ข่าว

"ยกเลิกทรงผมนักเรียน" ก.ศึกษาธิการ ผลักภาระไม่ใช่ผลงาน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ยกเลิกทรงผมนักเรียน" สะท้อน ก.ศึกษาธิการ ไร้ศักยภาพไม่สามารถควบคุม สถานศึกษา ในสังกัดให้ทำตามระเบียบได้ สุดท้ายเลือกโยนปัญหาให้ โรงเรียน และ ครู เป็นการผลักภาระไม่ใช่ผลงาน

วงการศึกษาไทยต้องจารึก การยกเลิกระเบียบกลางการไว้ทรงผมนักเรียน เริ่มในยุค น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 39 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 กำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำไปปฏิบัติได้

 

วันครูแห่งชาติ 16 มกราคม 2566 “ตรีนุช เทียนทอง” ได้ลงนามในระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ.2563 และเสนอสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วออกเป็นหนังสือสั่งการ หรือ หนังสือเวียน กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียน หรือ นักศึกษาไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดที่เป็นผู้กำกับดูแลสถานศึกษา กำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งนำหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไปกำหนดเป็นระเบียบหรือข้อบังคับของสถานศึกษาแต่ละแห่งเอง

แปลไทยเป็นไทย การยกเลิกระเบียบทรงผมนักเรียน จะมีผลในทางปฏิบัติในทันที่ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ต้องนำไปสู่การปฏิบัติ

 

กระทรวงศึกษาธิการ “ยกเลิกทรงผมนักเรียน” มีทั้งเสียงหนุนและเสียงเห็นต่าง ในกลุ่มนักเรียน และผู้ปกครองส่วนมากเห็นด้วย แต่มีเสียงจากครูและอดีตครู แสดงความกังวลกับเรื่องนี้

 

การยกเลิกทรงผมนักเรียน จริงอยู่การเรียนรู้ของเด็กไม่เกี่ยวอะไรกับทรงผม แต่กระทรวงศึกษาธิการเลือกโยนภาระให้เป็นเรื่องของโรงเรียน กว่า3 หมื่นโรงเรียน คงเกิดความวุ่นวาย แต่ละโรงเรียนมีความหลากหลายและแตกต่างกันมาก มีโรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนขนาดเล็ก

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาฯ ลงนามประกาศยกเลิกทรงผมนักเรียน เมื่อวันที่ 16 ม.ค.2566 (วันครูแห่งชาติ)

ความจริง กระทรวงศึกษาธิการ ควรมีระเบียบกลางว่าทรงผมนักเรียนต้องแบบนี้ จากนั้นเปิดกว้างให้โรงเรียนค่อยๆ ปรับตามบริบทของสังคมแต่พื้นที่ แต่ภูมิภาคของประเทศไทย ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิต

 

“ในฐานะครู การดูแลนักเรียน คงเป็นเรื่องยาก หากปล่อยอิสระให้เด็กมัธยมตอนปลาย ม.4-6 นักเรียนหญิงไว้ผมยาว ถ้าเลิกเรียนแล้วนักเรียนหญิงที่ไว้ผมยาว ใส่สายเดี่ยว จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นนักเรียน หากไปพฤติกรรมไม่เหมาะสม ไม่รู้ว่าจะสร้างความลำบากให้กับครูฝ่ายปกครองหรือไม่ อนาคตปู่ย่าตายยายดูแลลูกหลานคงลำบาก”ครูสอนชั้นมัธยมศึกษา รายหนึ่งระบุ

 

กระทรวงศึกษาธิการ ควรคิดให้รอบคอบมากกว่านี้ อย่าลืมว่าบริบทสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเยอะมาก เด็กนักเรียนไม่ได้อยู่พร้อมหน้ากับพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด แต่นักเรียนอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย เป็นคนเลี้ยงดู รักหลาน ไม่ตีหลาน

 

น่าเป็นห่วงว่า “ครู” จะดูแลเด็กไหวไม ถ้าเด็กดื้อขึ้นมา แต่ละห้องมีนักเรียน 30-40 คน ครูคนเดียวจะเอาอยู่หรือไม พ่อแม่คนเดียวยังเลี้ยงลูกไม่ได้เลย

 

เด็กตั้งครรภ์วัยเรียนระเบียบเปิดกว้างให้กลับมาเรียนได้เต็มตามศักยภาพที่สามารถเรียนได้ นึกภาพตาม “แม่” เรียนมหาวิทยาลัยลูกเรียนอนุบาล

 

“ยกเลิกทรงผมนักเรียน”สะท้อนให้สังคมไทยได้รับรู้ว่า

  1. ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการไร้ศักยภาพไม่สามารถควบคุมสถานศึกษาในสังกัดให้ทำตามระเบียบได้ เมื่อทำไม่ได้
  2. เมื่อทำ (1) ไม่ได้ ก็เลยโยนปัญหาให้สถานศึกษาและครู รับปัญหานี้เอง

       เป็นการผลักภาระให้ครู-ให้โรงเรียน ไม่ใช่ผลงาน

...กมลทิพย์ ใบเงิน...เรียบเรียง

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ