ข่าว

'โรงแรม' ดัง เปิดยอด service charge 'พนักงาน' ปังไม่ไหว รับเหยียบแสน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดยอด 'เซอร์วิส ชาร์จ โรงแรม' ดัง ภูเก็ต 'พนักงาน' ปังไม่ไหว เพียงเดือนเดียว รับ 'service charge' เหยียบแสน/คน

ช่วงสิ้นปี บริษัท หรือ โรงงานหลายแห่ง ทยอยออกประกาศแจกโบนัส ให้กับ “พนักงาน” ประจำปี เช่นเดียวกับ “โรงแรม” ในเครือต่างๆ ที่ได้ประกาศยอด service charge เป็นขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน ภายหลังต้องเผชิญกับภาวะโควิด-19 ระบาด ยอดการท่องเที่ยวลดลง ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ปรากฎว่า โรงแรมดัง ภูเก็ต ฟาดยอด เซอร์วิสชาร์จ เหยียบ 80,000 บาทต่อคนเลยทีเดียว

ยอดเซอร์วิสชาร์จโรงแรม JW แมริออท

เพจเฟซบุ๊ค Hotel Service Charge Update เปิดเผย “เซอร์วิส ชาร์จ โรงแรม” service charge ในช่วงวันที่ 19 ธ.ค. 2565-18 ม.ค. 2566 ปรากฎว่า โรงแรม JW Marriott ภูเก็ต มียอดเซอร์วิสชาร์จ อยู่ที่ 79,980.80 บาท/คน

 

 

ตามด้วย โรงแรม Anantara Layan ภูเก็ต มียอด Service Charge อยู่ที่ 71,715 บาท, โรงแรม โฟร์ ซีซั่น เกาะสมุย อยู่ที่ 69,757 บาท, โรงแรม OZO ภูเก็ต อยู่ที่ 57,788 บาท นอกจากนี้ โรงแรมอื่นๆ ยังจ่ายเซอร์วิส ชาร์จ เฉลี่ยไม่น้อย อาทิ

 

  • Banyan Tree Krabi อยู่ที่ 46,729.88 บาท
  • AMANPURI อยู่ที่ 50,253 บาท
  • ดุสิต ธานี ลากูน่า ภูเก็ต ตั้งแต่ 1-31 ธันวาคม อยู่ที่ 32,325 บาท
  • โนโวเทล แพลตทินั่ม ประตูน้ำ อยู่ที่ 32,700 บาท
  • Anantara Golden Triangle Elephant Camp & Resort เชียงราย อยู่ที่ 40,774 บาท

ยอดเซอร์วิส ชาร์จ โรงแรมโฟร์ซีซั่น ยอดเซอร์วิสชาร์จ โรงแรมแมริออท

ภายหลังเห็นตัวเลขเซอร์วิสชาร์จ service charge ที่พนักงานโรงแรมได้รับ บรรดาชาวเน็ต นอกจากจะ ร่วมแสดงความยินดีแล้ว ยังเริ่มหาลู่ทางสมัครงาน เพื่อเป็นพนักงานโรงแรมกันใหญ่

เซอร์วิสชาร์จโรงแรม

 

Service Charge คืออะไร

 

เซอร์วิสชาร์จ Service Charge คือ ค่าบริการที่ผู้ประกอบการขายสินค้านั้นๆ คิดเพิ่มจากผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการ เป็นรายได้ที่นำมาแบ่งให้แก่พนักงานบริการในแต่ละเดือน ถือเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของพนักงาน โดยอัตราการเรียกเก็บ เซอร์วิสชาร์จ ที่เหมาะสม ตามกฎหมายที่กรมการค้าภายในกำกับอยู่ คือ ต้องไม่เกิน 10% เนื่องจากเป็นอัตราราคาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่รับทราบตามสากล และยอมรับได้ แม้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคจะไม่ได้กำหนด

 

 

แต่ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ระบุว่า ราคาสินค้าและบริการ ต้องแสดงราคาต่อหน่วย มีตัวเลขเป็นภาษาใดก็ได้ แต่ขอให้มีอารบิกอยู่ด้วย กำกับให้ชัดเจน เพื่อแสดงให้ผู้บริโภคทราบก่อนการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อสินค้า หรือใช้บริการ หากไม่มีแสดง หรือมีแต่อ่านไม่ชัด ไม่ครบถ้วน ถือว่ามีความผิด โทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ