ข่าว

'ที่ดิน ส.ป.ก.เปลี่ยนเป็นโฉนด 2566' เช็กด่วน หลัง ราชกิจจาฯ ประกาศ

เปิดระเบียบ 'ที่ดิน ส.ป.ก.เปลี่ยนเป็นโฉนด 2566' หลัง ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ โดยเฉพาะ ทายาท ต้องรู้ พร้อม 'วิธีเปลี่ยน ส.ป.ก.เป็นโฉนดที่ดิน'

ภายหลัง “ราชกิจจาฯ” เผยแพร่ระเบียบ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอน หรือตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่า หรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 และให้ระเบียบฯฉบับดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค. 2566 เป็นต้นไป เช็กระเบียบใหม่ “ที่ดิน ส.ป.ก.เปลี่ยนเป็นโฉนด 2566” มีผล 15 ม.ค. 2567 มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะ ทายาท

ระเบียบ “เปลี่ยน ส.ป.ก.เป็นโฉนด”

 

 

“ที่ดิน ส.ป.ก.เปลี่ยนเป็นโฉนด 2566” มีสาระสำคัญ เช่น เพิ่มบทนิยามคำว่า “โฉนดเพื่อการเกษตร” และให้เกษตรกรที่ได้รับอนุญาต ให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินมาแล้ว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี สามารถนำเอกสารสิทธิ “ส.ป.ก. 4-01” ของตนเอง ไปยื่นขอเปลี่ยนเป็นโฉนดเพื่อการเกษตรได้ โดย ส.ป.ก. จะต้องพิจารณาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน และหากไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ ให้ ส.ป.ก. ขยายระยะเวลาได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน

 

 

ให้เกษตรกรผู้ได้รับที่ดินตามโฉนดเพื่อการเกษตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี อาจยื่นคำขอสละสิทธิของตนทั้งหมด หรือแค่บางส่วนต่อ ส.ป.ก.จังหวัด เพื่อให้เกษตรกรอื่นเป็นผู้ได้รับการพิจารณาจัดที่ดินแทน แต่ต้องได้รับการยินยอมจาก ส.ป.ก. ที่เป็นนายทะเบียนก่อน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566

ประกาศราชกิจจานุเบกษา ประกาศราชกิจจานุเบกษา

นอกจากนี้ ระเบียบฯ “ที่ดิน ส.ป.ก.เปลี่ยนเป็นโฉนด 2566” ได้กำหนดให้ยกเลิกการกำหนดระยะเวลาที่ให้ทายาทเกษตรกร ซึ่งถึงแก่ความตาย ไปยื่นคำขอรับการตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่า หรือสิทธิการเช่าซื้อ พร้อมทั้งกำหนด ‘ลำดับทายาท’ ของเกษตรกรซึ่งถึงแก่ความตาย ที่มีสิทธิได้รับการตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่า หรือสิทธิการเช่าซื้อที่ดิน ส.ป.ก. ในกรณีที่มีทายาทเกินกว่า 1 ราย และเป็นกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในระหว่างทายาท

 

 

ทั้งนี้ ราชกิจจานุเบกษา ยังเผยแพร่ ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 โดยระเบียบฉบับนี้ ได้ปรับปรุงแนวทางเกี่ยวกับการให้เกษตรกรที่ได้รับที่ดิน ส.ป.ก. เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน

 

 

โดยในข้อ 4 ของระเบียบฯ ระบุว่า เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร ผู้ได้รับมอบที่ดินให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินมีหน้าที่ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

 

1. ต้องทำประโยชน์ในที่ดินด้วยตนเองเต็มความสามารถ และไม่นำที่ดินนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนไปให้บุคคลอื่น ไม่ว่าจะโดยการขาย ให้เช่า หรือเข้าทำประโยชน์ หรือโดยพฤติกรรมใดๆ ที่แสดงให้เห็นในลักษณะนั้น เว้นแต่ได้รับความยินยอมจาก ส.ป.ก. ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีการโอนให้เป็นไปตามที่ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอน หรือตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อและการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน พ.ศ. 2564 กำหนด

 

ห้ามมิให้ผู้ได้รับโฉนดเพื่อการเกษตรเปลี่ยนมือ สละสิทธิ หรือกระทำการอื่นใด เพื่อให้บุคคลอื่นได้รับสิทธิในโฉนดเพื่อการเกษตรแทนตน ภายในสองปี นับแต่วันที่ออกโฉนดเพื่อการเกษตร เว้นแต่เป็นการจัดที่ดินแทนที่แก่คู่สมรส บุตร เครือญาติหรือทายาท

 

 

2. ยินยอมทำสัญญาเช่า หรือสัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจัดให้ โดยมีค่าชดเชยและต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว

 

3. ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน จนเป็นเหตุให้ที่ดินเสื่อมสภาพความเหมาะสมแก่การประกอบเกษตรกรรม

 

4. ไม่ขุดบ่อเพื่อการเกษตรกรรมเกินร้อยละห้าของเนื้อที่ที่ได้รับมอบ

 

5. ไม่ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างใดๆ เว้นแต่การปลูกสร้างตามสมควรสำหรับโรงเรือนที่อยู่อาศัยยุ้งฉาง หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรของเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรนั้น

 

6. ดูแลรักษาหมุดหลักฐานของ ส.ป.ก. และหลักเขตที่ดินในที่ดินที่ได้รับมอบมิให้เกิดชำรุดเสียหายหรือเคลื่อนย้ายไปจากตำแหน่งเดิม

 

7. ไม่กระทำการใดๆ ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างในโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การทำประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกรอื่นและสภาพแวดล้อม

 

8. ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด รวมทั้งคำสั่งของเลขาธิการ หรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมาย

 

9. ปฏิบัติตามสัญญากู้ยืมที่ทำกับ ส.ป.ก. และปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีอยู่กับสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ดำเนินงานร่วมกับ ส.ป.ก

ประกาศราชกิจจานุเบกษา ประกาศราชกิจจานุเบกษา ประกาศราชกิจจานุเบกษา

 

วิธีเปลี่ยน ส.ป.ก.เป็นโฉนดที่ดิน

 

  • ยื่นได้ที่ ส.ป.ก.จังหวัด
  • หน่วยบริการเคลื่อนที่ของ ส.ป.ก.จังหวัด (Mobile Unit)
  • ระบบออนไลน์ ได้ที่เว็บไซต์ ส.ป.ก. www.alro.go.th คลิกที่นี่

 

เอกสารที่ต้องเตรียม

 

  • ส.ป.ก.4-01 (ฉบับผู้ถือ) หรือสำเนาสัญญาเงินกู้ ธ.ก.ส. (กรณีกู้เงิน ธ.ก.ส.)
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)

 

 

ข่าวยอดนิยม