Lifestyle

สธ.แจง4เหตุการณ์ชุมนุมเจ็บ1,427เสียชีวิต27

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สธ.สรุปผู้บาดเจ็บ 4 เหตุการณ์ความรุนแรงจากการชุมนุม นปช. รวม 1,427 ราย เสียชีวิต 27 ราย พร้อมสรุปยอดย้ายผู้ป่วย รพ.จุฬา รวม 183 ราย

(3พ.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวสรุปภาพรวมผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมที่ผ่านมา  โดยเหตุการณ์เมื่อวันที่ 10  เม.ย.  มีผู้บาดเจ็บ 864 ราย ยังนอนพักรักษาตัวอยู่ที่รพ. 44 ราย  ส่วยใหญ่เป็นทหาร จำนวนนั้นอยู่ในห้องไอซียู 2 ราย  เสียชีวิต  25 ราย  ส่วนเหตุการณ์ที่ถนนสีลม เมื่อวันที่ 28 เม.ย.  มีผู้บาดเจ็บ 80 ราย ยังนอนพักรักษาที่รพ.  4 ราย  ในจำนวนนั้นอยู่ห้องไอซียู 1 ราย ส่วนเหตุการณ์ระเบิดบริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ มีผู้บาดเจ็บ 12 ราย กลับบ้านได้แล้วทั้งหมด  ส่วนเหตุการณ์ที่อนุสรณ์สถาน ดอนเมือง  มีผู้บาดเจ็บ 23 ราย  ยังนอนค้างอยู่รพ. 10 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมผู้บาดเจ็บจาก 4 เหตุการณ์ทั้งสิ้น 1,427 รายเสียชีวิต 27 ราย

 นายจุรินทร์  กล่าวต่อว่า  สำหรับการบุกตรวจค้นรพ.จุฬาลงกรณ์ จากรายงานศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ  ได้รายงานว่า มีการย้ายผู้ป่วยในไปยังรพ.ต่างๆ รวมจำนวน  183 ราย  โดยได้ย้ายไปในรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข  66 ราย ใน 21 รพ. ย้ายไปรพ.สังกัดกทม. 49 ราย ใน 7 รพ.  รพ.สังกัดมหาวิทยาลัย  39 ราย ใน  4 รพ.  รพ.สังกัดกระทรวงกลาโหม 3 ราย ใน 1 รพ. คือรพ.พระมงกุฎ    รพ.เอกชน 25 ราย ใน 12 รพ. และรพ.จุฬาภรณ์  2 ราย   ทั้งนี้นางวลัยพรรณ สังโฆ 51 ปี  ที่ได้รับบาดเจ็บต้องผ่าตัดสมองซ้ำ 2 ครั้ง จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 เม.ย.นั้น ได้ย้ายไปรักษาตัวอยู่ที่ห้องไอซียู รพ.ศิริราช และอาการยังน่าเป็นห่วง  

 นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า  ให้คงสิทธิเช่นเดิมของผู้ป่วยทุกราย โดยจากการสำรวจเบื้องต้น  มีผู้ป่วยที่ใช้ข้าราชการ  46 ราย  สิทธิรักษาฟรี  72 ราย  และสิทธิประกันสังคม  10 ราย  ส่วนที่เหลือผู้ระหว่างการสำรวจสิทธิ  ทั้งนี้กรณีผู้ป่วยที่ต้องย้ายไปยังรพ.เอกชน รัฐบาลและกระทรวง จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนั้นให้ เพื่อไม่กระทบกับสิทธิของผู้ป่วย   

 ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่ผู้ป่วยไปรอรับยาที่รพ.จุฬาจำนวนมาก จะช่วยประสานให้สามารถรับยาที่รพ.ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้หรือไม่ นายจุรินทร์  กล่าวว่า ได้มีการประสานกับทางรพ.จุฬา แต่ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรพ.จุฬา ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะเป็นคนไข้ของรพ.จุฬา อย่างไรก็ตามรพ.ในสังกัด กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในกพื้นที่กทม.ได้มีการประสานงานกับรพ.จุฬาแล้วว่า ถ้าสสมติว่ามีความจำเป็นต้องถ่ายเทผู้ป่วยมา ก็ยินดีทุกประการ แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของรพ.จุฬา  เบื้องต้น ว่าความเหมาะสมคืออะไรและมีจำเป็นขนาดไหนอย่างไร เราพร้อมให้ความช่วยเหลือเพราะรพ.จุฬาถือเป็นศูนย์ที่ให้ความร่วมมือกันดีกับศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ  และเมื่อถามว่า กรณีผู้ป่วยที่ต้องได้รับเกร็ดเลือดซึ่งไม่สามารถรับบริการจากรพ.อื่นได้นอกจากรพ.จุฬา รมว.สธ. กล่าวว่า  รพ.จุฬากำลังพิจารณาว่าจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากรพ.อื่นๆ หรือไม่  ซึ่งรพ.ในสังกัดกระทรวงยินดีทุกรพ.         
 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ