Lifestyle

อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์โต10%ตั้งเป้าศก.ส่งออกภูมิภาคปี63

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย...  -คุณภาพชีวิต [email protected] 

 

 

 

          ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและส่งออกเครื่องมือแพทย์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในอาเซียน อุปกรณ์การแพทย์ที่ผลิตเพื่อส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง 84% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ทั้งหมดเป็นอุปกรณ์ประเภทนี้ ซึ่งรวมถึงถุงมือยางทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง สายสวนและท่อทางการแพทย์ กระบอกและเข็มฉีดยา และอื่นๆ
  

 

 

          ภาพรวมของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทยกำลังเติบโต ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่คาดว่าจะอยู่ที่ 9-10% ตั้งแต่ปีค.ศ.2019 ต่อเนื่องไปจนถึงปี 20211 สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ และศูนย์กลางการส่งออกเครื่องมือแพทย์ของภูมิภาคภายในปีค.ศ. 2020 

 

 

อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์โต10%ตั้งเป้าศก.ส่งออกภูมิภาคปี63

 


          ปรีชา พันธุ์ติเวช  อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย กล่าวว่า จากอัตราการเจ็บป่วยของประชากรที่เพิ่มขึ้นผนวกกับการเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยยิ่งเป็นการเร่งความต้องการของการใช้เครื่องมือวินิจฉัยที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและทันสมัยให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของชาวต่างชาติ ทั้งที่เข้ามาอยู่อาศัยเพื่อทำงานและนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่ใช้บริการด้านการแพทย์ของไทยจากความเชื่อมั่นในมาตรฐานของการบริการที่สูงขึ้น และแผนงานการขยายและสร้างโรงพยาบาลใหม่ของผู้ให้บริการในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ
 

          อย่างไรก็ตามไทยส่งออกหลักของผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของไทยคือวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยาง  ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีความต้องการใช้งานสูงด้วยตัวเลขการคาดการณ์ที่โตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่มีภาวการณ์แข่งขันสูงทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ การผลิตน้ำยาและเครื่องมืออุปกรณ์ในการวินิจฉัย
  

 

 

 

 

อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์โต10%ตั้งเป้าศก.ส่งออกภูมิภาคปี63

 


          ตลาดส่งออกที่สาคัญที่สุดของผู้ผลิตเครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ของไทย คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ในส่วนของการนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่นอุปกรณ์อัลตราซาวด์ เครื่องเอกซเรย์ เครื่องมือทางจักษุ และอื่นๆ ประเทศไทยนำเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากสหรัฐอเมริกามากที่สุด คิดเป็น 21% ของการนำเข้าทั้งหมด ตามด้วย จีน เยอรมนี และญี่ปุ่น
   

          “ตัวเลขการนำเข้าและส่งออกอยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันมาก ตรงนี้เราต้องพัฒนาผู้ประกอบการและนวัตกรรมใหม่ให้เพิิ่มมากขึ้นไม่อย่างนั้นอาจจจะขาดดุลการค้าได้ในอนาคตหากมีการนำเข้ามากกว่าส่งออก”  อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย กล่าว
     

 

 

อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์โต10%ตั้งเป้าศก.ส่งออกภูมิภาคปี63

 

 

          อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย กล่าวด้วยว่าขณะนี้โรงพยาบาลในประเทศหลายแห่งได้เริ่มมีการนำหุ่นยนต์มาเสริมในการให้บริการ มีการพึ่งพาการนำเข้าของเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากหลายประเทศ มีการนำเข้าเป็นจำนวนมากถึง 87% จากความต้องการของตลาด ช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีจำนวนการนำเข้าครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น เช่น หุ่นยนต์ทางการแพทย์ ซึ่งรัฐบาลได้สนับสนุนส่งเสริมนวัตกรรมของไทยไปสู่ตลาดโลกเพื่อลดการนำเข้า
  

          “ประเทศไทยการมีหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งประเทศ และกฎระเบียบที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจให้แก่บริษัทต่างชาติ จึงเป็นโอกาสดีที่บริษัทด้านการแพทย์จะใช้ประเทศไทยเพื่อเป็นฐานในการเข้าสู่ตลาดของเอเชีย ยิ่งไปกว่านั้นประชากรของประเทศไทยกำลังเข้าสูงภาวะสูงวัย และจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยและเป็นโอกาสที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และศูนย์กลางการส่งออกเครื่องมือแพทย์ในปีค.ศ.2020 เพิ่มการลงทุนและขยายการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านของไทยด้วยเช่นเดียวกัน" อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย กล่าว

 

 

 

อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์โต10%ตั้งเป้าศก.ส่งออกภูมิภาคปี63

 


          อนึ่ง งานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ครั้งที่ 9 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11–13 กันยายน ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค คาดว่าจะมีผู้เข้าเยี่ยมชมงานกว่า 12,000 ราย ประมาณร้อยละ 40 มาจากต่างประเทศโดยจะมีผู้แสดงสินค้ากว่า 1,000 รายจาก 60 ประเทศ มาร่วมนำเสนอผลงานนวัตกรรมด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมหลายด้าน


          ทั้งนี้ภายในงานจะมีการเปิดตัวพาวิเลียนการดูแลสุขภาพในระดับชุมชนเป็นครั้งแรก โดยมีแนวคิดในการรวบรวมผู้ที่เกี่ยวข้องจากอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพต่างๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีเทคโนโลยีและวิทยาการอย่างก้าวหน้า จากประเทศญี่ปุ่น


          สิงคโปร์ ไต้หวันสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศอื่นๆ
          รวมทั้งมีสตาร์ทอัพพาร์คเป็นกิจกรรมใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในงานโดยมีแนวคิดที่จะสร้างแพลตฟอร์มเฉพาะทางให้ผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยและธุรกิจด้านการแพทย์และผู้ซื้อกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพไปสู่การเป็นศูนย์กลางธุรกิจสตาร์ทอัพในเอเชีย

 

 

 

อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์โต10%ตั้งเป้าศก.ส่งออกภูมิภาคปี63

 


          **ภาพรวมของการดูแลสุขภาพ
          *ในภูมิภาคเอเชีย:การลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15
          -เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการคิดค้นนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพ
          -เพื่อจัดหาการดูแลสุขภาพให้ตรงต่อความต้องการของกลุ่มประชากรสูงวัย
          -เพื่อทำให้การดูแลสุขภาพมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
          *ประเทศไทย:
          -รัฐบาลมีการกระตุ้นให้โรงพยาบาลมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมเช่น Big Data, AI และ IOT
          -คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีมาตรการเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ทางการแพทย์ เช่น การได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT)
          -ประเทศไทยนำหุ่นยนต์ทางการแพทย์มาใช้ในหลายสาขา เช่น การผ่าตัด การวินิจฉัยโรค เวชศาสตร์ฟื้นฟู และการบริการ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
          ที่มา: ภาพรวมอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกปีพ.ศ.2562 - Frost & Sullivan

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ