ข่าว

ด่วน 'ยื่นภาษีออนไลน์ 2566' วันสุดท้าย 10 เม.ย. ยื่นได้เลยที่นี่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ยื่นภาษีออนไลน์ 2566' วันสุดท้าย 10 เม.ย. ยื่นภาษี ไม่ทันทำอย่างไร พร้อมเช็ก 3 สาเหตุ ขอคืนภาษี ทำไมยังไม่ได้เงิน อ่านที่นี่

เตือนผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา “ยื่นภาษีออนไลน์ 2566” (รอบปี 2565) วันสุดท้าย 10 เม.ย.2566 นี้ ขณะที่ กรมสรรพากร อัปเดต ณ 30 มี.ค.2566 มีการคืนภาษีเข้าหมุนเวียนในเศรษฐกิจแล้ว 24,300 ล้านบาท

 

 

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่กรมสรรพกร กระทรวงการคลัง ได้เปิดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพื่อยื่นภาษี 2566 (ปีภาษี 2565) ได้ 2 ช่องทาง ซึ่งช่องทางแรกคือ การยื่นแบบกระดาษ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทั่วประเทศ ส่วนนี้ได้สิ้นสุดการยื่น เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2566 ที่ผ่านมา

 

 

สำหรับประชาชน ที่ยังไม่ได้ยื่นภาษี อาจด้วยการติดภารกิจหรือหลงลืม ยังสามารถยื่นได้ผ่านช่องทางที่ 2 คือ ผ่านระบบออนไลน์ หรือ E-Filing ซึ่งสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 10 เม.ย.2566 นี้ 

 

วิธีลงทะเบียน ยื่นภาษีออนไลน์

 

  • เปิดเว็บไซต์ของกรมสรรพากร เพื่อสมัครสมาชิก คลิกที่นี่
  • เลือก ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • กรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ วันเดือนปีเกิด และเลขหลังบัตรประชาชน จากนั้นกด ตรวจสอบ
  • กรอกข้อมูลที่อยู่ พร้อมเลือกวิธีที่จะใช้ยืนยันตัวตน สามารถเลือกได้ระหว่างโทรศัพท์มือถือและอีเมล
  • หากเลือกยืนยันตัวตนผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือ ให้กรอกรหัส OTP ที่ได้รับภายใน 5 นาที
  • กำหนดคำถามสำหรับใช้ในการยืนยัน กรณีหากลืมรหัสผ่าน
  • กดยืนยันการลงทะเบียน

 

ทั้งนี้ กรณีผู้ที่ยื่นภาษีออนไลน์ 2566 ต้องชำระภาษีเพิ่มเติม จากที่มีการหัก ณ ที่จ่ายไว้ หากเป็นผู้ที่ใช้แอปพลิเคชันเป๋าตังอยู่ สามารถชำระภาษี ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ ดังนี้

 

  • เปิดฟังก์ชันเป๋าตังเปย์
  • เข้าไปที่เมนูจ่ายบิล
  • เลือกกรมสรรพกร
  • เลือกว่าจะชำระภาษีแบบสแกน QR Code หรือ แบบ Key-in ตามที่ผู้ยื่นสะดวก

ยื่นภาษีออนไลน์ 2566

สำหรับ การยื่นภาษีออนไลน์ 2566 ตามที่กรมสรรพากร กำหนดไว้ภายในวันที่ 10 เม.ย.2566 ซึ่งหากใครยื่นภาษีออนไลน์ล่าช้า เกินที่กรมสรรพากรกำหนด จะมีโทษปรับดังนี้

 

1. บุคคลธรรมดาที่ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ตามที่กรมสรรพากรกำหนดของทุกปี หรือยื่นแบบฯ เกินกำหนด

  • ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากรแต่สามารถขอลดค่าปรับได้

 

2. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ

  • หากไม่ได้ชำระเงินภายในวันที่กรมสรรพากรกำหนดของทุกปี ถือว่าไม่ได้ยื่นแบบ ต้องไปยื่นแบบ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1

 

3. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เกินกำหนดเวลา

  • กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1
  • กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระค่าปรับตามข้อ 1 เพียงอย่างเดียว

 

4. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพิ่มเติมภายหลังกำหนดเวลาการยื่นแบบ

  • กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ
  • กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มและค่าปรับ

 

สำหรับผู้ที่ยื่นภาษีไม่ทันเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด สามารถยื่นภาษีย้อนหลังได้ด้วยตนเอง ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา แต่จะต้องรับบทลงโทษ โดยการเสียค่าปรับ และต้องเตรียมเอกสารประกอบการยื่นแบบภาษี ดังนี้

 

  • แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90
  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี เช่น หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต หนังสือรับรองการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฯลฯ
  • เอกสารยืนยันสิทธิค่าลดหย่อนบิดามารดา (ใบ ล.ย. 03)

 

 

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กรมสรรพากรได้รายงานถึงข้อมูลการคืนภาษี ภ.ง.ด.90/91 ปีภาษี 2565 ณ วันที่ 30 มี.ค.2566 มีผู้ยื่นแบบทั้งสิ้น 8,808,276 แบบ เพิ่มขึ้น 2,481,928 แบบ หรือเพิ่มร้อยละ 39.23 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีภาษี 2564 ดำเนินการการคืนภาษีแล้ว 2,651,192 แบบ เพิ่มขึ้น 337,537 แบบ หรือเพิ่มร้อยละ 14.59 คิดเป็นเงินที่กรมสรรพกรคืนแก่ประชาชน ซึ่งจะกลับเข้าไปหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจทั้งหมด 24,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,497 ล้านบาท หรือเพิ่มร้อยละ 16.81

 

สำหรับผู้ที่ยื่นขอคืนภาษีแล้ว แต่ยังไม่ได้รับคืนนั้น กรมสรรพากร ระบุถึง 2 สาเหตุสำคัญ คือ ยังไม่ได้นำส่งเอกสารหลักฐาน หรือส่งเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน อีกกรณี คือ กรมสรรพากรตรวจสอบพบว่า มีความเสี่ยงขอคืนภาษีเป็นเท็จ

 

ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร 1161

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ