ชีวิตดีสังคมดี

ส่องเมกะโปรเจกต์ 'กระทรวงคมนาคม' เงินลงทุนมหาศาล 7 แสนล้าน จ่อชง ครม. ถี่ยิบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส่องเมกะโปรเจกต์ 'กระทรวงคมนาคม' เม็ดเงินลงทุนมหาศาล 7 แสนล้านบาท สำหรับก่อสร้างรถไฟฟ้าทั่วประเทศ จ่อชงเข้า ครม. ก่อนยุบสภาอีกหลายโครงการ

จับตาเมกะโปรเจกต์ของ "กระทรวงคมนาคม" ซึ่งยังมีอีกหลาย 10 โครงการที่เตรียมจะเสนอให้ คณะรัฐมนตรี เห็นชอบ โดยแต่ละโครงการนั้น เรียกว่าเป็นโครงการที่มีการใช้งบประมาณตั้งแต่พันล้านบาทไปจนถึงแสนล้าน เรียกได้เป็นอภิมหาโครงการการก่อสร้างระบบขนส่งทางรางทั่วประเทศ  

 

 

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟระบบต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ กว่า 10 โครงการ รวมงบประมาณที่จะต้องใช้สูงถึง 7 แสนล้านบาท ทั้งนี้หากย้อนไปดูงบประมาณประจำปี 2566   "กระทรวงคมนาคม" ได้งบประมาณด้านคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด 180,502 ล้านบาท  นอกจากนี้ยังมีงบประมาณผูกพันธ์ข้ามปีอีก ที่ "กระทรวงคมนาคม" ได้ขออนุมัตสำหรับโครงการทางด่วนมอเตอร์เวย์ M6(บางปะอิน-โคราช) อีกกกว่า 4,970.71 ล้านบาท โดยกระทรวงคมนาคมถือว่าเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณสูงเป็นอันดับที่ 5  

อย่างไรก็ตามหากย้อนกลับไปดูงบประมาณในการก่อสร้างเมกะโปรเจ็กของ "กระทรวงคมนาคม" ในปีที่ผ่านมา ๆ พบว่าเป็นโครงการที่มีการอนุมัติในยุค คสช. วงเงินดำเนินการทั้งหมด จำนวน 7 แสนล้านบาท โดยแต่ละโครงการ

 

-รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ และการเดินรถทั้งเส้นทางช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM


 

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

-โครงการรถไฟไทย-จีน  ระยะที่2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ระยะทางรวม 357 กม.   วงเงิน 300,000 ล้านบาท ได้ออกแบบงานโยธาแล้วเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม(EIA)  ส่วนการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย-สปป.ลาว-จีน ด้วยสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ได้มีการประสานความร่วมมือในรายละเอียดกับทาง สปป.ลาวโดยต่อเนื่อง  ส่วนโครงการระยะที่1 ช่วงกรุงเทพฯ -นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กม. กระทรวงคมนาคมได้รายงานถึงความคืบหน้าว่าโครงการดำเนินการไปตามแผนงาน 

 

 

โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (ตลิ่งชัน-ศาลายา) 14.8 กิโลเมตร วงเงิน 10,670 ล้านบาท แบ่งเป็น

-สายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยายสายตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. มี 6 สถานี เงินลงทุน 10,202.18 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. มี 3 สถานี 6,645.03 ล้านบาท

-สายสีแดงเข้ม ส่วนต่อขยายสายเหนือ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. มี 4 สถานี เงินลงทุน 6,570.40 ล้านบาท

ตลิ่งชัน-ศาลายา) 14.8 กิโลเมตร วงเงิน 10,670 ล้านบาท รวมถึงช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงิน 4,694 ล้านบาท

-Missing Link ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก-หัวลำโพง  ระยะทาง 25.9 กม. มี 9 สถานี วงเงินลงทุน 44,157.76 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับแบบสถานีราชวิถี

 

 

-โครงการรถไฟทางคู่ ระยะ 2 แบ่งออกเป็นโซนภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,483 กิโลเมตร วงเงิน 275,301 ล้านบาทได้แก่ 1.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย  2.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย  3.ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 4.ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 5.เด่นชัย-เชียงใหม่ 6.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี  7. ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซา  

 

โดยคมนาคมจะเสนอเข้า ครม. 2 โครงการได้แก่  1.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย  29,748 ล้านบาท 2.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย 62,800 ล้านบาท  3.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 37,500 ล้านบาท 

 

รถไฟทางคู่ระยะที่2

 

 

นอกจากนี้ยังมีโครงการโอนสิทธิบริหาร 3 สนามบิน ได้แก่  สนามบินอุดรธานี, บุรีรัมย์ กระบี่ อยู่ระหว่างทำรายละเอียดทางการเงินตามข้อเสนอแนะของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก่อนเสนอครม.ต่อไป 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ