ข่าว

รู้จัก 'คดีพินัย' เปลี่ยนโทษ อาญา เป็น โทษปรับ ดีเดย์ใช้ 22 มิ.ย. 66

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รู้จัก 'คดีพินัย' การปรับเป็นพินัย ประธานศาลฎีกา ออกหลักเกณฑ์ เปลี่ยนโทษ อาญา เป็น โทษปรับ เริ่มใช้ 22 มิ.ย. 2566

หลัง ครม. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. ... “คดีพินัย” ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เพื่อเป็นกฎหมายกลางในการพิจารณา และกำหนดมาตรการสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนโทษ อาญา เป็น โทษปรับ

 

 

 

 

“คดีพินัย” คืออะไร คดีพินัย คือ ผู้กระทำความผิด ต้องชำระเงินค่าปรับตามที่กำหนด การปรับนั้นไม่ใช่โทษปรับทางอาญา ไม่มีการจำคุก หรือกักขังแทนการปรับ ไม่มีการบันทึกลงในประวัติอาชญากรรม ล่าสุด ประธานศาลฎีกา ได้ออกประกาศใช้ “คดีพินัย” แล้ว โดยเริ่มใช้ 22 มิ.ย. 2566 ประเดิมด้วยกฎหมายกระท่อมเป็นฉบับแรก 

 

โชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา

 

นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา ได้ออกประกาศข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีความผิดทางพินัย พ.ศ.2566 ตามที่ได้มี พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565 ซึ่งจะเริ่มใช้บังคับวันที่ 22 มิ.ย. 2566 มีผลทำให้ความผิดที่มีแต่เพียงโทษปรับสถานเดียวตามกฎหมายต่างๆ ตามบัญชีท้าย พ.ร.บ. ถูกเปลี่ยนเป็นโทษทางพินัย โดยไม่ถือเป็นความผิดอาญาอีกต่อไป โดยเริ่มกฎหมายพืชกระท่อมประเดิมเป็นฉบับแรก ส่วนอีก 168 พ.ร.บ. จะเปลี่ยนเป็น “คดีพินัย” ในเดือน ต.ค.นี้

       

 

หลักเกณฑ์คดีพินัย

 

 

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2566 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีความผิดทางพินัย พ.ศ.2566 สำหรับใช้เป็นกฎเกณฑ์ในการดำเนินคดีความผิดทางพินัยในชั้นศาล โดยมีหลักการที่น่าสนใจหลายเรื่อง เช่น  กำหนดให้ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ในการดำเนินคดี ไม่ว่าการยื่นฟ้อง ส่งเอกสาร หรือการพิจารณาคดีให้ทำทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ถ้าใครยังไม่พร้อมใช้ ก็ใช้วิธีการเดิมไปพลางก่อนได้

 

 

 

“คดีพินัย” สามารถพิจารณาลับหลังจำเลยได้ ซึ่งต่างจากคดีอาญาทั่วไป ที่ต้องพิจารณาคดีต่อหน้าจำเลย คดีพินัยถึงแม้จำเลยไม่มาสู้คดี ศาลก็พิจารณาคดีต่อได้ แต่ยังต้องพิจารณาจากหลักฐานว่า จำเลยทำผิดจริงหรือไม่ก่อนตัดสิน รวมถึงวางหลักเกณฑ์ใหม่เป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการพิพากษาคดี  ที่ศาลอำนวยความสะดวกเต็มที่ให้โจทก์จำเลยไม่ต้องมาฟังคำพิพากษาที่ศาลก็ได้ โดยสามารถขอให้ศาลส่งคำพิพากษาไปให้แทน

 

ภาพประกอบ คดีพินัย

ประโยชน์จาก “คดีพินัย” ประชาชนได้อะไร

 

 

 

  • ผู้กระทำผิดคดีพินัย ไม่ติดประวัติอาชญากร เพื่อลดผลกระทบทางสังคม
  • สามารถขอผ่อนชำระค่าปรับ หรือทำงานแทนค่าปรับได้ตามฐานะเศรษฐกิจ โดยกฎหมายกำหนดให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีประเภทนี้
  • ได้รับการคุ้มครองด้านสิทธิเสรีภาพ ความผิดทางอาญาจะบังคับใช้เฉพาะการกระทำความผิดที่ร้ายแรงเท่านั้น
  • ป้องกันการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินควร
  • สร้างความเป็นธรรมในสังคม และลดการทุจริต โดยเปลี่ยนความผิดร้ายแรงเป็นโทษปรับทางพินัย
  • ไม่มีการกักขังแทนค่าปรับ ไม่ต้องประกันตัว และไม่มีการบันทึกประวัติอาชญากรรม ให้คุกมีไว้ขังคนทำผิดร้ายแรงเท่านั้น

 

 

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัยนี้ ถือเป็นเรื่องใหม่ เนื่องจากเดิมศาลยุติธรรมมีแต่คดีแพ่ง คดีอาญา ต่อไปจะมีคดีพินัย เพิ่มอีกประเภท

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ