ข่าว

"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" รอบใหม่ เปิดสูตรคำนวณรายได้ครอบครัว ก่อนลงทะเบียน

07 ก.ย. 2565

"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" รอบใหม่ เปิดสูตรคำนวณรายได้ครอบครัว ต้องนำรายได้ส่วนไหน รายได้ของใครมาคำนวณบ้าง เช็ครายละเอียด ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 5 กันยายน นี้

เกาะติดโครงการ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" รอบใหม่ ปี 2556 โดยจะเริ่มเปิดลงทะเบียนในวันที่ 5 กันยายน-19 ตุลาคม 2565 ตามหลักเกณฑ์ใหม่ เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น  โดยประชาชนผู้มีรายได้น้อย สามารถลงทะเบียน  "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" รอบใหม่ ได้ทั้งทางออนไลน์ และ ออฟไลน์ ซึ่งผู้ที่จะลงทะเบียน "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" นั้น จะต้องมีคุณสมบัติตามที่เกณฑ์ใหม่กำหนด โดยเฉพาะหลักเกณทฑ์ที่สำคัญอย่างเช่น การ คำนวณรายได้ครอบครัว 

ตามเงื่อนไขใหม่ที่กำหนด ให้ผู้ถือ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ต้องมีรายได้เฉลี่ยของครอบครัวไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และ ต้องมีทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยต่อครอบครัวไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง" (เดือนมกราคม-ธันวาคม 2564) หากครอบครัวไหนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนเกิน 100,000 บาทต่อปี ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ในปี 2564 ก็จะไม่สามารถลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 ได้ 

ส่วนหารคำนวณ ทรัพย์สินทางการเงิน หากครอบครัวไหนมีรายได้น้อย เฉลี่ยทั้งบ้านไม่เกิน

100,000 บาทต่อคนต่อปี ก็จริง แต่หากเคยมีเงินฝาก สลาก หรือพันธบัตร เฉลี่ยต่อคนเกิน

100,000 บาท จะไม่ได้รับสิทธิ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" เหมือนกัน (กรณีเปิดบัญชีร่วมกับผู้อื่นจะต้องนำเงินในบัญชีมาหารตามจำนวนบุคคลที่เปิดบัญชีร่วมกัน)

โดย สมาชิกในครอบครัว หมายถึง สามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนสมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ (นับถึงวันที่ปิดรับลงทะเบียน) แต่ไม่รวมบุตรบุญธรรม โดยนับเฉพาะที่ยังมีชีวิตอยู่

วิธีคำนวณรายได้ และทรัพย์สินเฉลี่ยต่อครอบครัว สำหรับการลงทะเบียน "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" มีรายละเอียด เงื่อนไข พร้อมทั้ง สูตรการคำนวณรายได้ ดังนี้  

 

  • ถ้าได้ผลลัพธ์มากกว่า 100,000 บาท : ทุกคนในครอบครัวจะไม่ได้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
  • ถ้าได้ผลลัพธ์ไม่เกิน 100,000 บาท : สมาชิกในครอบครัวที่ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จะได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนคนที่มีรายได้เกิน 100,000 บาทต่อปี จะไม่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ


ตัวอย่างการคำนวณรายได้ครอบครัว  "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ"  รอบใหม่ 2565 

ตัวอย่างที่ 1
-สามี-ภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และไม่มีบุตร ดังนั้น
-สามี ถือว่ามีสมาชิกในครอบครัว 1 คน ไม่ต้องคำนวณรายได้เฉลี่ยกับภรรยา หากมีรายได้และทรัพย์สินไม่เกิน 100,000 บาท ก็มีสิทธิในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- ภรรยา ถือว่ามีสมาชิกในครอบครัว 1 คน ไม่ต้องคำนวณรายได้เฉลี่ยกับสามี หากมีรายได้และทรัพย์สินไม่เกิน 100,000 บาท ก็มีสิทธิในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ตัวอย่างที่ 2
-สามี-ภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และมีบุตร 1 คน อายุ 17 ปี โดยไม่มีชื่อบิดาในใบแจ้งเกิดของบุตร ดังนั้น
- สามี ถือว่ามีสมาชิกในครอบครัว 1 คน ไม่ต้องคำนวณรายได้เฉลี่ยกับภรรยาและบุตร
- ภรรยาและบุตร ถือว่ามีสมาชิกในครอบครัวรวม 2 คน ต้องนำรายได้ของภรรยาและบุตรมาคำนวณเฉลี่ยกัน แต่ไม่ต้องนำรายได้ของสามีมาคิด เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามี

ตัวอย่างการคำนวณ
- สามี มีรายได้ในปี 2564 จำนวน 90,000 บาท
- ภรรยา มีรายได้ในปี 2564 จำนวน 190,000 บาท
- บุตร อายุ 17 ปี มีรายได้ในปี 2564 จำนวน 50,000 บาท

ดังนั้น สามีที่มีรายได้ 90,000 บาท ถือว่าผ่านเกณฑ์สิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ไม่ต้องนำเงินไปรวมกับภรรยาและบุตร) ในขณะที่ภรรยาและบุตรจะมีรายได้รวมกัน 240,000 บาท หาร 2 คน เท่ากับมีรายได้เฉลี่ย 120,000 บาท จึงไม่ได้สิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ตัวอย่างที่ 3
สามี-ภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และมีบุตร 1 คน อายุ 15 ปี โดยมีชื่อบิดาในใบแจ้งเกิดของบุตร ดังนั้น
- สามีและบุตร ถือว่ามีสมาชิกในครอบครัวรวม 2 คน ต้องนำรายได้มารวมกัน แต่ไม่ต้องนำรายได้ของภรรยามารวม
- ภรรยาและบุตร ถือว่ามีสมาชิกในครอบครัวรวม 2 คน ต้องนำรายได้มารวมกัน แต่ไม่ต้องนำรายได้ของสามีมารวม

ตัวอย่างการคำนวณ
- สามี มีรายได้ในปี 2564 จำนวน 90,000 บาท
- ภรรยา มีรายได้ในปี 2564 จำนวน 210,000 บาท
- บุตร อายุ 15 ปี มีรายได้ในปี 2564 จำนวน 30,000 บาท
หมายความว่า 
- สามีและบุตรมีรายได้รวม 90,000 + 30,000 = 120,000 บาท / 2 จะมีรายได้เฉลี่ย 60,000 บาท สามีจึงผ่านเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนบุตรยังลงทะเบียนไม่ได้ เพราะอายุยังไม่ถึง
- ภรรยาและบุตรมีรายได้รวม 210,000 + 30,000 = 240,000 บาท / 2 จะมีรายได้เฉลี่ย 120,000 บาท ภรรยาจึงไม่ผ่านเกณฑ์ เพราะมีรายได้เกินที่กำหนด