ข่าว

'สศก.'โอ่ สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร คืบหน้าร้อยละ 85

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร "สศก." กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเมินภาพรวม   โครงการ "สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2566 ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ รอบ 6 เดือน ของการดำเนินการ คืบหน้าไปถึงร้อยละ 85.43 ชี้เกษตรกรล้วนพึงพอใจโครงการ

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า  โครงการ "สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร"  เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร และ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  ได้บูรณาการร่วมกัน   เป้าหมาย เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการนําเศษวัสดุการเกษตรมาใช้ประโยชน์ สามารถลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม โดยในปีงบประมาณ 2566 โครงการฯ     ได้กำหนดเป้าหมายพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ เกษตรกร 24,900 ราย ดำเนินกิจกรรมต่างๆ 

 

 

 

เช่น การจัดการฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อความยั่งยืน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม การบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นอาหารสัตว์ การจัดการวัสดุเหลือใช้โดยยึดแนวคิดระบบธุรกิจปิดวงจร   และระบบการจัดการวัตถุดิบเหลือใช้สู่โรงงานแปรรูปเป็นต้นแบบ และแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร   จากการติดตามโครงการฯ รอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2565 - มิถุนายน 2566) ภาพรวมโครงการทั้งประเทศ  สศก. พบว่า สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้แก่เกษตรกรแล้วจำนวน 21,271 ราย (ร้อยละ 85.43 ของเป้าหมาย 24,900 ราย)

 

 

 

 

โดยตัวอย่างกิจกรรมสำคัญๆ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีการเข้ามาถ่ายทอด สร้างความรู้ความเข้าใจให้เกษตรกรในการจัดการเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เหมาะสมตามบริบทของชุมชน 15,400 ราย ครบตามเป้าหมาย 

 

 

 

ส่วนกรมปศุสัตว์ นำเทคโนโลยีนวัตกรรมการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้เป็นอาหารสัตว์ และให้ยืมเครื่องจักรกลการเกษตร (Motor Pool) ผ่านศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์และศูนย์เครือข่าย พร้อมถ่ายทอดความรู้ในการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีเกษตรกรมาใช้บริการแล้ว 4,878 ราย (ร้อยละ 64.18 ของเป้าหมาย 7,600 ราย) นอกจากนี้ ยังเปิดศูนย์บริการอาหารสัตว์ (Feed Center) 14 แห่ง โดยผลิตพืชอาหารสัตว์เพื่อให้เกษตรกรใช้เลี้ยงสัตว์ มีเกษตรกรมาใช้บริการแล้ว 993 ราย (ร้อยละ 70.93 ของเป้าหมาย 1,400 ราย)  

 

 

 

จากการลงพื้นที่ติดตามกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 74 ราย ใน 6 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา สระแก้ว และจันทบุรี เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 พบว่า หลังจากการดำเนินโครงการ เกษตรกรสามารถลดรายจ่ายด้านอาหารเพื่อบริโภคและลดรายจ่ายปัจจัยการผลิต เช่น เห็ดตะกร้า พืชผักสวนครัว ผลิตปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง

 

 

 

สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 1,124 บาท/ครัวเรือน/ปี  และสามารถลดค่าใช้จ่ายเครื่องจักรกลการเกษตรจากภาคเอกชน เปลี่ยนมาใช้บริการยืมเครื่องจักรกลตามโครงการฯ ทดแทน เพื่อจัดการฟางข้าวเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 7,425 บาท/ครัวเรือน/ปี ส่งผลให้ภาพรวม   ทั้ง 2 กิจกรรม เกษตรกรสามารถลดรายจ่ายได้ทั้งสิ้น 8,549 บาท/ครัวเรือน/ปี รวมถึงสามารถสร้างรายได้เสริม             จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อาทิ ผลิตกระถางต้นไม้จากฟางข้าวจำหน่ายในตลาดชุมชน ได้เฉลี่ย 720 บาท/ครัวเรือน/ปี

 

 

 

 

 

 

 

'สศก.'โอ่ สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร  คืบหน้าร้อยละ 85

ฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

'สศก.'โอ่ สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร  คืบหน้าร้อยละ 85

'สศก.'โอ่ สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร  คืบหน้าร้อยละ 85

โครงการ "สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร"  ที่มีเป้าหมาย เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการนําเศษวัสดุการเกษตรมาใช้ประโยชน์ สามารถลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

.

 

 

กล่าวได้ว่าภาพรวมโครงการนี้  เกษตรกรที่เข้าร่วม มีความพึงพอใจต่อโครงการ ในระดับมากที่สุดโดยเห็นว่า สามารถจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดค่าใช้จ่ายจากการจ้างเอกชนมาจัดการวัสดุเหลือใช้ จึงอยากให้มีการสนับสนุนจากโครงการฯ ต่อเนื่อง และต่อยอดจากกิจกรรมที่ทำอยู่เพื่อให้เกิดผลยิ่ง ๆ ขึ้นไป   อย่างไรก็ตามในส่วนของกิจกรรมอื่นๆ เช่น การจัดการแปลงเรียนรู้ฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยว โดยกรมการข้าว      และการจัดการวัสดุเหลือใช้โดยยึดแนวคิดระบบธุรกิจปิดวงจรและระบบการจัดการวัตถุดิบเหลือใช้สู่โรงงานแปรรูปเป็นต้นแบบโดยกรมวิชาการเกษตร ทาง สศก. มีแผนจะติดตามประเมินกิจกรรมโครงการฯ ในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2566 ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี และเชียงใหม่ ต่อไป
 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ