ข่าว

สรุปปม 'หุ้น STARK' ชนินทร์ เย็นสุดใจ จากมือการเงิน STARK กลายเป็นผู้ทำลาย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สรุปปม 'หุ้น STARK' ทำความรู้จัก 'ชนินทร์ เย็นสุดใจ' จากมือการเงิน STARK ขุนพลคู่ใจ 'วนรัชน์ ตั้งคารวคุณ' กลายเป็นผู้ทำลาย

เป็นข่าวใหญ่สำหรับตลาดหุ้นไทยอีกครั้งในปี 2566 หลังกลุ่มผู้เสียหาย กรณีลงทุน “หุ้น STARK” กับบริษัท สตาร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ  STARK ร้อง ปอศ. จี้ให้ดำเนินคดีกับผู้บริหาร หลังพบมีการตบแต่งบัญชี ทำเสียหายกว่า 9,000 ล้านบาท

 

 

 

 

โดยทาง ดีเอสไอ ได้มีการออกหมายเรียกผู้ต้องหา เข้ารับทราบข้อกล่าวหา 2 ราย คือ ชนินทร์ เย็นสุดใจ อดีตประธานกรรมการบริษัท ที่ล่าสุด มีข่าวว่า หลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว และนายศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ อดีตกรรมการ โดยให้เข้ารับทราบข้อหาวันนี้ ( 7 ก.ค.2566) คมชัดลึก สรุปปม “หุ้น STARK” จุดเริ่มต้นเป็นมาอย่างไร และ “ชนินทร์ เย็นสุดใจ” หรือ ชนินทร์ STARK เป็นใครมาจากไหน

 

ชนินทร์ เย็นสุดใจ

จุดเริ่มต้น หุ้น STARK

 

 

 

1. บมจ.สตาร์ค (STARK) เริ่มเป็นที่สนใจของบรรดานักลงทุนในตลาดหุ้นไทย หลังจากการเข้าสู่ตลาดหุ้นโดยทางอ้อม ด้วยการให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว คือ บมจ.สยามอินเตอร์ มัลติมีเดีย ซึ่งอยู่ในกลุ่มธุรกิจสิ่งพิมพ์ เข้าไปซื้อกิจการในปี 2562

 

 

2. หลังจากนั้น บริษัทได้เปลี่ยนชื่อบริษัท และวัตถุประสงค์การจดทะเบียนธุรกิจมาเป็นชื่อ บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชัน เพื่อทำธุรกิจผลิตสายไฟฟ้า และสายเคเบิล เพื่อให้บริการภาคอุตสาหกรรม ด้วยมูลค่าทรัพย์สินเกือบ 40,000 ล้านบาท

 

 

3. เริ่มต้นยังสวยหรู หลังจากเข้าตลาดหุ้น บมจ.สตาร์ค สร้างผลกำไรทางธุรกิจ จนเป็นที่จับตาและดึงดูดนักลงทุนรายใหญ่และกองทุนทั้งในและต่างประเทศ

 

 

4. ในปี 2562 มีกำไร 124 ล้านบาท ตามมาด้วยปี 2563 กำไรก้าวกระโดดไปอยู่ที่ 1,600 ล้านบาท ในปี 2564 กำไรพุ่งทยานไปที่ 2,780 ล้านบาท ขณะที่ผลประกอบการในรอบ 3 ไตรมาสแรกของปี 2565 STARK มีรายได้สูงถึง 21,800 ล้านบาท แต่นี่เป็นตัวเลขผลประกอบการ ก่อนมีการตรวจพบความผิดปกติในทางบัญชี

 

 

5. ต้นปี 2566 เริ่มมีข้อพิรุธเกิดขึ้น เมื่อ บมจ.สตาร์ค แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ (ต.ล.ท.) ขอเลื่อนส่งงบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะกิจการปี 2565 ออกไป โดยจะนำส่งภายในวันที่ 31 มี.ค.

 

หุ้น STARK

6. ต.ล.ท.ขึ้นเครื่องหมาย SP หรือ ระงับการซื้อขายหุ้นชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน ก่อนที่ในเวลาต่อมา ผู้บริหารบริษัทชุดเดิมทยอยลาออก อาทิ ชนินทร์ เย็นสุดใจ ประธานกรรมการบริษัท พร้อมกรรมการคนอื่นรวม 7 ราย ขณะที่การส่งงบการเงิน ถูกเลื่อนมาแล้วเป็นครั้งที่ 3 และสิ้นสุดการส่งงบวันสุดท้ายในวันที่ 16 มิ.ย. ที่ผ่านมา

 

 

 

 

7. มรสุมเริ่มรุมเร้า เมื่อ แจ้ง ต.ล.ท. ว่า บริษัทถูกยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นมูลค่ากว่า 2.2 หมื่นล้านบาท โดยสองบริษัทในเยอรมนี หลังจากบริษัทล้มดีลซื้อขายกิจการไป ในวันเดียวกัน สภาผู้บริโภค พร้อมกับกลุ่มผู้เสียหาย “หุ้นกู้ STARK” ได้เข้ายื่นหนังสือเรียกร้องต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้เร่งตรวจสอบและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

 

กลุ่มผู้เสียหายหุ้น STARK

 

8. ก.ล.ต. กล่าวโทษ 10 บุคคล

 

  1. บริษัท STARK
  2. นายชนินทร์ เย็นสุดใจ
  3. นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ
  4. นายชินวัฒน์ อัศวโภคี
  5. นายศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ
  6. นายกิตติศักดิ์ จิตต์ประเสริฐงาม
  7. บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (PDITL)
  8. บริษัท ไทย เคเบิ้ล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (TCI)
  9. บริษัท อดิสรสงขลา จำกัด
  10. บริษัท เอเชีย แปซิฟิก ดริลลิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

 

 

9. ดีเอสไอ รับคดี “หุ้น STARK” เป็นคดีพิเศษ พร้อมออกหมายเรียกผู้ต้องหา 2 ราย ได้แก่ นายชนินทร์ เย็นสุดใจ และ ศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ อดีตกรรมการ หลังพบว่า ทั้งคู่มีพฤติการณ์ตกแต่งบัญชี และได้รับผลประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว

 


 

10. ดีเอสไอ ออกหมายจับ "ชนินทร์ เย็นสุดใจ” หลังเบี้ยวเข้ารับทราบข้อกล่าวหา และให้ข้อมูลเพิ่มเติม กรณีหุ้น STARK แต่พบว่าได้หลบหนีออกประเทศแล้ว  

 

ชนินทร์ เย็นสุดใจ

 

ชนินทร์ เย็นสุดใจ “ชนินทร์ STARK” เป็นใคร

 

 

11. “ชนินทร์” เกิดวันที่ 24 ก.ย.2502 ปัจจุบันอายุ 64 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และปริญญาโท บริหารธุรกิจ Worcester Polytechnic Institute Worcester, MASS, USA

 

 

 

12. “ชนินทร์ เย็นสุดใจ” ถือเป็นนักแก้หนี้ให้หลายกิจการขนาดใหญ่ ผลงานที่โดดเด่นเตะตาจนทำให้มีชื่อเสียงในวงกว้างในตลาดทุน คือ การฟื้นฟูกิจการธุรกิจในกลุ่มของ “วิชัย ทองแตง” ตั้งแต่ปี 2546

 

 

 

13. ปี 2546 “ชนินทร์” เข้ามาเป็น กรรมการบริษัท ไมโครเนติค จำกัด (มหาชน) และ ประธานกรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน) จากนั้น เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในปี 2554

 

 

 

14. ต่อมา “ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ” เจ้าของ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TOA ได้ดึงตัวมาเป็น ประธานกรรมการ บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SWC เป็นหนึ่งในธุรกิจภายใต้ บริษัท ทีโอเอ กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (TOAGH)

 

 

 

15. ปี 2562 “ชนินทร์ เย็นสุดใจ” ได้รับความไว้วางใจจาก “ตระกูลตั้งคารวคุณ” ให้เข้ามาจัดโครงสร้างทางการเงินให้กับ STARK ในตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท และถูกยกให้เป็นมือขวาทางการเงิน หนึ่งในขุนพลคู่ใจของ “วนรัชต์ ตั้งคารวคุณ”  ผู้ถือหุ้นใหญ่ STARK ก่อนสร้างเรื่องฉาว สะเทือนวงการตลาดทุน

 

 

 

 

16. ส่งผลให้เมื่อวันที่ 18 เม.ย.2566 ชนินทร์ ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท STARK พร้อมกรรมการคนอื่นๆ รวม 7 คน โดยอ้างว่า ติดภารกิจส่วนตัว จึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถ ก่อนถูกออกหมายจับในเวลาต่อมา 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ