ข่าว

ตำรวจสอบสวนกลาง จับกุมเครือขายสวมทะเบียนรถขายข้ามชาติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แถลงข่าว ผลการจับกุมตามแผนปฏิบัติการ ทลายเครือข่ายนำเข้ารถยนต์จากประเทศมาเลเซีย สวมทะเบียนปลอม ส่งขายต่ออีกทอด

พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) แถลงข่าวพร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  ผลการเปิดปฏิบัติการทลายเครือข่ายแก๊งปลอมป้ายทะเบียน ค้ารถข้ามชาติครบวงจร ดำเนินการปราบปรามขบวนการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ผิดกฎหมาย
  ตำรวจสอบสวนกลาง จับกุมเครือขายสวมทะเบียนรถขายข้ามชาติ
สาเหตุการเปิดปฏิบัติการดังกล่าวนั้น  เนื่องจากพบว่าในปัจจุบัน อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ผิดกฎหมายมีจำนวนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดัดแปลง ปลอมเเปลงข้อมูลรถ การนำเข้ารถยนต์มาโดยผิดกฎหมายเพื่อนำมาอำพรางและส่งออกขายในประเทศเเละต่างประเทศ การรับจ้างทำแผ่นป้ายทะเบียน ป้ายภาษีเเละเอกสารเกี่ยวกับรถยนต์ปลอม โดยกลุ่มผู้กระทำความผิดเหล่านี้ มักจะกระทำการโดยหลบเลี่ยงการตรวจสอบของทางเจ้าหน้าที่ และกระทำการโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นก็มักจะส่งผลต่อสังคมในวงกว้าง ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน
  ตำรวจสอบสวนกลาง จับกุมเครือขายสวมทะเบียนรถขายข้ามชาติ

โดยการปฏิบัติการดังกล่าว สามารถ จับเครือข่ายลักลอบนำเข้ารถยนต์จากประเทศมาเลเซีย ก่อนอำพรางรถโดยใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอม นำส่งขายต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ทำการปิดล้อมตรวจค้นในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี และ สุราษฏร์ธานี รวมจำนวน 12 จุด จับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 11 ราย เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ 14 หมายจับ โดยทั้ง 11 รายที่ถูกจับกุม มีความผิด ร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยกรการใดซึ่งของอันตนพึงรู้ว่าเป็นของอันเนื่องจากผู้อื่นนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร, ร่วมกันใช้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการ และร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอม

ตำรวจสอบสวนกลาง จับกุมเครือขายสวมทะเบียนรถขายข้ามชาติ

ทั้งนี้ กองกำกับการ 6 กองบังคับการปราบปราม หน่วยที่ทำการสืบสวนจับกุม  สืบสวนทราบว่ามีขบวนการลักลอบนำรถยนต์จากประเทศมาเลเซียเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย โดยนางมะลิฯ ชาวเมียนมาร์ กับพวก จะลักลอบนำเข้ารถยนต์ที่ถูกโจรกรรมมาจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศ ก่อนจะนำมาพักไว้ที่ จ.สมุทรสาคร เพื่อนำไปขายต่อยังประเทศเมียนมาร์ และในประเทศไทย

ตำรวจสอบสวนกลาง จับกุมเครือขายสวมทะเบียนรถขายข้ามชาติ

โดยจากการตรวจสอบพบว่ากลุ่มของนางมะลิฯ ได้มีการแบ่งหน้าที่กันทำในลักษณะองค์กรอาชญากรรม กระทำการในลักษณะเป็นขบวนการ โดยเมื่อมีลูกค้าจากประเทศเมียนมาร์ หรือคนไทยต้องการสั่งซื้อรถ นางมะลิ ซึ่งเป็นหัวหน้าขบวนการของกลุ่มเครือข่ายจ.สมุทรสาคร จะติดต่อไปยังกลุ่มเครือข่าย

ตำรวจสอบสวนกลาง จับกุมเครือขายสวมทะเบียนรถขายข้ามชาติ

ให้นำเข้ารถมาจากประเทศมาเลเซียโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนภาคใต้ โดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร จากนั้นกลุ่มของนางมะลิฯ จะเดินทางไปรับรถในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ก่อนจะนำแผ่นป้ายทะเบียนปลอมมาติดแล้วขับนำรถกลับมาจอดพักไว้ที่ จ.สมุทรสาคร เพื่อรอนำส่งต่อไปยังประเทศเมียนมาร์ 

ตำรวจสอบสวนกลาง จับกุมเครือขายสวมทะเบียนรถขายข้ามชาติ

จากการสืบสวนพบว่ากลุ่มของนางมะลิฯ ได้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวมาแล้วกว่า 50 ครั้ง ในระยะเวลา 1 ปี โดยในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมาสามารถจับกุมนางมะลิฯ กับพวกได้รวม 3 คน ขณะกำลังขับรถยนต์ที่ไปรับมาจากพื้นที่ชายแดนใต้ พร้อมกันนี้ยังได้ตรวจยึดรถยนต์จำนวน 2 คัน จากนั้นจึงได้มีการติดตามยึดรถยนต์ที่นำมาพักไว้ที่ จ.สมุทรสาคร ได้อีกจำนวน 2 คัน จากการตรวจสอบรถยนต์ทั้งหมดพบว่าไม่มีการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกแต่อย่างใด

ตำรวจสอบสวนกลาง จับกุมเครือขายสวมทะเบียนรถขายข้ามชาติ

อีกทั้งยังมีการนำแผ่นป้ายทะเบียนปลอม แผ่นป้ายภาษีปลอม และสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอม มาใช้อีกด้วย จากการสืบสวนขยายผลเพิ่มเติมทำให้พบว่ากลุ่มของนางมะลิฯ มีการสั่งทำแผ่นป้ายทะเบียน ป้ายภาษี และเอกสารที่เกี่ยวกับรถปลอม เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการดังกล่าว รวมทั้งจากการตรวจค้นบ้านพัก ม.11 ต.เมือง อ.เมืองเลย จ.เลย ซึ่งเป็นสถานที่ต้องสงสัยว่าเป็นที่ทำเอกสารปลอม ตรวจสอบพบอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเอกสารรถปลอม ทั้งที่เป็นฟอร์มเปล่า และทำเสร็จแล้ว คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์ จำนวนหลายรายการ

ตำรวจสอบสวนกลาง จับกุมเครือขายสวมทะเบียนรถขายข้ามชาติ

นอกจากนี้ ยีงทำการจับกุมแก๊งรับจ้างทำแผ่นป้ายทะเบียน แผ่นป้ายภาษี และเอกสารเกี่ยวกับรถยนต์ปลอม สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 5 ราย ดังนี้
1. นายอภิเดชฯ ผู้ต้องหาตามหมายจับที่ 3225/2566 ลง 22 ก.ย.2566 ความผิดฐาน “ร่วมกันปลอมเอกสารราชการปลอม” (ทำหน้าที่ เป็นคนกลาง รับงานเพื่อสั่งผลิตสินค้า)
2. น.ส.นิสากรฯ ผู้ต้องหาตามหมายจับที่ 3227/2566 ลง 22 ก.ย.2566 ความผิดฐาน “ร่วมกันปลอมเอกสารราชการปลอม” (ทำหน้าที่ ผลิตป้ายภาษี และคู่มือจดทะเบียนรถปลอม)
3. นายอภิชาติฯ ผู้ต้องหาตามหมายจับที่ 3228/2566 ลง 22 ก.ย.2566 ความผิดฐาน “ร่วมกันปลอมเอกสารราชการปลอม” (ทำหน้าที่ รับส่งสินค้า)
4. นายดัชฯ ผู้ต้องหาตามหมายจับที่ 3224/2566 ลง 22 ก.ย.256ความผิดฐาน “ร่วมกันปลอมเอกสารราชการปลอม” (ทำหน้าที่ เปิดเพจ รับงานจากลูกค้า)
5. นายณัฐฉัตรฯ ถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ (ทำหน้าที่รับทำป้ายภาษีปลอม)

 โดยพบว่าผู้ต้องหาทั้ง 5 ราย มีการร่วมกันกระทำความผิด กระทำการในลักษณะรูปแบบขบวนการ โดยมีนายดัชฯ ทำหน้าที่เปิดเฟจเฟซบุ๊ก ในลักษณะของการรับจำนำรถ จำนองรถ หรือ ขายฝากรถ ซึ่งในกรณีที่มีลูกค้าสนใจอยากทำป้ายทะเบียน หรือป้ายภาษีปลอม จะมีการติดต่อพูดคุยกันผ่านไลน์ของนายดัชฯ โดยจะคิดค่าดำเนินการประมาณ 2,500 บาท ซึ่งจะให้ลูกค้าโอนเงินผ่านบัญชีม้าที่นายดัชฯ ถือไว้ หลังจากนั้น นายดัชฯ จะส่งข้อมูลพร้อมกับค่าจ้างประมาณ 2,000 บาท ในการทำเอกสารเกี่ยวกับรถยนต์ปลอมไปให้กับนายอภิเดชฯ (คนกลางซึ่งทำหน้าที่ติดต่อกับผู้รับทำเอกสารปลอม) โดยนายดัชฯ จะหักค่าดำเนินการครั้งละประมาณ 200-500 บาท ต่อมาเมื่อนายอภิเดชฯ ได้ข้อมูลสินค้าเเละค่าจ้างแล้ว นายอภิเดชฯ จะติดต่อไปยัง น.ส.นิสากรฯ ให้ผลิตทำเอกสารปลอมตามที่ได้รับงานมา โดย นายอภิเดชฯ จะได้ค่าส่วนต่างจากราคาสินค้าที่ น.ส.นิสากรฯ ผลิต ในส่วนของ น.ส.นิสากรฯ ซึ่งทำหน้าที่ผลิตป้ายภาษี และคู่มือจดทะเบียนรถปลอมจะใช้วิธีการปริ้นท์ข้อความลงในแบบฟอร์มป้ายภาษีหรือคู่มือจดทะเบียนรถ คิดราคาชิ้นประมาณ 1,000 บาท หรือ 1,500 บาท โดยจะจัดส่งผ่านทางร้านพัสดุ และในส่วนของนายอภิชาติฯ จะทำหน้าที่นำแผ่นป้ายทะเบียนปลอม ไปส่งทางไปรษณีย์ให้กับลูกค้า โดยได้รับค่าจ้างครั้งละ 150 บาท 
อีกทั้งยังพบข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าที่ร้านแห่งหนึ่งใน จ.นนทบุรี มีการผลิตแผ่นป้ายทะเบียนปลอม  โดยมีวิธีผลิต 2 วิธี คือ การนำแผ่นป้ายทะเบียนจริงมาหลอมแล้วขึ้นรูปใหม่ และการใช้แผ่นอะลูมิเนียมมาปั๊มขึ้นรูป 

logoline