ข่าว

ส่องงบ 1 ล้านล้าน 'แลนด์บริดจ์' แต่ละโครงการใช้งบเท่าไหร่ หลังสภาฯ เห็นชอบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส่องงบประมาณ 1 ล้านล้านก่อสร้าง 'แลนด์บริดจ์' แต่ละโครงการภายในจะก่อสร้างอะไรบ้าง หลังโครงการผ่านสภาฯ แล้ว คุ้มค่าจริงหรือไม่หากลัดผ่านช่องแคบมะละกาใช้เวลาแค่ 5 วัน

"แลนด์บริดจ์" ยังคงโครงการที่ถูกวิจารณ์อย่างมาสำหรับการก่อสร้างโครงการเมกกะโปรเจคอย่างโครงการ "แลนด์บริดจ์" ทั้งการวิเคราะห์จากนักวิชาการ นัการเมือง รวมทั่งนักธุรกิจ แต่ล่าสุด ได้ผ่านความเห็นชอบ รับรองรายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือ โครงการแลนด์บริดจ์   

 

โครงการแลนด์บริดจ์
 

สำหรับรายละเอียด โครงการแลนด์บริดจ์ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.  แจกแจงรายละเอียดโครงการ "แลนด์บริดจ์" (โครงการแลนด์บริดจ์หรือโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน (ชุมพร-ระนอง) ) งบประมาณลงทุน 1 ล้านล้านบาท (1,001,206.47 ล้านบาท) โดยประกอบไปด้วย 4 โครงการย่อยที่จะทำในพื้นที่ โครงการ "แลนบริดจ์"   ได้แก่

 

1.ท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณแหลมอ่าวอ่าง อ.ราชกรูด จ.ระนอง ออกแบบให้สามารถรองรับสินค้าได้ 20 ล้าน TEUs ขนาดร่องน้ำลึก 21 เมตร
2.ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย ที่แหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร รองรับสินค้าได้ 20 ล้าน TEUs (Twenty-foot) ขนาดร่องน้ำลึก 17 เมตร
3.เส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือทั้งสองฝั่งมีระยะทางประมาณ 90 กม. ประกอบด้วย ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ขนาด 6 ช่องจราจร โดยเป็นอุโมงค์ 3 แห่ง ระยะประมาณ 21 กม. ทางรถไฟขนาดราง 1.435 เมตร จำนวน 2 ทาง ออกแบบเพื่อรองรับการขนส่งตู้สินค้า 2 ชั้นบนแคร่ ทางรถไฟขนาดราง 1.0 เมตร (meter gauge) จำนวน 2 ทาง โดยเป็นอุโมงค์ 3 แห่ง ระยะทางอุโมงค์ประมาณ 21 กม. เพื่อเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายทางรางหลักของประเทศ 
พื้นที่สำหรับวางท่อน้ำมัน
4.การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์หลังท่า โดยการถมทะเลเพื่อพัฒนากิจการสนับสนุนท่าเรือ 
 

สำหรับการแบ่งใช้งบประมาณในการก่อสร้างโครงการ "แลนด์บริดจ์" แบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ระยะ  

ระยะที่ 1 งบประมาณ 522, 844 ล้านบาท 

  • ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งชุมพร 188,519 ล้านบาท 
  • ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งระนอง 141,716 ล้านบาท 
  • ก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยง 2 ท่าเรือ 195,504 ล้านบาท 
  • ก่อสร้างพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า  60,982 ล้านบาท 
  • ค่าเวนคืนและจัดกรรมสิทธิที่ดิน 6,212 ล้านบาท  

 

ระยะที่ 2 งบประมาณ 164,671 ล้านบาท 

  • ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งชุมพร  45,644 ล้านบาท
  • ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งระนอง  73,164 ล้านบาท 
  • ก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยง 2 ท่าเรือ  21,910 ล้านบาท 
  • ก่อสร้างพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า 23,952 ล้านบาท  

 

ระยะที่ 3 งบประมาณ 228,512 ล้านบาท 

  • ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งชุมพร 73,221 ล้านบาท 
  • ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งระนอง  115,929 ล้านบาท 
  • ก่อสร้างพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า 39,361 ล้านบาท 

 

ระยะที่ 4 งบปรมาณ 85,177 ล้านบาท 

  • ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งชุมพร 68,280 ล้านบาท 
  • ก่อสร้างพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบขนส่งสินค้า 16,897 ล้านบาท 

 

อย่างไรก็ตาม ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์   วิเคราะห์การก่อสร้างโครการแลนบริดจ์ ว่า ในขณะที่รัฐบาลกำลังทุ่มสรรพกำลังผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร ให้เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดคำถามว่า ถ้าแลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร เกิดขึ้นจริง จะช่วงชิงประตูสู่เอเชียจากช่องแคบมะละกาได้หรือไม่?
ช่องแคบมะละกาตั้งอยู่ระหว่างประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์กับประเทศอินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา) เป็นเส้นทางการเดินเรือที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่นมากแห่งหนึ่งของโลก

 

 

ภาพจากดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์

 

คาดกันว่าถ้ามี แลนด์บริดจ์ระนอง-ชุมพร จะช่วยร่นระยะทางและระยะเวลาการเดินเรือระหว่างฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของไทยได้เมื่อเทียบกับการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกา หลายคนเห็นด้วยว่าระยะทางนั้นสั้นกว่า แต่ไม่แน่ใจว่าระยะเวลาจะสั้นกว่าหรือไม่

 

ถ้าแลนด์บริดจ์ระนอง-ชุมพร สามารถประหยัดเวลาได้ ก็จะสามารถจูงใจให้เรือมาใช้บริการแทนการแล่นผ่านช่องแคบมะละกา แต่ถ้าแลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร ไม่ทำให้ประหยัดเวลาได้ ก็ยากที่จะจูงใจให้เรือมาใช้บริการ

แต่ถ้าลงทุนแล้วขาดทุน เขาก็จะไม่ลงทุน นั่นหมายความว่าแลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร ไม่สามารถจูงใจให้เรือมาใช้บริการแทนช่องแคบมะละกาได้

 

ด้วยเหตุนี้ ปริมาณเรือที่จะมาใช้บริการจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจที่จะลงทุนในโครงการนี้ของเอกชน ซึ่งเขาจะต้องคาดการณ์ว่าจะมีเรือมาใช้แลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร มากน้อยแค่ไหนนั้น โดยคำนึงถึงประเภทของสินค้าที่เรือจะขนมา และจุดต้นทางและปลายทางของสินค้า เช่น
1.เรือบรรทุกน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางสู่ประเทศญี่ปุ่น จะเปลี่ยนเส้นทางจากช่องแคบมะละกามาใช้แลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร มากน้อยเพียงใด
2.เรือบรรทุกคอนเทนเนอร์จากยุโรป (ท่าเรือร็อตเตอร์ดัม) สู่ญี่ปุ่น จะเปลี่ยนเส้นทางจากช่องแคบมะละกา มาใช้แลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร มากน้อยเพียงใด
3. เรือบรรทุกแร่เหล็กจากอินเดียสู่ตะวันออกไกลจะเปลี่ยนมาใช้แลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร หรือไม่
4.เรือบรรทุกถ่านหินจากแอฟริกาสู่ตะวันออกไกลจะเปลี่ยนมาใช้แลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร หรือไม่
วันนี้ประตูสู่เอเชียทางน้ำยังอยู่ที่ช่องแคบมะละกา แต่ถ้าโครงการแลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร เป็นรูปธรรมขึ้นมาคงต้องรอดูกันว่าประตูสู่เอเชียจะเปลี่ยนไปหรือไม่ 

 


อ่านวิเคราะห์โครงการแลนด์บริดจ์ฉบับบเต็มได้ที่นี่ 

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก: thaipublica.org

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ