Lifestyle

คณบดีศิริราช ม.มหิดล เผย"ฉีดวัคซีนสลับชนิด"กระตุ้นภูมิคุ้มกันสู้สายพันธุ์เดลตาได้เร็วขึ้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คณบดีศิริราช ม.มหิดล เผยการ "ฉีดวัคซีนสลับชนิด"ไม่มีข้อห้าม หากไม่แพ้วัคซีน กลุ่มผู้สูงอายุ7โรคเรื้อรัง ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้ง2ระบบ ทั้งB CellsและT Cellsได้ภูมิคุ้มกันสูงขึ้นสู้สายพันธุ์เดลตาได้ในเวลาเร็วขึ้นภายใน5สัปดาห์

ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรีเมื่อวานนี้(21ก.ค.) ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ่กล่าวถึงกรณีมีเคสฉีดวัคซีนโควิด19สลับชนิด ว่า วัคซีนโควิด19มี4ชนิด คือmRNAเชื้อตาย ไวรัลเวคเตอร์ และโปรตีนซับยูนิต

โดยวัคซีนชนิดเชื้อตายและโปรตีนซับยูนิต มีกลไกสำคัญคือสร้างภูมิคุ้มกันโดยกระตุ้นเม็ดเลือดขาวกลุ่มB cellsที่จะสร้างแอนติบอดีออกมาในกระแสเลือด และป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าไปติดเชื้อในเซลล์

ส่วนชนิดmRNAและไวรัลเวคเตอร์มีกลไกสร้างภูมิคุ้มกันทั้งสองอย่างคือกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิดT cellsที่จะไปฆ่าเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสและกระตุ้นเม็ดเลือดขาวกลุ่มB cellsให้สร้างแอนตี้บอดี้

 

ศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าวต่อว่า การฉีดวัคซีนสลับชนิด โดยเข็ม1เป็นชนิดเชื้อตายที่กระตุ้นB cellsได้ดี แต่กระตุ้นT cellsไม่ดีนัก และปรับเอาวัคซีนที่กระตุ้นT cellsได้ดีคือไวรัลเวคเตอร์มาฉีดเป็นเข็มที่2จึงกลายเป็นให้ฉีดด้วยซิโนแวค เว้น3สัปดาห์ แล้วฉีดด้วยแอสตร้าเซนเนก้า

โดย2สัปดาห์ หลังฉีดแอสตร้าเซนเนก้า ภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูง รวมใช้เวลา5สัปดาห์ ซึ่งข้อมูลวิจัยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่า ภูมิคุ้มกันสูงพอน่าจะครอบคลุมสายพันธุ์เดลตา 

ขณะที่การศึกษาในต่างประเทศพบว่ามีประสิทธิภาพและความปลอดภัย ส่วนการฉีดแอสตร้าเซนเนก้า2เข็ม แม้กระตุ้นทั้งT cellsและB cellsแต่ใช้เวลานาน เนื่องจากเว้นระยะห่างระหว่างเข็ม10-12สัปดาห์ และใช้เวลาอีก2สัปดาห์ภูมิคุ้มกันจึงขึ้นสูง

โดยรวมต้องใช้เวลา12-14สัปดาห์ ขณะที่การฉีดแอสตร้าเซนเนก้าเข็มเดียว ข้อมูลจากต่างประเทศพบว่าไม่พอในการลดการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา และหากระยะเวลาระหว่างเข็ม1และเข็ม2ของแอสตร้าเซนเนก้า ยิ่งสั้นประสิทธิภาพจะยิ่งน้อยลง

“ขณะนี้โควิดสายพันธุ์เดลตาแพร่กระจายเร็วมาก ครอบคลุมทุกทวีป ทำให้ผู้ติดเชื้อทั่วโลกกลับมาเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่การเสียชีวิตไม่ได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากวัคซีนช่วยลดอาการรุนแรงและการเสียชีวิต

ส่วนประเทศไทยสายพันธุ์เดลตาพบมากถึงกว่าร้อยละ50ของการติดเชื้อ การฉีดวัคซีนจะลดความรุนแรงและเสียชีวิต และจะช่วยลดการติดเชื้อหากมีการฉีดวัคซีนให้ประชาชนมากพอ ซึ่งการฉีดวัคซีนให้มากนั้น มีองค์ประกอบ3อย่าง คือ ต้องมีวัคซีนมากพอ บริหารจัดการการฉีดให้มีประสิทธิภาพมากพอ เช่น ฉีดให้ได้3-4แสนโดสต่อวัน และมีผู้มารับการฉีด ดังนั้นเมื่อมีการจัดสรรวัคซีนให้แล้ว ขอให้มารับการฉีดวัคซีนด้วย” ศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าว

ศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าวว่า การฉีดวัคซีนสลับชนิดนี้ ไม่ได้มีรายงานภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างจากการฉีดวัคซีนชนิดเดียวกัน ส่วนการฉีดวัคซีนกระตุ้นในบุคลากรทางการแพทย์ที่รับซิโนแวค2เข็ม อยู่บนหลักการเดียวกัน คือ กระตุ้นด้วยวัคซีนต่างชนิดคือแอสตร้าเซนเนก้าที่ช่วยกระตุ้นT cells

"สำหรับวัคซีนรุ่น2รองรับการกลายพันธุ์ ประเทศไทยกำลังเจรจา ซึ่งอย่างเร็วอาจจะมาปีหน้า จึงเป็นอีกเหตุผลในการปรับสูตรการฉีดวัคซีนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้คนไทยปลอดภัยระหว่างรอวัคซีนรุ่น2"ศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าวในที่สุด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ญาติเชื่อ" ฉีดวัคซีนลูกผสม ดับปริศนา เจ้าของโรงเรียนสอนพิเศษ เสียชีวิตคาบ้านพัก

เผย 5 เขต กทม. ผลตรวจ "โควิด-19" เป็น "สายพันธุ์เดลตา" เกือบทั้งหมด

นพ.โสภณ แจงยังไม่สรุปสาเหตุการตาย ครูสาวประจวบ สังเวย"ฉีดสลับชนิด"

ด่วน "หมอขอลาออก" จากทีมควบคุมโรค หลังติดเชื้อคืนเดียว 257 ราย

ชาวเน็ตวิจารณ์หนัก "นักเรียนติดโควิด-19" ครูถูกกักตัว ไม่มีใครดูแล

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ