ข่าว

เปิดพฤติกรรม 'Lone Wolf' กราดยิง กลาง 'พารากอน' เยาวชน เคสแรกในไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักอาชญาวิทยา วิเคราะห์ พฤติกรรม 'Lone Wolf' กราดยิง กลาง 'พารากอน' เคสแรกในไทย น่ากังวล จี้ สถาบันครอบครัว ให้ความสำคัญ-ทบทวนระเบียบการขอ อาวุธปืน

เป็นประเด็นสะท้อนสังคม หลังเยาวชนชาย อายุ 14 ปี ก่อเหตุ “กราดยิง” กลางห้าง “พารากอน” ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง เรื่องราวที่เกิดขึ้น กำลังบ่งบอกอะไรในประเทศไทย ทั้งพฤติกรรมการก่อเหตุ การเข้าถึงอาวุธปืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน และทำเพียงลำพัง ซึ่งนับว่าเป็นเคสแรกๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

เหตุกราดยิงกลางพารากอน

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดีและประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ข้อมูลกับ คมชัดลึกว่า ทั้งการเลือกใช้สถานที่ห้าง “พารากอน” ซึ่งอยู่กลางเมือง ใกล้แนวรถไฟฟ้า และเลือกช่วงเวลาในช่วงเย็น ซึ่งมีคนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอาวุธที่ใช้ สะท้อนให้เห็นว่า มีเจตนาที่จะสังหารเหยื่อด้วยอาวุธปืน และเชื่อว่า มีการเตรียมการมาพอสมควร โดยเฉพาะการใช้อาวุธ ต้องมีการฝึกฝน ไม่ใช่เป็นการจับปืนครั้งแรก แล้วนำมาก่อเหตุเลย

 

 

“น่าจะมีการฝึกความคุ้นเคยเรื่องการใช้อาวุธมาก่อน เพราะโดยปกติแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และหน่วยงานความมั่นคง จะไม่ยิงคน เว้นแต่มีเหตุจำเป็น เป็นเหตุสุดวิสัย แต่เคสนี้น่าแปลกใจที่ผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน และใช้อาวุธปืน ทำร้ายผู้บริสุทธิ์ ต้องยอมรับว่า ในประเทศไทยพบไม่มาก ถ้าไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน” รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ อธิบายให้ฟัง

เหตุกราดยิงกลางพารากอน

วิธีการสังเกตว่ามีการเตรียมการมาอย่างดี

 

 

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่า เคสนี้ เป็นเคสแรกๆ ที่ผู้ก่อเหตุที่เป็นเยาวชน ก่อเหตุในห้างสรรพสินค้า มีอาวุธปืนติดตัว มีกระสุนพร้อมใช้งาน ประเด็นต่อมาเลือกสถานที่ เลือกช่วงเวลา ถือว่ามีการเตรียมการ การไม่เตรียมการคือ เยาวชนทะเลาะวิวาทกัน แล้วมีเหตุให้บันดาลโทสะ แต่เคสนี้ เลือกเจาะจง ทั้งช่วงเวลา และสถานที่ หากมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างอื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ บ้านพัก คนรอบข้าง จะพบร่องรอยหลักฐานเชื่อมโยงมากขึ้น และ จะสะท้อนให้เห็นมากขึ้นว่าแรงจูงใจคืออะไร

 

 

สิ่งบอกเหตุแนวโน้มก่อคดี

 

ในต่างประเทศ หรือในประเทศไทยเอง มีการบ่งบอก มีการฝึกซ้อม การใช้อาวุธ หรือการโพสต์ระบายข้อความคับแค้นใจ น้อยเนื้อต่ำใจ เป็นวิธีการสังเกต

ค้นบ้านเยาวชน 14 ปี

 

ปฎิบัติการณ์ lone wofe หมาป่าผู้เดียวดาย

 

ปืนที่เยาวชนวัย 14 ปีใช้ก่อเหตุ เป็นปืนกล็อก 19 โดยหลักจะเป็นปืนที่นำเข้าจากต่างประเทศ ประเทศไทยผลิตเอง ต้องตรวจสอบว่าเป็นของใคร ได้มาอย่างไร น่ากังวลตรงที่ผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน และถ้าพบว่าเป็นปฎิบัติการตามลำพัง หรือที่เรียกว่า lone wofe หมาป่าผู้เดียวดาย ยิ่งน่ากังวล เพราะเราไม่รู้ว่าแต่ละคนคิดอย่างไร จะมีแนวโน้มการใช้พฤติกรรมรุนแรงมากน้อยเพียงใด แล้วจะเลือกใช้สถานที่ วันเวลาใด ซึ่งหน่วยงานความมั่นคง หรือหน่วยข่าวกรอง ยากที่จะประเมิน

 

 

“ยกตัวอย่างการลอบสังหารนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จากการสืบสวนพบว่าเป็นปฎิบัติการตามลำพัง ที่ยากต่อการป้องกัน เพราะถ้าหากเป็นเครือข่าย เป็นกระบวนการ 2 คนขึ้นไป โอกาสที่จะมีข่าวเล็ดรอด หน่วยข่าวกรองจะรับทราบข้อมูลก็จะมีบ้าง แต่ถ้าเป็นคนเดียว อาจจะยากที่จะทราบ เขาจะก่อเหตุอย่างไร”

 

 

ทั้งนี้ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ ย้ำว่า เคสลักษณะนี้ เมืองไทยมีไม่มาก เยาวชนถือเป็นเคสแรก แต่ต่างประเทศเกิดถี่ขึ้น ดังนั้น ความน่ากังวลคือ เราไม่ทราบว่าเยาวชนคิดอะไร ทำไมมาก่อเหตุ ดังนั้น สถาบันครอบครัว ควรให้ความสำคัญมากขึ้น ผู้ปกครองน่าจะมีการสื่อสาร ให้ความรัก ความเข้าใจ ดูแลอย่างใกล้ชิด

เหตุเยาวชนกราดยิง

 

ทั้งนี้ คำจำกัดความของ "Lone Wolf" แปลว่า "หมาป่าตัวเดียว" หรือใช้ว่า "ปฏิบัติการแบบหมาป่าตัวเดียว" เพื่อชี้ให้เห็นถึงคุณลักษณะของความรุนแรงที่เกิดว่าเป็นปฏิบัติการแบบอิสระของผู้ก่อเหตุคนเดียว หรือมีลักษณะเป็น "lone actor"

 

 

นอกจากนี้ การใช้คำว่า "ปฏิบัติการแบบหมาป่าเดียวดาย" นั้น อาจจะต้องยอมรับความเป็นจริงว่าผู้ก่อเหตุในลักษณะเช่นนี้ ไม่ได้มีลักษณะ "เดียวดาย" อันทำให้การแปลเช่นนี้สื่อความหมายที่ผิดไปจากบริบทของการก่อเหตุ และการใช้คำคำนี้ก็ไม่ได้มีนัยในทางจิตวิทยาว่า ผู้ก่อเหตุเป็นคน "เดียวดาย" (lonely)

 

ประเด็นทบทวนการครอบครองอาวุธปืน

 

 

ในบริบทของสหรัฐฯ ต่างกัน เพราะมีกำหนดในรัฐธรรมนูญ เรื่องสิทธิการปกป้องตัวเอง แต่ในประเทศไทย โดยปกติการขออนุญาตมีอาวุธปืน จะต้องขอกับนายทะเบียนในแต่ละท้องที่ มีขั้นตอน มีระเบียบในการขอใบอนุญาตอยู่ แต่ต้องยอมรับว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การก่อเหตุความรุนแรงในสังคมไทย มีการใช้อาวุธปืนมากขึ้น ซึ่งควรทบทวนระเบียบและกฎหมาย นอกจากจะต้องดูประวัติอาชญากรรมของผู้ขอแล้ว จะต้องดูเรื่องสุขภาพจิต พฤติกรรมก้าวร้าวหรือไม่ ต้องนำมาใช้อย่างจริงจัง และตรวจสอบประวัติย้อนหลัง จากคนรอบข้างด้วย

 

 

คำแนะนำป้องกันพฤติกรรมเลียนแบบ

 

 

  1. ไม่ควรเปิดเผยชื่อ ตัวตน หรือ ไม่ควรให้ค่าผู้ก่อเหตุ
  2. ไม่ควรนำเสนอพฤติการณ์การก่อเหตุในขณะนั้น เพราะจะทำให้เด็ก จดจำในสมอง นำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบได้
  3. การนำเสนอข่าวควรเสนอไปในแนวทางให้ข้อคิด ดูสาเหตุ เพื่อเฝ้าระวังป้องกัน ไม่ควรนำเสนอแนวดราม่า เพราะสมองจะถูกจดจำโดยอัตโนมัติ

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ