ข่าว

‘เศรษฐา’ จ่อคุย 500 นักธุรกิจ เสนอใช้ไทยเป็นฮับ สนง.ภูมิภาคบริษัทชั้นนำโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'เลขาฯ บีโอไอ' เผย 'นายกฯ' จ่อจับเข่าคุย 500 นักธุรกิจญี่ปุ่น ตั้งเป้าโน้มน้าวชวนใช้ไทยเป็นฮับ สนง.ภูมิภาคบริษัทชั้นนำโลก เตรียมถก 40 นักธุรกิจชวนลงทุนโปรเจคต์แลนด์บริดจ์ ปัด ’พานาโซนิก‘ ย้ายฐานผลิตตีจากไทย แจงปิดแค่โรงงานย่อย แต่โรงงานใหญ่ยังอยู่

วันที่ 14 ธ.ค. 2566 นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้สัมภาษณ์ถึงการเดินทางเยื่อนประเทศญี่ปุ่นของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง มีเป้าหมายเชิญชวนนักลุงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง ว่า การไปญี่ปุ่นครั้งนี้ บีโอไอเตรียม 3 ภารกิจหลักให้นายกฯ คือ หนึ่ง-การร่วมสัมนากับภาคการค้าการลงทุนและภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เป็นงานใหญ่ที่สุดหลังมีโควิด มีนักธุรกิจญี่ปุ่นเข้าร่วมกว่า 500 คน 

 

‘เศรษฐา’ จ่อคุย 500 นักธุรกิจ เสนอใช้ไทยเป็นฮับ สนง.ภูมิภาคบริษัทชั้นนำโลก

 

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ เดินทางถึงโตเกียว เตรียมประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่นสมัยพิเศษ ระหว่างวันที่ 16-18 ธ.ค.2566

 

‘เศรษฐา’ จ่อคุย 500 นักธุรกิจ เสนอใช้ไทยเป็นฮับ สนง.ภูมิภาคบริษัทชั้นนำโลก

โดย เศรษฐา จะกล่าวถึงทิศทางและมาตรการด้านเศรษฐกิจ จะสื่อสารให้เห็นถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลไทย ว่ามุ่งเน้นใน 5 สาขาหลัก คืออุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสะอาด ยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิคต้นน้ำ อุตสาหกรรมดิจิทัลสร้างสรรค และการส่งเสริมให้ประเทศไทย เป็นที่ตั้งของสำนักงานภูมิภาคของบริษัทต่างๆ เพราะญี่ปุ่นลงทุนในไทยมานาน 40-50 ปี มีฐานการผลิตในประเทศไทย อีกทั้ง 10 ปีที่ผ่านมา บริษัทของญี่ปุ่นมาลงทุนในไทยกว่า 4 พันโครงการ มูลค่ากว่า 1.5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 30% ของการลงทุนต่างชาติทั้งหมด

 

‘เศรษฐา’ จ่อคุย 500 นักธุรกิจ เสนอใช้ไทยเป็นฮับ สนง.ภูมิภาคบริษัทชั้นนำโลก

 

 

แต่สิ่งที่เราอยากเชิญชวนให้มาลงทุน มากกว่าการเป็นฐานการผลิตนั้น คือการวิจัยและพัฒนาและการตั้งสำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย โดยช่วง 4 ปี จากนี้ตั้งเป้าว่า จะมีบริษัทชั้นนำของโลกกว่า 100 บริษัท ให้เขามาตั้งสำนักงานใหญ่ในภูมิภาคในไทย เพื่อสร้างแรงงานทักษะสูงไม่ต่ำกว่า 10,000 อัตราและต่อยอดไปสู่ธุรกิจต่างๆต่อไป ขณะที่ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ก็จะพูดเกี่ยวกับโครงการแลนด์บริต และรับฟังความคิดเห็นของนักลงทุน

 

‘เศรษฐา’ จ่อคุย 500 นักธุรกิจ เสนอใช้ไทยเป็นฮับ สนง.ภูมิภาคบริษัทชั้นนำโลก

 

เมื่อถามว่า ถึงความเป็นไปได้ในการลงนามเอ็มโอยูความร่วมมือด้านต่างๆ หรือไม่ นฤตม์ กล่าวว่า อาจจะไม่ได้เป็นการลงนามเอ็มโอยู เพราะส่วนใหญ่ลงทุนในไทยอยู่แล้ว แต่จะเป็นการพูดคุยเรื่องแผนธุรกิจในระยะต่อไปว่าจะมีการเตรียมลงทุนอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ ส่วนนี้จะพูดคุยถึงแผนการลงทุน และสื่อสารมาตรการในการสนับสนุนของรัฐบาลไทย เพื่อยืนยันว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับบริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่น ซึ่งเขาอยากให้เราสนับสนุนการทำรถยนต์ SEV รถไฮบริจ และอีโคคาร์ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะมาในอนาคต ทั้งเรื่องพลังงานสะอาด และการประหยัดพลังงาน การใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ

 

 

พร้อมกันนี้ยังจะพบกับภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เช่น พานาโซนิค ที่เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีและแบตเตอรี่ระดับโลก รวมถึง คูโบต้า ผู้ผลิตเครื่องมือการเกษตรรายใหญ่ในประเทศไทย และบริษัท มิตซุย ที่มีความสนใจเรื่องของพลังงานและเคมี

 

 

โดยการพบบริษัทพานาโซนิค ที่ลงทุนในไทยมายาวนาน และปัจจุบันมีโครงงานในไทยกว่า 10 แห่งนั้น เขาเพิ่มการลงทุนมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตแบตเตอร์รี่รถยนต์อีวีและระบบกักเก็บพลังงานรายใหญ่ของโลก เราก็อยากเชิญชวนให้มาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ส่วนคูโบต้า อยากให้มาช่วยพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรสมัยใหม่ ว่าจะทำอย่างไรในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของไทยให้สูงขึ้น และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดที่ไทยยังต้องนำเข้าอยู่

 

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

 

เมื่อถามถึงกรณีกระแสข่าว พานาโซนิก จะย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทยไปประเทศอื่น นฤตม์ ชี้แจงว่า เป็นเพียงการปิดโรงงานลักษณะเดียวกันขนาดเล็กๆ เพื่อรวมเป็นโรงงานใหญ่ ในประเทศไทยพานาโซนิก มีทั้งหมด 11 โรงงาน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ 4 โรงงาน ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น อุปกรณ์อัตโนมัติในรถยนต์ และเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในรถยนต์ ส่วนอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่ได้ซับซ้อนก็ไปรวมกับประเทศอื่น ทั้งนี้ 4 โรงงานมียอดถึง 80% ของยอดขายทั้งหมด

 

 

ขณะที่ส่วนที่สาม-นายกฯ  นายสุริยะ และบีโอไอ จะนำเสนอโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐาภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างทะเลอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ต่อบริษัทเอกชนรายใหญ่ของญี่ปุ่น ที่ลงชื่อเข้าร่วมแล้วกว่า 40 คน อาทิ บริษัทที่เกี่ยวกับการสร้างท่าเรือ การเดินเรือ การประกันภัย การธนาคาร เป็นต้น โดยจะร่วมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการ การพูดคุยกับบรรดาบริษัทเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการร่างทีโออาร์ในอนาคตด้วย

 

logoline