ข่าว

กาง 3 ทาง 'แอชตัน อโศก' สรุปทุบทิ้งหรือไม่ ชาวบ้านลั่นไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กาง 3 แนวทาง 'แอชตัน อโศก' สรุปต้องทุบทิ้งทั้งหมดหรือไม่ กทม. ยื่นแนวทางให้ปรับปรุงแก้ไข ด้านชาวบ้านลั่นหากต้องการทางเข้า-ออก ต้องมาคุยกันก่อน ตอนนี้ไม่มีปัญหาเรื่องเงิน

ปัญหาโครงการ "แอชตัน อโศก" ที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้เผิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง ตามที่มีการร้องเรียนศาลปกครองสั่งเพิกถอนใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต ที่ออกให้แก่บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด  ตามที่ สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน พร้อมด้วยชาวบ้านในพื้นที่ถนนสุขุมวิท ซอย 19 แยก 2 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร (กทม.) รวม 16 ราย ยื่นฟ้อง ผอ.สำนักงานเขตวัฒนา ผอ.สำนักการโยธา กทม. ผู้ว่าการ กทม. ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ คณะกรรมการผู้ชาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยมีบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด และบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด เป็นผู้ร้องสอด

ล่าสุด นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า สำหรับประเด็นคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดี "แอชตัน อโศก" ที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างนั้น สำนักการโยธา กรุงเทพมหานครจะมีหนังสือแจ้ง สำนักงานเขตวัฒนา พิจารณาออกคำสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคาร โดยใช้อำนาจตามมาตรา 40 มาตรา 41  และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตามการเพิกถอนใบรับแจ้งการก่อสร้างดังกล่าว ไม่ได้หมายความว่าอาคารชุด "แอชตัน อโศก" จะต้องมีการรื้อถอนอาคาร 

 

บริษัทผู้เป็นเจ้าของโครงการ สามารถยื่นขอใบแจ้งก่อสร้างใหม่ได้ที่สำนักการโยธา​ กรุงเทพมหานคร โดยบริษัทจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามที่ศาลสั่ง ซึ่งก็คือเพิ่มทางเข้า-ออกโครงการให้มีความกว้างของถนน 12 เมตร และอยู่ติดกับถนนสาธารณะที่มีความกว้าง 18 เมตร ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายควบคุมอาคารและกฎหมายผังเมืองกำหนด หากบริษัทเจ้าของโครงการสามารถปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางเข้า-ออก แล้วเสร็จก็สามารถยื่นขอใบแจ้งก่อสร้างได้

 

 

"สำหรับกรณีนี้ขอเวลาให้ทีมกฎหมายของกรุงเทพมหานครพิจารณารายละเอียด ตามคำพิพากษาอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากมีผลกระทบกับพี่น้องประชาชนอย่างสูง" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวในตอนท้าย 

 

 

อย่างไรก็ตามนักข่าว คมชัดลึก ได้ลงพื้นที่สำรวจบริเวณโดยรอบคอนโด "แอซตัน อโศก" ภายในซอยสุขุมวิท 19  รวมทั้งได้มีการสอบถามความเห็นประชาชนที่อศัยในบริเวณใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากกาก่อสร้างคอนโด โดยประชาชนที่อยู่อาศัยตอนก่อสร้างคอนโดได้รับผลกระทบทั้งชุมชน หากวันนี้เจ้าของโครงการต้องหาทางเข้า-ออกคอนโดนใหม่ก็ต้องมาคุยกับคนในชุมชน จะซื้อจะขายยังไงต้องผ่านการพูดคุยกันก่อน ไม่ใช่คุยบางคน บางหลังต้องคุยให้ครบทั้งชุมชน

 

 

แต่อย่างไรก็ตามจากการลงพื้นที่พบว่า ส่วนใหญ่บ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในซอยสุขุมวิท 19  เป็นทาวน์เฮาซึ่งมีการปล่อยให้เช่าทำกิจการ ส่วนเจ้าของจริงๆ ได้ย้ายออกจากพื้นที่ไปแล้วบางส่วนจากกประเมินพบว่าประชาชนที่อาศัยในย่านนี้ค่อยข้างมีฐานะ หากมีการเจรจาขอซื้อพื้นที่เพื่อทำทางเข้า-ออก ให้เป็นไปตามพ.ร.บ.อาคาร โดยจะต้องมีถนนกว้าง 12 เมตรขึ้นไปอาจจะเป็นที่ "แอซตัน อโศก" ดำเนินการได้ยาก 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ