ข่าว

'ค่าลดหย่อนภาษีปี 2566 มีอะไรบ้าง' ตารางฐานภาษี เช็กก่อน ยื่นภาษี 2567

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ค่าลดหย่อนภาษีปี 2566 มีอะไรบ้าง' ตารางฐานภาษี เป็นอย่างไร 'ช้อปดีมีคืน' ลดหย่อนภาษี ของปีไหน เช็กก่อน 'ยื่นภาษี 2567' สรุปครบจบที่นี่

ใกล้เข้ามาแล้ว สำหรับฤดูกาลการ “ยื่นภาษี 2567” สำหรับรอบปี 2566 ที่ผู้มีเงินได้ตามที่กำหนด จะต้องเสียภาษีประจำปี ค่าลดหย่อนภาษีปี 2566 มีอะไรบ้าง ช้อปดีมีคืน ซื้ออะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง ช้อปดีมีคืน และ ตารางฐานภาษี 2566” เป็นอย่างไร คมชัดลึก รวบรวมมาเป็นแนวทางให้กับผู้มีเงินได้ ที่ต้องเสียภาษีประจำปี

     ตารางภาษี 2566

ตารางฐานภาษี 2566

 

 

  • เงินได้สุทธิ 0-150,000 บาท : ได้รับการยกเว้นภาษี : ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 0 บาท
  • เงินได้สุทธิ 150,000-300,000 บาท : อัตราภาษี 5% : ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 0 บาท
  • เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท : อัตราภาษี 10% : ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 7,500 บาท
  • เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท : อัตราภาษี 15% : ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 27,500 บาท
  • เงินได้สุทธิ 750,001-1,000,000 บาท : อัตราภาษี 20% : ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 65,000 บาท
  • เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท : อัตราภาษี 25% : ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 115,000 บาท
  • เงินได้สุทธิ 2,000,001-5,000,000 บาท : อัตราภาษี 30% : ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 365,000 บาท
  • เงินได้สุทธิมากกว่า 5,000,000 บาท : อัตราภาษี 35% : ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 1,265,000 บาท

    ตารางภาษี 2566                         

ค่าลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง 

 

1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว

  • จำนวนลดหย่อน : 60,000 บาท
  • เงื่อนไข : ลดหย่อนทันทีสำหรับผู้มีเงินได้ที่ทำการยื่นภาษี

 

2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส

  • จำนวนลดหย่อน : 60,000 บาท
  • เงื่อนไข: สำหรับสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย โดยคู่สมรสต้องไม่มีเงินได้ หรือมีแต่ยื่นภาษีแบบแสดงรายการแบบรวมกัน

 

3. ค่าลดหย่อนบุตร

  • จำนวนลดหย่อน : 30,000 บาทต่อบุตร 1 คน (ไม่จำกัดจำนวนบุตร)

 

4. ค่าลดหย่อนฝากครรภ์ และคลอดบุตร

  • จำนวนลดหย่อน: สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
  • เงื่อนไข: หักตามค่าใช้จ่ายจริง ทั้งค่าตรวจครรภ์, ค่าฝากครรภ์, ค่าทำคลอด, ค่าบำบัดทางการแพทย์, การพักฟื้นภายในโรงพยาบาล แต่สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท

 

5. ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดา-มารดา

  • จำนวนลดหย่อน: 30,000 บาทต่อบิดา - มารดา 1 คน โดยสามารถนับรวมบิดา - มารดาของคู่สมรสด้วยได้ (รวมสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท)
  • เงื่อนไข : บิดา-มารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ทันที สำหรับผู้มีเงินได้ที่ทำการยื่นภาษี

 

6. ค่าอุปการะผู้พิการ หรือทุพพลภาพ

  • จำนวนลดหย่อน: 60,000 บาทต่อคน
  • เงื่อนไข : ผู้ทุพพลภาพต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ
  • ต้องเป็นผู้ที่ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วย “การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ”

 

7. เงินประกันสังคม

  • จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

 

8. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต

  • จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

 

9. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง

  • จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท

*** ข้อ 8 และ 9 รวมกันแล้วลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

    ตารางภาษี

10. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่

  • จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

 

11. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

  • จำนวนลดหย่อน: ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

 

12. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

 

13. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. / สงเคราะห์ครูเอกชน

  • จำนวนลดหย่อน : ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท สามารถสะสมเพิ่มได้ โดยขอเปลี่ยน % ที่กำหนดไว้กับนายจ้าง

 

14. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

  • จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท

 

15. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

 

16. ลดหย่อนภาษี “ช้อปดีมีคืน”

  • จำนวนลดหย่อน: ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 40,000 บาทต่อคน
  • เงื่อนไข: สำหรับการซื้อสินค้าระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 2566 - 15 ก.พ. 2566
  • ซื้อสินค้าหรือบริการ 30,000 บาท โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ แบบกระดาษ หรือใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ แบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร
  • ซื้อสินค้าหรือบริการได้อีก 10,000 บาท แต่จะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ แบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ที่ออกผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร

 

 

เงื่อนไขสินค้าหรือบริการ ช้อปดีมีคืน 

 

  • สินค้าหรือบริการทุกประเภทที่ซื้อจากร้านค้าที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • บิลค่าน้ำมัน ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์
  • หนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมถึง eBook (ยกเว้น นิตยสาร และหนังสือพิมพ์) จากร้านที่เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่สามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบได้
  • สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน และมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ
  • สินค้าที่ไม่เข้าร่วม ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยาสูบ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ ค่าที่พักโรงแรม ค่าสาธารณูปโภค ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

 

17. เงินบริจาค

18. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย

  • จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

 

 

ยื่นภาษี 2567 ช่วงไหน

 

ยื่นภาษีได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. 2567 (แต่ถ้ายื่นออนไลน์ จะสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 8 เม.ย. 2567)

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ