ข่าว

แถลงการณ์ ค.อ.ท. ชี้ "ร่างพ.ร.บ.การศึกษา" ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐาน"ครู"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แถลงการณ์เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย ชี้ "ร่างพ.ร.บ.การศึกษา" ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐาน มีเจตนาไม่ให้ ครู ได้รับเงินวิทยฐานะและค่าตอบแทนในอัตราเดิมหรือไม่

กลายเป็นข้อกังวลใจให้กับครูทั่วประเทศอย่างมาก ว่า “ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ”ที่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภา มีเจตนาที่ร่างกฎหมายออกมาเพื่อไม่ให้ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ในหน่วยงานทางการศึกษา หรือสถานศึกษาของรัฐ ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่ง และค่าตอบแทนอื่นในอัตราเดิมหรือไม่ ล่าสุด องค์กรครู มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้

แถลงการณ์เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย ( ค.อ.ท.)

เรื่อง การลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ......

 

ตามที่ประธานรัฐสภา ได้นัดประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๔ ในวันอังคารที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๖ และครั้งที่ ๕ ในวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๖ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.....ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย ( ค.อ.ท.) ได้พิจารณาแล้ว พบว่าร่างพระราชบัญญัตินี้ ได้ลิดรอนสิทธิประโยชน์ขั้นฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกตำแหน่ง ดังรายละเอียด ดังต่อไปนี้

 

มาตรา ๔๑ “ ให้ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสถานศึกษาของรัฐได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐำนะ เงินประจำตำแหน่ง และค่าตอบแทนอื่นตำมที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้นให้บุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง หรือค่าตอบแทนอื่นตามที่กฎหมายกำหนดผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครูอาจมีระดับตำแหน่ง เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติหน้ำที่ได้ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้นผู้บริหารสถานศึกษาและรองผู้บริหารสถานศึกษาอาจมีชื่อตำแหน่งเรียกเป็นอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้นได้ ”

( คณะกรรมาธิกำรให้คงไว้ตามร่างเดิม ในกำรประชุมครั้งที่ ๔๗ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ )

แถลงการณ์เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย ( ค.อ.ท.)

แถลงการณ์ ค.อ.ท. ชี้ "ร่างพ.ร.บ.การศึกษา" ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐาน"ครู"

ประเด็นลิดรอนที่ ๑ จะเกิดผลกระทบทันที เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ

 

๑ ในวรรคแรก ข้าราชการครู ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารสถานศึกษา จะได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐำนะ เงินประจำตำแหน่ง และเงินค่าตอบแทน ตามพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐำนะ เงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ................ ซึ่งจะต้องให้ได้ไม่น้อยกว่าฉบับปัจจุบัน

 

๒ ในวรรคสอง บุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา คือ บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษา

 

๒.๑) ความหมายตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ ๐๒๐๔,๖/ว ๓ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๔ เรื่องมาตราฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย

 

ผู้บริหารการศึกษา ในปัจจุบัน คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสานักงาน ก.ศ.น.จังหวัด รองผู้อำนวยการสำนักงาน ก.ศ.น.จังหวัด ผู้อำนวยการสานักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ ผู้อานวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด รองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด

 

๒.๒) ตามความหมายในคำสั่งหัวหน้ำ คสช.ที่ ๑๙/ ๒๕๖๐ ข้อ ๑๒ วรรคสอง

 

“ ให้ศึกษาธิการจังหวัด รองศึกษาธิการจังหวัด และข้าราชการที่่ปฏิบัติงานในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ให้ศึกษาธิการจังหวัดดำรงตำแหน่งเทียบกับข้าราชการพลเรือนสำมัญประเภทอำนวยการสูง...”

 

ความหมายตามมาตรา ๔๑ วรรคสอง จึงประกอบด้วย ศึกษาธิการจังหวัด และ รองศึกษาธิการจังหวัด

 

จากความหมายในวรรคสอง ข้อ ๒.๑) และ ข้อ ๒.๒) จึงเป็นบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ตามวรรคสองของมาตรา ๔๑ ถึงแม้ตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดให้ดำรงตำแหน่งเทียบกับข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอำนวยการสูง แต่ ศึกษาธิการจังหวัดและรองศึกษาธิการจังหวัดเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

 

ทั้งข้อ ๒.๑ ) และ ข้อ ๒.๒) จึงได้รับแต่เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง หรือ เงินค่าตอบแทน ความหมายคือ ถ้าได้เงินประจำตำแหน่ง ก็จะไม่ได้รับเงินค่าตอบแทน หรือถ้าไม่ได้เงินประจำตำแหน่ง ก็จะได้แต่เงินค่าตอบแทน จะไม่ได้เงินวิทยฐานะ

 

ดังนั้น ถ้าไม่ได้ไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้พระรำชบัญญัติฉบับนี้ มีผลบังคับให้เกิดการลิดรอนสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ดังกล่าวมานี้  ซึ่งเป็นการทำลายหลักความยุติธรรมในการออกพระรำชบัญญัติ และเป็นการออกกฏหมายหมายที่ขัดต่อหลักการตามรัฐธรรมนูญ ( Constitutional Principle ) ที่ต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักความเสมอภาค ( Equality) ที่ปฏิบัติต่อบุคคลที่มีสำระสำคัญอย่างเดียวกันแต่ปฏิบัติแตกต่างกัน และในร่างมาตรา ๔๑ ยังขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักรำช ๒๕๖๐ ดังนี้

 

ในมาตรา ๒๖ “ การตรากฏหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภำระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุและจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วยกฎหมายตำมวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นกำรทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจำะจง”

 

ในมาตรา ๒๗“ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชำยและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

 

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุุ ความพิการ สภาพร่างกาย หรือสุขภาพ สภานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้ .......”

 

ประเด็นที่ลิดรอนที่ ๒ อาจเกิดผลกระทบเมื่อออกกฎหมายตามที่กาหนดไว้ในวรรคสามและวรรคท้ายของมาตรา ๔๑ มีผลใช้บังคับกล่าวคือ วรรคสาม “ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครูอาจมีระดับ ตำแหน่ง เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้น ”

 

ซึ่งปัจจุบันตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามีสองตำแหน่งคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และตำแหน่งครูที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการมีสองตำแหน่ง คือ ตำแหน่งครูผู้ช่วย และตำแหน่งครู ซึ่งทั้งตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และตำแหน่งครู สามารถมีวิทยฐานะตำมที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้ามีการกำหนด ระดับ ตำแหน่ง ของผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครู  ตามมาตรา ๔๑ วรรคสาม อาจมีการกำหนดกรอบอัตรำกำลังของ ระดับ ตำแหน่ง ของครู ในหน่วยงานการศึกษาว่าในแต่ละ ระดับ ตำแหน่ง จะมีได้ไม่เกินกี่คน เช่น ในหน่วยงานการศึกษานี้ จะมีตำแหน่งครู ระดับชำนาญการไม่เกินกี่คน ชำนาญการพิเศษไม่เกินกี่คน ระดับเชี่ยวชาญไม่เกินกี่คน ระดับเชี่ยวชาญพิเศษไม่เกินกี่คน

 

เหมือนกับที่กำหนดกรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา ๓๘ ค (๒) ในแต่ละเขตพื้นที่หารศึกษาในปัจจุบันนี้ หรืออาจจะกำหนดระยะเวลาการขอกำหนดระดับ ตำแหน่งให้สูงขึ้น ใช้ระยะเวลาที่ยาวนานมากกว่าเดิมในแต่ละระดับ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานกว่า ระบบวิทยฐานะที่ครูได้รับอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่เอื้อต่อการจูงใจในการทำงานให้มีคุณภาพ เพราำต้องใช้หลักอาวุโส การครองตำแหน่งที่ใช้ระยะเวลานาน ไม่ส่งเสริมกระบวนพัฒนาคุณภาพของครูให้ Fast track เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพครู

 

ส่วนผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารสถานศึกษา อาจมีชื่อตำแหน่งเรียกเป็นอย่าง ตามความในวรรคท้ายของมาตรา ๔๑ ที่กฎหมายว่าด้วยการนั้น อาจกำหนดระดับ ตำแหน่ง ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามวรรคสาม โดยกำหนดระดับ ตำแหน่ง ตามขนาดของสถานศึกษา และเรียกชื่อตำแหน่งที่แตกต่างกันตามขนาดของโรงเรียน เช่น

 

โรงเรียนขนาดเล็ก อาจเรียกชื่อว่า ครูใหญ่ หรืออย่างอื่น มีระดับหรือวิทยฐานะไม่เกินชำนาญการ

โรงเรียนขนาดกลาง อาจเรียกชื่อ อาจารย์ใหญ่ หรืออย่างอื่น มีระดับหรือวิทยฐานะไม่เกินชำนำญการพิเศษ

โรงเรียนขนาดใหญ่ อาจเรียกชื่อ ผู้อำนวยการ หรืออย่างอื่น มีระดับ หรือวิทยฐานะไม่เกินเชี่ยวชำญ

โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ อาจเรียกชื่อ ผู้อำนวยการ หรืออย่างอื่น มีระดับ หรือวิทยฐานะเชี่ยวชาญ หรือเชี่ยวชำญพิเศษ

 

ความหมายผู้บริหารสถานศึกษาในมาตรา ๔ ของพระราชบัญญัตินี้ หมายความว่า “ ครูซึ่งเป็นหัวหน้าในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๘ (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีหน้าที่่และความรับผิดชอบในการบริหารสถานศึกษาและเป็นผู้บังคับบัญชาของครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่เกี่ยวกับการจัดการในสถานศึกษาดังกล่าว ”

 

ในความหมายดังกล่าว มิได้ระบุชื่อตำแหน่งไว้ว่าชื่ออะไร จะต้องมากำหนดชื่อตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาในมาตรา ๔๑ วรรคท้าย ซึ่งใน วรรคสาม และวรรคท้าย ของมาตรา ๔๑ เป็นการเขียนกฏหมายที่เอื้อต่อการกำหนดชื่อ ระดับตำแหน่ง ของผู้บริหารสถานศึกษาที่แตกต่างกัน

 

ประเด็นลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ ๓ คือมาตรา ๑๐๗ ที่ไม่กำหนดให้ครูที่ดำรงในตำแหน่งอยู่ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตาแหน่ง เงินวิทยฐานะ อื่นเช่นเดียวกับที่ได้รับอยู่ในวันก่อนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และประโยชน์ตอบแทน

 

ในขณะที่ มาตรา ๑๐๘ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา มาตรา 109 ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และมาตรา ๑๑๐ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะ และประโยชน์ตอบแทนอื่น เช่นเดียวกับที่ได้รับอยู่ในวันก่อนที่พระรำชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

 

ประเด็นลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานที่ ๓ นี้ อาจส่งผลให้ตำแหน่งครูในปัจจุบันไม่ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะ และประโยชน์ตอบแทนอื่น เช่นเดียวกับที่ได้รับอยู่ก่อนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งเป็นข้อกังวลใจให้กับครูทั่วประเทศอย่างมาก ว่าเป็นเจตนาที่ร่างกฎหมายออกมาเพื่อไม่ให้ครูได้รับเงินวิทยฐานะและค่าตอบแทนในอัตราเดิมหรือไม่ หรือเป็นการหลงลืม ที่ไม่ร่างเหมือนกับมาตรา ๑๐๘ มาตรา ๑๐๙ และมาตรา ๑๑๐

 

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ เครือข่ายองค์กรวิชำชีพครูไทย ( ค.อ.ท.) มีความเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชำติ ฉบับนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรง ต่อผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่ง โดยเฉพาะมาตรา ๔๑ และมาตรา ๑๐๗  เป็นการออกกฏหมายที่ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานประโยนช์ที่เคยได้รับ เป็นการทำลายขวัญและกำลังใจให้กับผู้ประกอบวิชำชีพครูอย่างรุนแรง จึงกราบเรียนมายังสมาชิกรัฐสภาทุกท่าน ในฐานที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ได้โปรดพิจารณาแก้ไขมาตรา ๔๑ และมาตรา ๑๐๗ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และไม่สร้างความเหลื่อมล้ำให้เกิดขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ  และเป็นหลักประกันความก้าวหน้าของผู้ประกอบวิชาครู มิให้ถูกทำลายลงด้วยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชำติฉบับนี้ โดยในมาตรา ๔๑ ให้ยกเลิก วรรคสอง วรรคสาม และวรรคท้าย ให้คงไว้เฉพาะวรรคแรก ดังนี้

 

“ ให้ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ในหน่วยงานทางการศึกษา หรือสถานศึกษาของรัฐ ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่ง และค่าตอบแทนอื่นตามที่กฎหมายกำหนดว่าด้วยการนั้น ”

 

และในมาตรา ๑๐๗ ให้บัญญัติเพิ่มเติมให้ครูที่ดำรงตำแหน่งในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะ และประโยชน์ตอบแทนอื่น เช่นเดียวกับที่ได้รับอยู่ก่อนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

 

เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย ( ค.อ.ท.) หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับกำรพิจารณาแก้ไขตามข้อเรียกร้องในครั้งนี้

เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย (ค.อ.ท.)

๕ มกราคม ๒๕๖๖

แถลงการณ์เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย ( ค.อ.ท.)

แถลงการณ์ ค.อ.ท. ชี้ "ร่างพ.ร.บ.การศึกษา" ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐาน"ครู"

แถลงการณ์ ค.อ.ท. ชี้ "ร่างพ.ร.บ.การศึกษา" ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐาน"ครู"

แถลงการณ์ ค.อ.ท. ชี้ "ร่างพ.ร.บ.การศึกษา" ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐาน"ครู"

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ