ข่าว

ด่วน..BTS ยื่น"โนติส"ทวงหนี้กทม. โครงการ รถไฟฟ้าสายสีเขียว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บริษัท บีทีเอส มีหนังสือถึงกรุงเทพมหานคร ขอให้ชำระค่าจ้างเดินรถและค่าซื้อระบบการเดินรถ(ไฟฟ้าและเครื่องกล)พร้อมติดตั้ง ของโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว ส่วนต่อขยาย

เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2564 รายงานข่าวแจงว่า บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) Bangkok Mass Transit System Public "บีทีเอส" มีหนังสือถึงกรุงเทพมหานคร เรื่องขอให้ชำระค่าจ้างเดินรถและค่าซื้อระบบการเดินรถ(ไฟฟ้าและเครื่องกล)พร้อมติดตั้ง ของโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว ส่วนต่อขยาย ตามที่ระบุข้อความ ดังนี้

ตามที่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) (“บริษัทฯ") ได้ทวงถามให้ บริษัท กรุงเทพธนาคม จํากัด (“กรุงเทพธนาคม") ชําระหนี้ในการให้บริการเดินรถและซ่อมบํารุง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 คือ ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และ ส่วนต่อขยายที่ 2 คือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ (“โครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียวส่วนต่อขยาย”) ซึ่งมีจํานวนรวมกันทั้งสิ้น 8,899,338,642.45 บาท (แปดพันแปดร้อยเก้าสิบ เก้าล้านสามแสนสามหมื่นแปดพันหกร้อยสี่สิบสองบาทสี่สิบห้าสตางค์) (ตามหนังสือที่อ้างถึง 1) ซึ่ง กรุงเทพธนาคมได้มีหนังสือยอมรับสภาพหนี้ตามที่บริษัทฯ เรียกร้อง แต่กลับไม่มีข้อเสนอใดๆ ที่จะทํา ให้บริษัทฯ มีความมั่นใจได้เลยว่า บริษัทฯ จะได้รับชําระหนี้ที่ค้างชําระอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตจาก กรุงเทพธนาคมหรือกรุงเทพมหานคร (กทม.”) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น/เจ้าของกรุงเทพธนาคม) ทั้งจํานวนหรือ ทยอยชําระภายใต้กําหนดเวลาใดและด้วยเงื่อนไขเช่นใด (ตามหนังสือที่อ้างถึง 2) บริษัทฯ เชื่อว่า ทั้ง กรุงเทพธนาคม และ กทม. ต่างตระหนักเป็นอย่างดีมาระยะหนึ่งแล้วว่า หลักการของโครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ให้ กรุงเทพธนาคม และ กทม. เป็นผู้แบกรับความเสี่ยงในผลประกอบการนับ แต่เริ่มต้นเปิดให้บริการ การเปิดให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายในรูปแบบ ปัจจุบัน ได้อาศัยเพียงการเรียกเก็บค่าโดยสารจากประชาชนในระดับประมาณ 15 บาทสําหรับการใช้ บริการตลอดส่วนต่อขยายที่ 1 และไม่เรียกเก็บค่าโดยสารจากประชาชนสําหรับการใช้บริการส่วนต่อ ขยายที่ 2 โดยไม่มีเงินอุดหนุนจากภาครัฐ แต่มีต้นทุนที่ต้องแบกรับจากค่าจ้างในการให้บริการเดินรถและซ่อมบํารุงนั้น และต้นทุนค่าซื้อระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ทําให้เกิดผลขาดทุนแก่ กรุงเทพธนาคม และ กทม. ตลอดมาเป็นจํานวนมาก ย่อมจะทําให้กรุงเทพธนาคม และ กทม. ไม่ สามารถชําระหนี้ที่มีอยู่กับบริษัทฯ ได้ และกลับจะมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นไปอีก จนถึงขั้นที่จะไม่สามารถ ให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้อีกต่อไปในระยะเวลาไม่นาน เพราะบริษัทฯ ก็คงจะ ไม่สามารถที่จะแบกรับภาระหนี้ที่เกิดขึ้นแล้วและจะเกิดขึ้นต่อไปอีกได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
BTS ขู่กทม.ไม่จ่ายหนี้8พันล้าน อาจหยุดเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว

นอกจากนั้น การที่ กรุงเทพคมนาคม และ กทม.ได้ตัดสินใจไม่เรียกเก็บค่าโดยสารในช่วงเวลาที่ ผ่านมา เนื่องจากมีความคาดหวังว่าการแก้ไขปัญหาการให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดโดยไม่ต้องใช้เงินอุดหนุนจากภาครัฐ แต่ใช้การแก้ไขสัญญาเพื่อให้การให้บริการ เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวและการเรียกเก็บค่าโดยสารจากประชาชนทั้งในโครงการส่วนหลักคือช่วงหมอ ชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (“โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว”) ถือเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation) จนเกิดผลดีแก่ประชาชนเพราะทําให้ค่าโดยสารที่จะเรียกเก็บตลอดสายลดลงได้เป็นจํานวนพอสมควร และให้บริษัทฯ เป็นผู้แบกรับความเสี่ยงในผลประกอบการในระยะยาวแทนการเรียกหนี้ที่ค้างชําระเอาจาก กรุงเทพ ธนาคม และ กทม. (“ร่างสัญญาแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว) ซึ่งได้มีการเจรจา สําเร็จไปแล้ว ตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ภายใต้คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 312562 เรื่องการดําเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (“คําสั่ง คสช.ฯ”) จะได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีโดยเร็วนั้น ก็ยิ่งทําให้ กรุงเทพธนาคม และ กทม. สร้างหนี้สินกับบริษัทฯ เพิ่มขึ้น เพราะไม่มี เงินรายได้จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในขณะที่มีภาระที่จะต้องจ่ายค่าจ้างในการให้บริการเดินรถ และซ่อมบํารุงให้แก่บริษัทฯ

บริษัทฯ ทราบจากข่าวตามสื่อต่าง ๆ ว่า สัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวอยู่ในระหว่างการ พิจารณาของคณะรัฐมนตรี แต่การที่บริษัทฯ ไม่ทราบเลยว่าคณะรัฐมนตรีมีกําหนดการที่จะพิจารณาให้ แล้วเสร็จเป็นประการหนึ่งประการใดเมื่อใด ซึ่งทั้ง กรุงเทพธนาคม และ กทม. ก็ไม่สามารถที่จะให้ความ กระจ่างแก่บริษัทฯ ได้นั้น ทําให้บริษัทฯ ต้องตกอยู่ในสภาวะที่ลําบากมากที่เป็นอยู่นี้ต่อเนื่องออกไปอีก

บริษัทฯ เป็นบริษัทลูกของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัท มหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นประชาชนร่วมลงทุนอยู่ จํานวนประมาณกว่า 101,700 ราย และมีเจ้าหนี้ที่ให้เงินกู้แก่บริษัทฯ มาประกอบธุรกิจอีกเป็นจํานวน มาก ซึ่งต่างมีความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ การที่ กรุงเทพธนาคม และ กทม. ไม่สามารถชําระหนี้ให้แก่บริษัทฯ ได้ ซึ่งคํานวณจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีจํานวนถึงกว่า 8,899,338,642.45 บาท (แปดพันแปดร้อยเก้าสิบเก้าล้านสามแสนสามหมื่นแปดพันหกร้อยสี่สิบสอง บาทสี่สิบห้าสตางค์) นั้น ย่อมจะสร้างความเสียหายให้แก่บริษัทฯ รวมทั้งผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ของ บริษัทฯ เป็นอย่างมาก ซึ่งการที่บริษัทฯ ยินยอมตกลงตามหลักการของร่างสัญญาแก้ไขสัญญา สัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น ก็เพราะเห็นว่าเป็นทางออกที่จะหยุดการที่ กรุงเทพธนาคม และ กทม. จะสร้างหนี้กับบริษัทฯ เพิ่มมากขึ้นไปอีกจากการเปิดให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียวส่วนต่อขยายในรูปแบบปัจจุบันต่อไปโดยมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะจ่ายค่าจ้างให้แก่บริษัทฯ และแม้ว่าภายใต้ร่างสัญญาแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น บริษัทฯ จะไม่ได้รับ ชําระหนี้ที่ค้างชําระคืนทันที แต่หากผลประกอบการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อไปในระยะ ยาวดีขึ้น บริษัทฯ ซึ่งเป็นเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงในผลประกอบการและเป็นผู้ให้บริการเดินรถใน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเองก็จะมีโอกาสได้หนี้ที่ค้างชําระนี้คืนได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นมาตรการในการ แก้ไขหนี้ที่แม้จะมีความเสี่ยงกับบริษัทฯ บ้าง แต่ก็ทําให้บริษัทฯ อยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบันมาก

ดังนั้น เมื่อไม่มีความแน่นอนว่าการดําเนินการตามร่างสัญญาแก้ไขสัญญาสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่และ เมื่อใด จึงไม่เป็นธรรมกับบริษัทฯ หากกรุงเทพธนาคมและ กทม. จะอาศัยการที่บริษัทฯ ไม่ต้องการให้เกิด ความเดือดร้อนแก่ประชาชนอันเนื่องมาจากการหยุดให้บริการการเดินรถทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รับค่าจ้าง มา เพิกเฉยไม่ชําระหนี้ที่ค้างให้แก่บริษัทฯ และกลับจะสร้างหนี้กับบริษัทฯ เพิ่มมากขึ้นไปอีกจากการเปิด ให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อไป โดยไม่มีมาตรการในการจ่ายค่าจ้างที่ค้างอยู่และ ที่จะเกิดขึ้นใหม่มาทําความตกลงกับบริษัทฯ ให้ชัดเจน ตามที่พอจะอนุมานได้จากหนังสือยอมรับสภาพ หนี้แต่ไม่มีข้อเสนอใดๆ ของกรุงเทพธนาคม (ตามหนังสือที่อ้างถึง 2)

ดังได้เรียนชี้แจงมาข้างต้นแล้วนั้นว่า บริษัทฯ มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ของ บริษัทฯ ที่จะต้องทําการบริหารจัดการหนี้ที่ กรุงเทพธนาคมและ กทม. ค้างชําระแก่บริษัทฯ และมี แนวทางที่ชัดเจนหากมีการที่จะต้องให้มีการสร้างหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก โดยหนังสือฉบับนี้ บริษัทฯ จึงขอให้ กรุงเทพธนาคม และ กทม. ชําระหนี้ทั้งหมด คือหนี้ค่าจ้างค้างชําระถึงวันที่ออกจดหมายฉบับนี้ซึ่งค้าง ชําระมาเป็นเวลา 3 ปี 9 เดือนนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 คิดเป็นเงินประมาณ 9,602,927,987.84 บาท และหนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ที่จะถึงกําหนดชําระในเดือนมีนาคม 2554 คิดเป็นเงินประมาณ 20,768,979,836.13 บาท ภายใน 60 วัน (หกสิบ) วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

ฉบับนี้ มิฉะนั้น บริษัทฯ มีความจําเป็นที่จะต้องพิจารณาการใช้สิทธิตามกฎหมายและตามสัญญาของ บริษัทฯ เอากับ กรุงเทพธนาคม และ กทม. ต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดําเนินการโดยเร่งด่วน
ขอแสดงความนับถือ
(นายคีรี กาญจนพาสน์)
ประธานกรรมการบริหาร


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ