Lifestyle

ด่วน เคาะแล้ว "บอร์ด กพฐ." ให้อำนาจ "ผอ.รร." ตัดสินใจ สอบ-ไม่สอบ ปลายภาคเทอม1/2564

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ปฏิบัติหน้าที่ประธาน บอร์ด กพฐ."ย้ำต้องปรับให้รร.มีความยืดหยุ่นมากที่สุด ในการวัดและประเมินผลนักเรียน แนะ สพฐ.ยกเลิกสอบ NT-ลดภาระงานครู เนื่องจากการเรียนออนไลน์เพิ่มภาระให้ครูอย่างมาก

รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) หรือบอร์ดกพฐ. เปิดเผยภายหลังประชุม กพฐ.ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์  เมื่อวันที่ 13 สิงหคม 2564 ว่า สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เสนอการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ตรวจสอบสิทธิ รับเงินเยียวยานักเรียน 2,000 บาท รร.รัฐ-เอกชน เช็กครบทุกขั้นตอนที่นี่

ด่วน ขั้นตอนจ่ายเงิน"เยียวยานักเรียน 2,000 บาท"และช่วงวันโอนเงินเช็กที่นี่

"ลดค่าเล่าเรียน" 2,000 บาท รอสำนักงบฯจัดสรร "รมว.ศธ."คาดได้31ส.ค.นี้

 

โดยที่ประชุมให้ความเห็นว่าการเรียนการสอนในสถานการณ์นี้ ควรให้อิสระกับโรงเรียนในการนับเวลาเรียน จัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลนักเรียน โดยเฉพาะการสอบปลายภาคของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ให้ผู้อำนวยการโรงเรียน(ผอ.รร.) ตัดสินใจว่าควรจะสอบหรือไม่

 

โดยให้พิจารณาดูความพร้อมของนักเรียนเป็นหลัก หากไม่สอบปลายภาคของภาคเรียนที่ 1/2564 สถานศึกษาอาจจะปรับวิธีการวัดและประเมินผลอย่างไร เช่น อาจไปสอบภาคเรียนที่ 2/2564 ครั้งเดียว เป็นต้น

 

“ผมมองว่าขณะนี้เราต้องปรับให้โรงเรียนมีความยืดหยุ่นมากที่สุดในการวัดและประเมินผลนักเรียน ภายใต้ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ โดยตัวชี้วัดนั้นต้องไปปรับให้ทันกับสถานการณ์ด้วย

 

เช่น จากเดิมต้องจัดสอบเพื่อวัดและประเมินว่านักเรียนมีความรู้ตามมาตรฐานของตัวชี้วัดหรือไม่ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน หากโรงเรียนสามารถกำหนดให้มีกิจกรรม หรือวิธีอื่นที่สามารถทดสอบ หรือประเมินว่านักเรียนผ่านเกณฑ์ หรือตัวชี้วัดที่สำคัญว่านักเรียนต้องรู้ และควรรู้อะไร ผมมองว่าไม่มีปัญหา เป็นอิสระของโรงเรียนอยู่แล้ว "รศ.ดร.เอกชัย กล่าว

 

รศ.ดร.เอกชัย กล่าวอีกว่า แต่ตนมองว่าตอนนี้ สพฐ. ควรยกเลิกประเมินความสามารถด้านภาษาไทยและความสามารถด้านคณิตศาสตร์ หรือสอบNT และการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกเสียงและอ่านรู้เรื่อง หรือสอบNT ปีการศึกษา 2564 ออกไปก่อน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้โรงเรียนวัดและประเมินผลนักเรียน

รศ.ดร.เอกชัย กล่าวอีกว่า ขณะนี้ สังคมกำลังจับตามองปัญหาการเรียน เพราะผู้ปกครอง นักเรียนเครียดจากการเรียน ตนมองว่าปีที่ผ่านมา สพฐ.ได้ทำการรวบรวมปัญหาการเรียนออนไลน์ไว้อยู่แล้ว จึงน่าจะนำข้อมูลที่มีอยู่มาดูรายละเอียดว่านักเรียนแต่ละกลุ่ม แต่ละพื้นที่

 

"เช่น นักเรียนในเมือง นักเรียนในชนบท มีปัญหาแตกต่างกันอย่างไร และนำมาปรับใช้ และปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอน ปรับการวัดและประเมินผล โดยอาจจะไม่เน้นเนื้อหาความรู้ แต่เน้นทักษะที่นักเรียนจำเป็นต้องใช้ "รศ.ดร.เอกชัย กล่าว

 

รศ.ดร.เอกชัย   กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ตนได้เสนอให้ สพฐ.ลดภาระงานครูด้วย เนื่องจากการเรียนออนไลน์เพิ่มภาระให้ครูอย่างมาก เพราะครูต้องมานั่งเก็บข้อมูลการเข้า-ขาดเรียน ของนักเรียน แทนที่ครูจะมีเวลาในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับการออนไลน์ แต่ต้องมานั่งกังวลเรื่องการกรอกเอกสารข้อมูลของนักเรียน ดังนั้น สพฐ.ควรจะลดภาระงานครูในส่วนนี้ลง

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ