้างต้น บทบาทมหาวิทยาลัยทุกวันนี้มีมากกว่าการผลิตบัณฑิตและให้บริการวิชาการ หากแต่คือการเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชนและโลก ซึ่งธรรมศาสตร์ก็ได้ผูกโยงตัวเองเข้ากับ SDGs และความเป็นสากล โดยแสดงออกผ่านนโยบายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

 

ไม่ว่าจะเป็น ‘ความหลากหลายและเสมอภาคทางเพศ’ ที่สามารถแสดงออกได้ทั้งผ่านการแต่งกายของนักศึกษา การสร้างห้องน้ำ ALL Gender หรือการให้ความสำคัญ ‘เพื่อคนทั้งมวล’ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งแสดงออกผ่านการปรับปรุงอาคาร-สถานที่-หอพักนักศึกษา ทุกตารางนิ้วตามหลักการ Universal Design ผู้พิการสามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น เบรลล์บล็อก (Braille Block) สำหรับผู้พิการทางสายตา ทางลาดทุกพื้นที่ ลิฟต์ระบบเสียงและรองรับอักษรเบรลล์ ฯลฯ

 

ทั้งหมดเป็นเพียงบางช่วงบางตอนของเรื่องราวธรรมดาๆ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทำ และสามารถจุดประกายนักศึกษา ควบคู่ไปกับการรับใช้สังคม ชุมชน และเชื่อมต่อกับความเป็นสากล ได้อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียว

logoline