Lifestyle

คนดังแนะอย่าเสียบุคลิกเพราะ"ดัดฟัน"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เพราะกระแสแฟชั่นดัดฟันยังคงคุกรุ่นอยู่ในกลุ่มวัยรุ่น ล่าสุดสาววัย 17 ปี ตามกระแสแฟชั่นโดยใช้บริการผ่านคลินิกเสริมความงามเถื่อนแห่งหนึ่ง กระทั่งเธอป่วยด้วยอาการไทรอยด์ติดเชื้ออย่างรุนแรงและโรคหัวใจจนเสียชีวิตในที่สุด เบื้องต้นคาดว่าอาการป่วยดังกล่าว อาจเก

แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุของการเสียชีวิตที่แน่ชัด แต่เราลองมาฟังความคิดเห็นจากหมอฟันคนสวยอย่าง "พี" ทพญ.พอลลีน ล่ำซำ กันก่อนเลยดีกว่า ซึ่งเธอกล่าวว่า การดัดฟันสำหรับเด็กๆ อาจจะคิดว่าเป็นแฟชั่น แต่สำหรับทางการแพทย์แล้วถือว่าเป็นการจัดเรียงฟันให้สมดุล เพื่อไม่เกิดการบกพร่องในการใช้งานในช่องปาก ส่วนเรื่องของความสวยงามหรือแฟชั่นถือเป็นผลพลอยได้เท่านั้น

 "โดยปกติแล้วตามจรรยาบรรณของทันตแพทย์ เราจะไม่จัดฟันให้กับคนที่ไม่มีปัญหา ถ้าคนไข้อยากจะแค่ติดเหล็กดัดฟันเพื่อความสวยงาม ตามเพื่อน หรือตามแฟชั่น เราจะไม่ทำให้เขาอยู่แล้วเพราะผิดจุดประสงค์ในการรักษา แต่สำหรับคนที่มีปัญหาเช่นว่า ฟันสบกันไม่พอดีทำให้กัดเส้นก๋วยเตี๋ยวไม่ได้ หรือฟันยื่นออกมามากเกินไปจนกระทั่งปากปิดไม่สนิท แบบนี้คุณหมอก็จะวินิจฉัยก่อนถึงจะทำการรักษาต่อไป มีวัยรุ่นหลายคนเหมือนกันที่อยากจะสวยเพราะจัดฟัน แต่ถ้าไม่เป็นอะไรมากเราก็จะไม่ทำให้อยู่แล้ว" คุณหมอฟันคนสวยกล่าว

 พร้อมกับบอกถึงขั้นตอนในการเข้ารับการรักษาภายในสถานบริการที่ถูกต้องตามกฎหมายว่า สิ่งแรกที่อยากจะให้สังเกตเมื่อเข้าไปใช้บริการ คือ หนังสือใบอนุญาตของสถานประกอบการนั้นๆ เพื่อเป็นการยืนยันว่าคลินิกแห่งนั้น ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการรักษาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อคนไข้ต้องการจัดฟัน ทันตแพทย์ทั่วไปจะส่งตัวคนไข้ไปพบกับทันตแพทย์เฉพาะทางเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง

 "พีเคยเจอคนไข้ที่อยากจัดฟัน ก็จะให้ความรู้ในเบื้องต้นกับเขาก่อน จากนั้นก็จะส่งตัวเขาให้กับแพทย์เฉพาะทางอีกครั้ง พอคนไข้ไปหาแพทย์เฉพาะทางแล้ว ขั้นแรกจะพิมพ์ปากไปก่อนและเอกซ์เรย์ฟัน เพื่อศึกษาและวางแผนในการรักษาฟันว่าจะเป็นอย่างไร จากนั้นคุณหมอก็จะบอกถึงแผนการรักษาคนไข้รวมทั้งระยะเวลาในการรักษา จากนั้นก็จะทำการติดเครื่องมือ แล้วก็ติดตามผลการรักษา โดยการขยับลวดปกติจะขยับกันเดือนละครั้ง ฟันก็จะเคลื่อนตัวเข้าที่ตามที่ได้วางแผนเอาไว้

 ถามว่าจัดฟันโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วอัตราเสี่ยงน้อยลงหรือเปล่า อันนี้ต้องบอกว่าทุกการรักษาย่อมมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นเสมอ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเคสของแต่ละคน เพราะการจัดฟันคือการลากฟันให้ออกมาจากตำแหน่งเดิมที่เคยอยู่ บางคนอาจจะรู้สึกฟันโยกเพราะฟันกำลังเคลื่อนตัว หรือบางคนรู้สึกเหมือนเป็นโรคเหงือกเพราะเหงือกก็จะขยับไปด้วย แต่สิ่งเหล่านี้คุณหมอจะอธิบายให้คนไข้ฟังไว้ก่อนอยู่แล้ว ถ้าคนไข้กับคุณหมอเข้าใจกันดีก็เป็นอันจบ" พีแจกแจง

 พร้อมกับกล่าวด้วยว่า การรักษาไม่ว่าจะเป็นอะไร ควรจะให้แพทย์เฉพาะทางเป็นผู้วิเคราะห์ก่อนทำการรักษา โดยเฉพาะช่องปากควรจะให้ความสำคัญไม่แพ้กับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หลายครั้งที่มักจะได้ทราบข่าวว่าวัยรุ่นไปซื้อเหล็กดัดฟันราคาถูกมาติดเอง จนทำให้เกิดผลข้างเคียงมากมาย แต่ไม่ได้ยืนยันว่าการเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผลที่ออกมาจะสวยสมบูรณ์แบบเหมือนกับคนไข้รายอื่นๆ เสมอไป

 "หลายคนพอเห็นเพื่อนๆ ดัดฟันเสร็จแล้วออกมาสวยก็อยากจะไปทำบ้าง อันนี้พีต้องบอกเลยว่าอาจจะได้ผลคล้ายกันเท่านั้น เพราะรูปแบบฟันคนละเคสกัน ผลก็มักจะได้รับแตกต่างกันออกไป แต่ผลที่จะได้รับตามมาที่แน่นอนก็คือ เมื่อจัดเรียงฟันให้สมดุลตามธรรมชาติแล้ว ย่อมเป็นผลดีในการใช้ แต่อย่าลืมว่าไม่ว่าจะทำอะไรย่อมมีอัตราเสี่ยงเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น การเข้ารับบริการกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง อาจจะได้รับอัตราเสี่ยงที่น้อยกว่าการไปซื้อเครื่องมือที่ไม่ได้มาตรฐานมาติดเอง" พีกล่าวทิ้งท้าย

 ส่วน "พิม" ริตา จิรา สาววัยใสที่เคยผ่านการจัดฟันมาเมื่อสมัยเรียนมัธยมต้น เผยว่า เมื่อครั้งที่เธอจัดฟันเพราะมีปัญหาฟันไม่โผล่ออกมา จึงต้องทำการผ่าตัดเหงือก จากนั้นจึงใส่เหล็กเพื่อเกี่ยวฟันให้ออกมา ดังนั้นการจัดฟันควรจะทำเมื่อภาวะจำเป็นจริงๆ ไม่อยากให้คิดว่าการจัดฟันเป็นแฟชั่นหรือเพื่อความสวยงาม เพราะการมีเหล็กติดอยู่บนฟัน ทำให้เสียบุคลิกหลายๆ อย่าง

 "พิมเคยเห็นที่ดัดฟันแฟชั่นขายตามร้านทั่วๆ ไปเหมือนกัน ซึ่งพิมมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระมาก ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตของเราเลย แล้วการใส่เหล็กดัดฟันทำให้เราเสียบุคลิก อย่างเช่นเวลาทานอาหาร ก็มักจะมีเศษอาหารติดตามเหล็กดัด ทานอาหารก็ไม่สะดวก พูดก็ไม่ชัดด้วย บางคนอาจจะรู้สึกสวยเพราะมียางสีๆ อยู่บนฟันเวลายิ้ม แต่นานๆ เข้าเริ่มไม่สนุกแล้วกลายเป็นเจ็บ รำคาญทรมานมาก ตอนพิมดัดฟันก็ได้แต่รอว่าเมื่อไรจะเอาเหล็กออกไปสักที พิมอยากจะบอกทุกคนว่า ถ้าจะดัดฟันควรจะมีปัญหาเกี่ยวกับฟันจริงๆ อย่าไปทำเพราะแฟชั่นจะเสียเงินโดยใช่เหตุ แล้วเหล็กดัดแฟชั่นแบบนั้นก็ไม่ได้มาตรฐาน อาจจะไม่สะอาด แล้วใช้อะไรมาแปะกับฟันของเราก็ไม่รู้ อาจจะส่งผลเสียต่อช่องปากของเราก็ได้" พิมสาวที่มีประสบการณ์แนะนำ

 ด้าน "เหมียว" ผุสดี วงศ์สุวรรณ พนักงานสื่อสารองค์กร ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เป็นอีกคนหนึ่งที่เพิ่งเข้ารับการจัดฟันเมื่อปลายปี 2550 แต่ใช่ว่าจะทำตามกระแสแฟชั่นอย่างวัยรุ่นทั่วๆ ไป นั่นเป็นเพราะฟันซี่หน้ามีปัญหาผิดรูปทำให้เสียความมั่นใจเวลายิ้ม บวกกับฟันกรามด้านในล้มไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ซึ่งเธอก็ยอมรับว่า แม้จะไม่รู้สึกกลัวการจัดฟันแต่ก็ใช้เวลานานมากเพื่อศึกษาข้อดีข้อเสีย

 "เหมียวใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี ในการศึกษาข้อดีข้อเสียกับทันตแพทย์ให้เคลียร์ จนตัดสินใจเดินเข้าคลินิกจัดฟัน เพราะหากไม่เป็นผลดังใจหวังก็ต้องเสียเวลา เสียเงิน และเจ็บตัวมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง  และโดยส่วนตัว ไม่เคยคิดว่าการจัดฟันเป็นแฟชั่น หากว่าฟันไม่มีปัญหาก็จะไม่ดัดฟันอย่างเด็ดขาด เพราะทุกๆ เดือน เมื่อถึงกำหนดต้องดึงเหล็กจะทรมานมาก เจ็บระบมไปทั้งปาก เวลาทานอาหารก็ทานได้แต่อาหารอ่อนหรืออาหารเหลวเท่านั้น บางช่วงที่รู้สึกรำคาญจนอยากจะถอดออก เพราะต้องหมั่นคอยดูแลช่องปากมากขึ้นกว่าปกติ แต่ถ้ามองอีกมุมถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะจะได้รับการดูแลบ่อยขึ้นจากที่เคยหาหมอฟันเฉพาะแค่ตอนขูดหินปูนปีละครั้งเท่านั้น" สาวเหมียวกล่าว

 ทั้งนี้ เมื่อถามถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า มีผู้เสียชีวิตจากการจัดฟัน หญิงสาวกล่าวด้วยความวิตกว่า ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีข่าวประเภทนี้มาก่อนก็ไม่รู้สึกกลัวอะไร แต่พอได้ยินก็ยอมรับว่ากลัวเหมือนกัน เพราะอุปกรณ์ในการจัดฟันก็มีเหล็ก พลาสติก ยางและกาว ก็ตั้งใจว่าจะต้องไปคุยไปถามคุณหมอเหมือนกัน

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ