ข่าว

ย้อนคดีจับ'ประสิทธิ์ เจียวก๊ก'ตุ๋นลงทุนพันล้าน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 'ประสิทธิ์ เจียวก๊ก' อดีตประธานโครงการคืนคุณแผ่นดิน 1,155 ปี ฐาน 'ตุ๋นลงทุน' เว็บไซต์ซื้อ-เช่าสินค้าแบรนด์เนม สั่งชดใช้ค่าเสียหายอีกนับ 1,000 ล้านบาท

 

1. เมื่อเอ่ยชื่อ "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" ชาว จ.กระบี่ ในอดีตเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะประธานโครงการคืนคุณแผ่นดิน ที่ทำคุณประโยชน์เพื่อสังคม หลังจากที่เจ้าตัวทำธุรกิจประสบความสำเร็จ มีเงินนับพันล้านบาท ซึ่งเป็นที่มาในการถูกดำเนินคดีตุ๋นลงทุน

 

2. "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก"เคยบอกไว้ว่า ในอดีตเขาเคยเป็นคนไม่ดี แต่อยากเปลี่ยนตัวเอง เลยมีคำมั่นสัญญาว่าถ้าได้ดีมีการทำธุรกิจมีกำไร จะคืนให้สังคมตลอดไป ซึ่งเวลานั้นไม่มีใครคาดคิดว่าโครงการที่ประสิทธิ์ ทำจะเป็นการตุ๋นลงทุน

ตำรวจเข้าจับกุมตัว ประสิทธิ์ เจียวก๊ก

 

 

3. "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" ยังเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า M-Help Me"Save Your Life ซึ่งเป็นแอปที่คอยป้องกัน ช่วยเหลือ สื่อสาร เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ ให้สังคมมีส่วนร่วมในยุครัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

 

 

4. กระทั่งปี 2563 มีการเปิดเผยจากแกนนำคณะก้าวหน้าถึงขบวนการ IO ของกองทัพ ที่ใช้ประชาสัมพันธ์ด้านบวกของทหาร และโจมตีใส่ร้ายผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล โดยระบุว่า บริษัทเอกชนของ "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" เป็นคนให้กองทัพใช้เซิร์ฟเวอร์ในการปฏิบัติการ IO อีกทั้ง "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" ยังได้รับรางวัลเชิดชูคุณความดีอีกมากมาย 

 

 

 

5. แต่แล้วชีวิต "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" มีความพลิกผันจากการเป็นต้นแบบคนทำความดีเพื่อสังคม กลับกลายเป็นผู้ต้องหาตุ๋นลงทุน และตกเป็นผู้ต้องหาฉ้อโกง ความเสียหายนับ 1,000 ล้านบาท 

 

 

 

6. วันที่ 15 พ.ค. 2564 ตำรวจกองปราบปราม เปิดปฏิบัติการ"ปิดเกมส์คนเหนือโลก"เปิดความจริง "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" เปิดบริษัทเครือข่ายเพื่อหลอกเงินจากนักลงทุนหลายรูปแบบที่เข้าข่ายตุ๋นลงทุน อ้างว่าจะได้ผลตอบแทนสูง แต่สุดท้ายไม่ได้ค่าตอบแทนจริง

 

 

 

7. ยกอย่างเช่น "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" เปิดการขายแพ็คเกจท่องเที่ยวในโครงการ "เที่ยวเพื่อชาติ" ราคา 50,000 บาท อ้างว่า สามารถใช้จองห้องโรงแรม เข้าสปา ซื้ออาหารบุฟเฟ่ต์ได้เป็นจำนวนเงิน 1 แสนบาท เป็นต้น ซึ่งเป็นการโกงกหรือตุ๋นลงทุน ในรูปแบบเปิดบริษัทท่องเที่ยว ชักชวนผู้เสียหายซื้อแพ็คเกจทัวร์ แต่สุดท้ายไม่มีการจัดท่องเที่ยวจริง

 

 

 

8. ในที่สุดกองปราบปรามได้ออกหมายจับผู้ร่วมขบวนการหลายคน ตัวการใหญ่คือ "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" ที่ร่วมกันตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อตุ๋นลงทุน โดยการชักชวนให้ผู้เสียหายมาร่วมลงทุนหลายรูปแบบ โดยอ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนสูง ช่วงแรกๆ มีการจ่ายเงินค่าตอบแทนจริง เพื่อให้ผู้เสียหายตายใจ นำเงินมาลงทุนเพิ่มอีก

 

 

 

9. หลังจากนั้น "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" ก็เริ่มบ่ายเบี่ยงไม่จ่ายเงินผลตอบแทน และไม่คืนเงินลงทุนให้ผู้เสียหาย มีผู้ตกเป็นเหยื่อมากกว่า 1,000 ราย มูลค่าความเสียหายมากกว่า 1,000 ล้านบาทที่ถูกตุ๋นลงทุน

 

 

 

10. กระทั่งวันที่ 17 พ.ค. 2564 "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" เดินทางเข้ามอบตัวที่กองปราบปราม ยืนยันขอสู้คดีทางกฎหมาย โดยเจ้าตัวยืนยันหนักแน่นว่าไม่มีเจตนาโกง แต่เป็นการทำธุรกิจล้วน ๆ ซึ่งคดีนี้มีผู้เสียหายจำนวนมาก มูลค่าความเสียหายสูง ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ยอมให้กลุ่มตุ๋นลงทุน กลุ่มนี้ได้รับการประกันตัว

 

 

 

11. "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" ถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แต่มาเป็นข่าวดังขึ้นอีกครั้งเมื่อเขาวางแผนหลบหนีขณะขึ้นศาล 

 

12. วันที่ 22 ธ.ค. 2565 เวลาประมาณ 10.00 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เบิกตัว "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" มาที่ห้องพิจารณาคดี ศาลอาญา รัชดาฯ แต่ประสิทธิ์ ออกอุบายขอเข้าห้องน้ำ ทั้งที่ยังมีโซ่ตรวนอยู่ โดยไม่มีใครทราบว่ามีการเตรียมเสื้อผ้าไว้ในห้องน้ำ

 

 

 

13. ไม่มีใครคาดคิดว่า "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" ได้เข้าห้องน้ำเปลี่ยนชุดนักโทษออก แล้วใส่ชุดที่มีคนเตรียมไว้ให้ พร้อมทั้งถอดโซ่ตรวน หลบหนีไปยังบริเวณชั้น 3 แต่เจ้าหน้าที่ศาลจำได้ จึงได้ติดตาม ประสิทธิ์ กำลังจะกระโดดหนีทางหน้าต่าง เจ้าหน้าที่จึงเข้าควบคุมตัวไว้ได้ สุดท้ายหนีไม่รอด

 

 


 
14. จากที่"ประสิทธิ์ เจียวก๊ก"เคยถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แต่ด้วยพฤติกรรมพยามหลบหนีศาล ครั้งนี้ทำให้เขาถูกนำตัวไปคุมขังที่แดนความมั่นคงสูง เรือนจำกลางคลองเปรม ซึ่งเป็นการปิดฉากจอมตุ๋นลงทุนผู้อื้อฉาว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ