ข่าว

"โรงเรียนเท่าเทียม" ฝันที่อยากให้เป็นจริง ของผู้ปกครองและนักเรียน

"โรงเรียนเท่าเทียม" ฝันที่อยากให้เป็นจริง ของผู้ปกครองและนักเรียน

05 ม.ค. 2566

รอคอยมานาน.. ของขวัญที่อยากได้ "โรงเรียนเท่าเทียม" ความฝันของผู้ปกครองและนักเรียน ใครบ้างไม่อยากให้ลูกเรียนใกล้บ้าน

ผ่านเทศกาลการมอบของขวัญ ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเด็ก ถ้ามีใครซักคนจะมอบให้ ขอเป็น “โรงเรียนเท่าเทียม” จะได้ไหม การศึกษาที่ไม่เท่าเทียม ทำให้ประชาชนเสียโอกาส แถมยังถูกซ้ำเติมด้วย นักบริหารการศึกษาที่ไม่เท่าทัน ยิ่งทำให้ประชาชนหมดโอกาส

 

คุณภาพการศึกษาที่ไม่เท่าเทียม เป็นโจทย์ใหญ่ สำหรับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ  ที่ไม่สามารถทำให้ทุก โรงเรียน มีมาตรฐานเดียวกัน เช่น อัตรากำลัง การมีครูครบชั้น ครบวิชาเอก หรือมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนที่เพียงพอ งบประมาณไม่กระจายไปอย่างสมเหตุสมผล ข้อนี้ถือว่าส่งผลไปถึงข้ออื่น ๆ อย่างมาก

 

นอกจากนั้น ยังมีความไม่เท่าเทียม ของนักเรียน ความรู้ ความสามารถ ฐานะทางการเงิน สภาพแวดล้อมและสภาพครอบครัว สิ่งเหล่านี้ทำให้ นักเรียนไม่เท่าเทียม

 

ความไม่เท่าเทียม ทางวิชาการ หลักสูตรการเรียนการสอน ที่ไม่เท่าเทียม เพราะอ้างเหตุผลว่าเป็นการสร้างความหลากหลาย เป็นไปตามบริบท ของท้องถิ่นและชุมชน โรงเรียนในเมืองสอนเข้ม สอนเยอะ โรงเรียนรอบนอก สอนตามสภาพ เอาแค่จบ เพราะเรียนมาก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์

 

ความไม่เท่าเทียมของผลการเรียนและการวัดผล ในอดีตเคยมีคำว่า “สอบไล่” แต่ปัจจุบันมี “การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ” มันก็แปลกตรงที่ว่า ไม่มีการบังคับ แต่นักเรียนเข้าสอบร้อยเปอร์เซนต์ ที่แปลกกว่า คือ ไม่นำไปตัดสินผลการเรียน และไม่นำไปเป็นส่วนประกอบในการพิจารณาเพื่อเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษา

 

หากมีโอกาสจะเล่าเรื่องของการตัดตอน ระบบการรับนักศึกษาใหม่ ที่ใช้งบประมาณจำนวนมาก ในแต่ละปี แต่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ กลับไม่นำมาใช้ประโยชน์ เพราะเพียงต้องการแย่งเด็กเข้าเรียน

 

แม้ที่ผ่านมา มีนโยบายมากมายที่ต้องการให้โรงเรียนทุกพื้นที่เท่าเทียมกัน แต่พอเวลาผ่านไป นโยบายก็ผ่านไปด้วย เหลือเพียงแต่ป้ายหน้าโรงเรียน มากมายจนไม่มีที่จะติด โรงเรียนต่างๆ ที่แต่ละรัฐบาลต้องการให้เป็น เช่น โรงเรียนในฝัน โรงเรียนดีใกล้บ้าน โรงเรียนดีประจำอำเภอ โรงเรียนดีประจำตำบล โรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนมาตรฐานสากล

 

ถามกลับไปยังรัฐบาลว่า ปัจจุบัน โรงเรียนเหล่านี้อยู่ที่ไหน มีสภาพเป็นอย่างไร คุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้ไปหรือไม่

 

ความไม่เท่าเทียม ไม่ใช่ความผิด ไม่ใช่เงื่อนไข ของการเรียกร้อง หากเพียงแต่ว่า เรามี “ผู้บริหารการศึกษา” ที่ “เท่าทัน

 

0 ชัยวัฒน์ ปานนิล 0 เรียบเรียง