พระเครื่อง

คำวัด - บพิตร-ทศพิธราชธรรม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คำว่า "บพิตร" และ "บพิธ" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒: ได้ให้ความหมาย ไว้ดังนี้ บพิตร (บอ-พิด) เป็นคำนาม แปลว่า แบบ พระองค์ท่าน เช่น บำรุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคำที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร.

 ส่วนคำว่า "บพิธ" (บอ-พิด) เป็นคำกริยา หมายถึง แต่ง หรือ สร้าง กล่าวคือ "บพิตร" พระสงฆ์ใช้เรียกเจ้านาย แต่ "บพิธ" นั้น ไม่เกี่ยว แปลว่า แต่ง หรือ สร้าง แค่นั้นเอง ตัวอย่างเช่น วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นวัดที่ ร.๕ ทรงสร้างขึ้น ใช้ผู้อำนวยการสร้างถึง ๓ คน จึงเสร็จการ ทรงนำเอาหลักโบราณมาใช้ คือสร้างพระมหาเจดีย์เป็นหลัก ห้อมล้อมด้วยระเบียง มีวิหารทิศสองวิหาร ทางทิศเหนือสร้างเป็นอุโบสถ ทางทิศใต้เป็นวิหาร ตกแต่งภายในแบบตะวันตก แต่ด้านนอกเป็นแบบไทย ยอดพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ความหมายชื่อวัด "ราชบพิธ" แปลว่า "กษัตริย์สร้าง"

 ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "บพิตร" แปลว่า ท่าน พระองค์ท่าน เป็นคำที่พระสงฆ์ใช้กับเจ้านาย หรือพระราชวงศ์ เช่น บรมวงศบพิตร

 บพิตร ที่ใช้สำหรับแทนพระนามพระเจ้าแผ่นดิน หรือ พระมเหสี เป็นว่า บรมบพิตร เดิมใช้ว่า มหาบพิตร แต่นิยมใช้เต็มรูปว่า สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า หรือสมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภาร เช่นใช้ในคำถวายพระพรเทศนาว่า

 "ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลพระชนม์สุขทุกประการ จงมีแด่สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ บัดนี้ จะรับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนา ใน...กถา ฉลองพระเดชพระคุณประดับพระปัญญาบารมี ถ้ารับพระราชทานถวายวิสัชนาไป มิได้ต้องตามโวหารอรรถาธิบายในพระธรรมเทศนา ณ บทใดบทหนึ่งก็ดี ขอเดชะพระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ และพระขันติคุณ ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานอภัยแก่อาตมะ ผู้มีสติปัญญาน้อย ขอถวายพระพร"

 ส่วนความหมายของคำว่า "ทศพิธราชธรรม"(ทด-สะ-พิด-ราด-ชะ-ทำ) เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า ธรรมของพระราชา ธรรมของข้าราชการ ๑๐ ประการ หมายถึง คุณธรรม หรือพระราชจริยวัตรสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน คุณธรรมสำหรับข้าราชการ สำหรับนักปกครอง เรียกว่า ราชธรรม ก็มี
 ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ คือ
 ๑.ทานัง คือ การให้
 ๒.ศีลัง คือ
 ๓.ปริจาคัง  คือ
  ๔.อาชชะวัง  คือ ความซื่อตรง
 ๕.มัททะวัง  คือ ความอ่อนโยน
 ๖.ตะปัง คือ ความเพียร ความข่มใจ
 ๗.อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ
 ๘.อวิหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนกดขี่
 ๙.ขันติญจะ คือ ความอดทน
 ๑๐.อวิโรธะนัง คือ การปฏิบัติที่ไม่ผิดทำนองคลองธรรม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ