'เช็กเงินไร่ละ 1,000' ธ.ก.ส. กำหนดวันโอนแล้ว ตรวจสอบสิทธิที่นี่
'เช็กเงินไร่ละ 1,000' เงินช่วยเหลือชาวนา เกษตรกรเตรียมตัว 'ธ.ก.ส.' กำหนดวันโอนแล้ว ตรวจสอบสิทธิเกษตรกรไร่ละ 1,000 ได้ที่นี่
เกษตรกรเตรียม “เช็กเงินไร่ละ 1,000” หลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 “เงินเยียวยาไร่ละ 1,000” วงเงิน 56,321.07 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวผ่านบัญชี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 4.68 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือคิดเป็นเงิน 20,000 บาท ซึ่ง ธ.ก.ส. กำหนดวันโอนแล้ว
เงินเยียวยาไร่ละ 1,000 เข้าวันไหน
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวคาดว่า จะสามารถจ่ายเงินให้กับชาวนา ผ่านบัญชีเกษตรกรโดยตรงได้เร็วที่สุดในวันที่ 20 พ.ย. 2566 และช้าสุดไม่เกิน 1 เดือน โดยให้ ธ.ก.ส. จ่ายเงินในส่วนนี้ไปก่อนแล้วรัฐบาลใช้เงินงบประมาณจ่ายคืนภายหลัง
ล่าสุดคาดว่า ธ.ก.ส. จะทยอยโอนเข้าบัญชี ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. 2566 เป็นต้นไป โดยสามารถดูรอบการโอนผ่านเพจ ธ.ก.ส. ในแต่ละสาขา
วิธี “ตรวจสอบสิทธิเกษตรกรไร่ละ 1,000”
จากเงื่อนไขของเกษตรกรที่มีสิทธิได้รับ “เงินเยียวยาไร่ละ 1,000” หรือเงินช่วยเหลือชาวนา จะต้องเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ดังนั้น เกษตรกร สามารถตรวจสอบสิทธิเกษตรกร ทาง เว็บไซต์ efarmer.doae.go.th คลิกที่นี่
วิธี “เช็กเงินไร่ละ 1,000”
- คลิกไปที่เว็บไซต์ chongkho.inbaac.com. คลิกที่นี่
- กรอกเลขที่บัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก
- หลังจากกรอกเลขบัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก จะมีรายละเอียดบัญชี จำนวนเงิน และ โครงการช่วยเหลือที่ได้รับ
นอกจากนี้ ครม. ยังออก 2 มาตรการ รักษาเสถียรภาพราคาข้าว โดยให้สินเชื่อชะลอการขายข้าวในช่วงต้นฤดูข้าวนาปี 66/67 โดยมีเป้าหมายการนำข้าวออกจากระบบ 4 ล้านตัน จากปริมาณข้าวที่ออกมาสู่ตลาด 10 ล้านตัน ได้แก่
- สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี มีเป้าหมาย 3 ล้านตัน วงเงิน 10,120.71 ล้านบาท ช่วยค่าฝาก 1,500 บาทต่อตันโดยให้สหกรณ์รับ 1,000 บาทต่อตัน และเกษตรกรรับ 500 บาทต่อตัน โดยให้เก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง 1-5 เดือน เริ่ม 1 ต.ค. 2566 ถึง 29 ก.พ. 2567 ในราคาข้าวหอมมะลิความชื้นไม่เกิน 25 % หรือหอมมะลิเกี่ยวสดตันละ 12,000 บาท, ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท, ข้าวหอมมะลิปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท, ข้าวเจ้า ตันละ 9,000 บาท, ข้าวเหนียวตันละ 10,000 บาท หากราคาข้าวขึ้น รวมถึงเกษตรกรรายย่อยที่มียุ้งฉางด้วย
- สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม มีเป้าหมาย 1 ล้านตัน วงเงิน 481.25 ล้านบาท สหกรณ์จ่ายดอกเบี้ย 1% รัฐช่วยดอกเบี้ย 3.85% ระยะเวลา 15 เดือน เริ่ม 1 ต.ค. 2566 ถึง 30 ก.ย. 2567