ข่าว

ศาลปกครองยกคำร้อง 'สภาองค์กรผู้บริโภค' ควบรวม ทรู - ดีแทค ฉลุย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทรู - ดีแทค ควบรวมฉลุย ' ศาลปกครอง' ยกคำร้องสภาองค์กรผู้บริโภค ประธานกสทช.ออกเสียงเพิ่ม สามารถทำได้ไม่ขัดระเบียบ

 

การควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทคเดินหน้าต่อไปได้แล้ว  หลังจาก ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ที่สภาองค์กรของผู้บริโภค ยื่นคำร้อง ขอให้ศาลเพิกถอนมติ กสทช.  รับทราบ การรวมธุรกิจวานนี้  โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ยังไม่มีเหตุไม่ชอบด้วยกฏหมาย จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ศาลจะมีคำสั่งทุเลาการบังคับคำสั่งทางปกครองได้ตามข้อ 72 วรรค 3 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2543

 

การพิจารณาคดีมีรายละเอียดใน 4 ประเด็นประกอบด้วย

ประเด็นที่ 1  การที่ประธาน กสทช. ออกเสียงเพิ่มอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาดในการลงมติพิพาท เป็นการกระทำที่ไม่ขัดต่อข้อ 41 วรรคหนึ่ง (2) ของระเบียบการประชุมฯ

ประเด็นที่ 2  การที่ กสทช. มีมติรับทราบการรวมธุรกิจ โดยกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและประกาศการรวมธุรกิจฯ 2561 แล้ว ในชั้นนี้ยังไม่มีเหตุความน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ประเด็นที่ 3 :ผลกระทบของการรวมธุรกิจมีสาระสำคัญอยู่ที่ข้อ 8 ของประกาศผูกขาดฯ 2549 เป็นกรณีการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันโดยการเข้าซื้อหรือถือหุ้น หรือการเข้าซื้อสินทรัพย์ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับการรวมธุรกิจ ซึ่งข้อ 3 และข้อ 5 ของประกาศการรวมธุรกิจฯ 2561 แบ่งการรวมธุรกิจเป็น 3 แบบ ได้แก่ การรวมธุรกิจโดยการรวมกันแล้วเกิดเป็นนิติบุคคลใหม่ การรวมธุรกิจโดยการเข้าซื้อหุ้นหรือซื้อทรัพย์สินของผู้ประกอบการรายอื่น   ไม่อาจแปลความว่าการรวมธุรกิจทุกกรณีจะต้องได้รับอนุญาตจาก กสทช. 

ไม่ว่ากรณีจะเป็นเช่นใดก็ตาม ประกาศข้างต้นมิได้ห้ามหรือปิดกั้นมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมดำเนินการรวมธุรกิจหรือการควบรวมธุรกิจประเภทเดียวกันกับผู้รับใบอนุญาตรายอื่นอย่างสิ้นเชิง หากได้ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขและมาตรการที่ กสทช. กำหนด

ประเด็นที่ 4  คดีนี้เป็นการฟ้องขอเพิกถอนมติรับทราบ ผู้ฟ้องคดีทั้งห้ามีสิทธิขอให้ศาลปกครองสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง หรือมติรับทราบเท่านั้น สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. / คณะกรรมการ ก.ล.ต. และนายทะเบียนบริษัทมหาชนฯ มิได้เป็นคู่กรณีในคดีนี้ และมิใช่คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจควบคุมกำกับดูแลตามพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรฯ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะศาลไม่อาจรับไว้พิจารณาตามคำขอได้ตามข้อ 70 ของระเบียบที่ประชุมใหญ่ฯ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ