ข่าว

'ตม.' ห้าม จนท.ให้ข้อมูลบุคลลเข้า-ออก ประเทศ ก่อนได้รับอนุญาต

'ตม.' ห้าม จนท.ให้ข้อมูลบุคลลเข้า-ออก ประเทศ ก่อนได้รับอนุญาต

08 ธ.ค. 2566

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง "ตม." สั่งห้าม จนท.ให้ข้อมูลคนเข้า-ออก ประเทศ ก่อนได้รับอนุญาต ขู่ ฝ่าฝืนเจอโทษทั้งวินัย อาญา

8 ธ.ค.2566 พล.ต.ต.เชิงรณ ริมผดี ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 ในฐานะ โฆษกสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (โฆษก สตม.) แถลงถึงมาตรการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เดินทางเข้า - ออกประเทศ หลับพบว่ามีบุคคสภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลจากหน่วยงานต่างๆ มักประสานขอตรวจสอบข้อมูลคนเข้า - ออกประเทศ โดยอ้างเหตุผลทางคดี หรือเหตุผลทางต้านความมั่นคง ส่งผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และส่งผลต่อความมั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูลบุคคลในฐานข้อมูลตรวจคนเข้าเมือง

พล.ต.ต.เชิงรณ ริมผดี ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2

 


พล.ต.ต.เชิงรณ เปิดเผยว่า กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 ที่รับผิดชอบตรวจอนุญาตบุคคลชาวไทยและต่างชาติ ที่เดินทางเข้า - ออกราชอาณาจักร ผ่านด่านท่าอากาศยานนานาชาติทั้ง 5 ประกอบด้วย ทำอากาศยานสุวรรณภูมิ , ท่าอากาศยานกรุงเทพ ,ท่าอากาสยานภูเก็ต ,ทำอากาศยานเชียงใหม่ และ ท่าอากาศยานหาดใหญ่

 

เพื่อให้เป็นไป ตาม พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA จึงสั่งห้ามให้เจ้าหน้าที่ทุกคนห้ามให้ข้อมูลบุคคลที่เดินทางเข้า-ออก ประเทศ ให้บุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษทางวินัยและทางอาญา 

 

สำหรับการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่จะสามารถทำได้นั้น ต้องดำเนินการเท่าที่จำเป็นภายใต้กรอบของกฎหมาย  PDPA และได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูล หรือเป็นบุคคลที่ต้องคำสั่งศาลห้ามเดินทางกรณีมีหมายจับคดีอาญาหรือบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยเท่านั้น 

 

ส่วนมาตรการการคุ้มครองข้อมูลในครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานด้านการสืบสวนสอบสวนในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เนื่องจากเจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงระบบในการค้นหาข้อมูลผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องหาได้อยู่แล้ว เพียงแต่เจ้าหน้าที่ที่เข้าถึงข้อมูลในระบบนั้นจะต้องเข้ารหัสส่วนตัว เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่าเข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ หากมีการเปิดเผยข้อมูลไปสู่บุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็มีความผิดเช่นเดียวกัน 


ที่ผ่านมามีตำรวจที่รับผิดชอบข้อมูลส่วนบุคคลถูกดำเนินคดีไปแล้ว 2-3 คน ในข้อหาละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล จึงเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องออกมาตรการในการคุมเข้มคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของกองบังคับการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง 2 ในครั้งนี้