ข่าว

'นพพร ศุภพิพัฒน์' เปิดปูม เส้นทาง มหาเศรษฐีไทย สู่ ผู้ลี้ภัย คดี ม.112

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดเส้นทาง มหาเศรษฐีไทย 'นพพร ศุภพิพัฒน์' สู่ ผู้ลี้ภัย คดี ม.112 ก่อนชนะคดี โกงหุ้น โรงไฟฟ้า ได้ค่าชดใช้ 3 หมื่นล้าน

ภายหลังศาลอังกฤษ ตัดสินให้ “ณพ ณรงค์เดช” และพวกรวม 14 คน จ่ายค่าเสียหายรวมราว 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ กว่า 3 หมื่นล้านบาท ให้กับ “นพพร ศุภพิพัฒน์” ผู้ก่อตั้งและอดีต CEO ของบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) หลังถูกนายนพพรฟ้องในข้อหาสมคบกันชักจูงใจด้วยข้อมูลลวงให้ขายหุ้น WEH ปิดฉากข้อพิพาท ยาวนาน 9 ปี

 

 

 

 

 

นอกจากชื่อของ “ณพ ณรงค์เดช” จะปรากฎเป็นข่าวดังบนหน้าสื่อแล้ว ชื่อของ “นพพร ศุภพิพัฒน์” ก็ถูกจับตาด้วยเช่นกัน เพราะเขาตกเป็นผู้ลี้ภัย ในคดี ม.112 คมชัดลึก จะพาไปรู้จักเส้นทางเศรษฐีหนุ่ม ที่การันตีความร่ำรวยจากนิตยสารฟอร์บส์ ติดอับดับที่ 31 มหาเศรษฐีเมืองไทย ในปี 2557 

 

เปิดเส้นทาง “นพพร ศุภพิพัฒน์”

 

 

 

นพพร ศุภพิพัฒน์ มีชื่อเล่นว่า นิค เกิด 30 มี.ค. 2514 ปัจจุบันอายุ 52 ปี ถือเป็นนักธุรกิจหนุ่ม ที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2552 บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) ถูกก่อตั้งขึ้น ด้วยมือของ “นพพร ศุภพิพัฒน์” เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจด้านพลังงานลมรายแรก และเป็นรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ครองสัดส่วนมากกว่า 42% ของโควตาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในประเทศ

 

 

 

 

การประสบความสำเร็จของเขา ถูกการันตีความร่ำรวย จากนิตยสารฟอร์บส์ ที่เขาติดอับดับที่ 31 มหาเศรษฐีไทยในปี2557 มีสินทรัพย์ 26,000 ล้านบาท ด้วยอายุเพียง 43 ปีเท่านั้น

 

 

 

ธุรกิจในมือ “นพพร ศุภพิพัฒน์”

 

 

  • ปี 2548 นพพร ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก นายประเดช กิตติอิสรานนท์ อดีตวิศวกรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. และนายสวาสดิ์ ปุ้ยพันธวงศ์ อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในการริเริ่มบุกเบิกอุตสาหกรรมพลังงานลม นำมาเปิด บริษัท เขาค้อพลังงานลม จำกัด เป็นบริษัทในเครือของบริษัท ซัสเทนเอเบิล เอนเนอยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในฐานะผู้พัฒนาโครงการพลังงานลมแห่งแรกของประเทศไทย ตอนนั้นรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนพลังงานทางเลือก ทำให้ธุรกิจพลังงานลมของ นพพร เติบโต และประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
  • ปี 2551 บริษัท ซัสเทนเอเบิลฯ ประสบความสำเร็จ ได้รับอนุมัติเชื่อมโยงและรับซื้อไฟฟ้าจาก กฟผ.เป็นปริมาณ 60 เมกะวัตต์ เป็นแห่งแรก
  • ปี 2552 ขายหุ้นให้ บริษัท ราชบุรีพลังงาน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บมจ.ราชบุรีโฮลดิ้ง บริษัทลูกของ กฟผ. โดยครั้งแรกเข้ามาถือหุ้นร้อยละ 26 ของทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท เงิน 97.5 ล้านบาท ได้ไหลเข้ามาในบริษัท ซัสเทนเอเบิลฯ

นพพร ศุภพิพัฒน์

นอกจากนี้ เขายังได้จัดตั้ง บริษัท รีนิวเอเบิลเอนเนอร์ยี จำกัด เพื่อขยายโครงการไฟฟ้าพลังลมไปจังหวัดอื่น และก้าวไปสู่ความเป็นบริษัทมหาชนในนาม บริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี โฮลดิ้ง จำกัด กลายเป็นเจ้าของธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่สุดในภูมิภาคอาเซียน มีทุนจดทะเบียน 1,088 ล้านบาท มูลค่าสินทรัพย์รวมกว่า 50,000 ล้านบาท

 

 

 

แต่หลังจากนั้น ชีวิตก็ต้องพลิกผัน เมื่อ นพพร ศุภพิพัฒน์ ถูกออกหมายจับ โดยศาลทหาร ในวันที่ 1 ธ.ค. 2557 จากการขยายผลการจับกุมเครือข่ายญาติของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ที่มีพฤติกรรมแอบอ้างสถาบัน อุ้มทวงหนี้ หน่วงเหนี่ยวกักขัง และกรรโชกทรัพย์ เพื่อหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยเขาถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้จ้างวาน 3 พี่น้องตระกูล อัครพงศ์ปรีชา ขู่บังคับนายบัณฑิต โชติวิทยะกุล อดีตหุ้นส่วนธุรกิจ ให้ลดหนี้ให้ จาก 120 ล้านบาท เหลือ 20 ล้านบาท

 

 

 

การถูกหมายจับคดี ม.112 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง กรรมการบริษัทได้ร้องขอให้เขา ขายหุ้นบริษัทวินด์ที่ถือครอง เพื่อบริษัทจะได้ดำเนินการต่อ เพราะบริษัทมีธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นผู้สนับสนุนด้านการเงิน และเป็นที่รับรู้กันว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใหญ่ ระหว่างนี้ทางกรรมการอื่นๆ  ก็ได้ทาบทามกลุ่มทุนใหม่ เข้ามาซื้อหุ้นในส่วนของนพพร และตัวแทนกลุ่มทุนใหม่คือ “ณพ ณรงค์เดช”

 

    นพพร ศุภพิพัฒน์

 

 

ต้นเรื่องปมโกงหุ้นโรงไฟฟ้า

 

 

- เกิดจาก “นพพร ศุภพิพัฒน์” ไปกู้ยืมเงินนายบัณฑิต ผู้เป็นหุ้นส่วน แล้วไม่ใช้คืน นายบัณฑิตก็ฟ้องนายนพพรมูลหนี้ 120 ล้าน นายนพพรเลยจ้างวาน 3 พี่น้องอัครพงษ์ปรีชาไปข่มขู่ ให้ลดหนี้เหลือ 20 ล้านบาท โดยนายบัณฑิตให้การว่า นายนพพรมีการแอบอ้างเบื้องสูงในการข่มขู่ให้ลดหนี้  นายนพพรเลยโดนศาลทหารออกหมายจับ จึงต้องหนีคดี 112 ไปฝรั่งเศส

 

 

- นายนพพรถือหุ้นวินด์ฯ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมได้รับการสนับสนุนเงินกู้จาก ธ.เอสซีบี  ทางแบงค์ก็เกรงว่า เจ้าของวินด์มีปัญหาคดี 112 จะให้เงินกู้ต่อไปไม่ได้ ก็กดดันให้นายนพพรขายหุ้นวินด์ออกมา ณพ ณรงค์เดช น้องชายคนกลางของตระกูลณรงค์เดช จึงบอกทั้งพ่อ พี่และน้อง มาร่วมกันซื้อหุ้นจากนพพร แต่กดราคาต่ำๆ ตรงนี้มีเจ้าหน้าที่ของเอสซีบีเกี่ยวข้อง 2 คน โน้มน้าวให้นพพรขายหุ้นออกมา จากนั้น ได้มีการชำระเงินค่าหุ้นให้นายนพพรไปแล้วก้อนหนึ่ง คดีที่ตัดสินนี้ เป็นการฟ้องให้ชำระค่าหุ้นส่วนที่เหลือ

 

 

- ส่วนการที่ศาลอังกฤษ สามารถพิจารณาคดีที่โจทก์เป็นคนไทย และมีจำเลยเป็นชาวไทยและอังกฤษได้ เนื่องจาก จำเลยที่ 2 คือ นางเอมม่า ลูอิส คอลลินส์ (Emma Louise Collins) อดีตซีอีโอของ WEH มีสัญชาติอังกฤษ ซึ่งกฎหมายของอังกฤษ อนุญาตให้ศาลอังกฤษมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกิดนอกประเทศได้ และจำเลยอื่นๆ ในคดีนี้ ที่ไม่มีสัญชาติอังกฤษ ก็ไม่ปฏิเสธขอบเขตอำนาจของศาลอังกฤษ

 

 

 

การพิจารณาคดีนี้ ศาลอังกฤษนำกฎหมายไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง เบลิทซ์ และ หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (BVI) และกฎหมายล้มละลายของอังกฤษ (Insolvency Act 1986) มาประกอบการพิจารณาคดี

 

 

 

จนในที่สุด “นพพร ศุภพิพัฒน์” ก็ชนะคดีโกงหุ้นโรงไฟฟ้า ที่เป็นข้อพิพาทกับบุคคลในตระกูลณรงค์เดช ซึ่งกินเวลายาวนานกว่า 9 ปี 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ