ข่าว

Exclusive : มือปราบหูดำ ฟันธง 'แอมไซยาไนด์' จ่อโทษประหารสถานเดียว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มือปราบหูดำ ฟันธง 'แอมไซยาไนด์' ไม่ใช่ฆาตรกรต่อเนื่อง ไม่ใช่ผู้ป่วยจิตเวช มีการไตร่ตรองวางแผนแยลยล ก่อโศกนาฏกรรมสะเทือนจิตใจคนทั่วโลก สังคมต้องตั้งสติ คดีนี้สู้กันอีกยาว 5-10 ปี จ่อโทษประหารสถานเดียว

Key points

  • 'แอมไซยาไนด์'ไม่ใช่ฆาตรกรต่อเนื่อง
  • 'แอมไซยาไนด์'ไม่ใช่ผู้ป่วยจิตรเวช
  • 'แอมไซยาไนด์' จ่อโทษประหารชีวิตสถานเดียว

 

พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ (ผู้การแต้ม)อดีตรองผู้บัญชาการตรวจนครบาล มือปราบหูดำ ให้สัมภาษณ์ “คมชัดลึก” ถึงคดี ‘แอมไซยาไนด์’ หรือ น.ส.สรารัตน์ รังสิวุฒาพรณ์ อายุ 36 ปี ผู้ต้องหาในคดีฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และข้อหาลักทรัพย์ ว่า จากพฤติการณ์ของ 'แอมไซยาไนด์' สังคมอย่าเป๋ ต้องตั้งหลักให้ดี อย่าสับสนตามที่สังคมโซเชียลตั้งข้อสังเกต จะทำให้สังคมไทยบิดเบี้ยวหมด 

 

"ต้องฟังพนักงานสอบสวน ต้องดูพยานหลักฐาน รวมถึงพยานบุคคล อย่าคาดการณ์ล่วงหน้า จนสำนวนเสียเหมือนคดีแตงโม และอย่าด่วนตัดสิน ทั้งที่คดียังไม่ส่งฟ้อง ยังไม่ถึงมือศาล และศาลยังไม่ตัดสิน และคดียังไม่ถึงที่สุด"

 

 

ไม่ใช่ฆาตรกรต่อเนื่อง

‘ฆาตรกรต่อเนื่อง’ หมายถึงฆาตรกร หรือ อาชญากรที่ก่อเหตุรุนแรงในเหตุเดียวกัน เป็นพฤติการณ์ที่กระทำซ้ำๆ ต่อเนื่อง เช่น ฆาตรกรเที่ยวผู้หญิงแล้วฆ่า ในทุกครั้งที่เที่ยวผู้หญิงจะฆ่า แต่ คดี 'แอมไซยาไนด์' ไม่ใช่ฆาตรกรต่อเนื่อง แต่เป็นอาชญากรที่ก่อเหตุรุนแรง แต่ละคดีมีมูลเหตุมาจากหลายสาเหตุ แต่ประสงค์ต่อทรัพย์ ไม่ใช่คดีอาญกรต่อนื่องแต่ทำหลายคดี

 

แอมไซยาไนด์ หรือ น.ส.สรารัตน์ รังสิวุฒาพรณ์ ผู้ต้องหาคดีสะเทือนขวัญ

ไม่ใช่ผู้ป่วยจิตเวช

'แอมไซยาไนด์' ไม่ใช่ผู้ป่วยจิตเวช เมื่อพิจารณาจากข้อมูลของพนักงานสอบสวนกองปราบปราม พบว่าแต่ละคดีมีการไตร่ตรอง มีการวางแผน เป็นขั้นตอน และแยบยล ถ้าคนป่วยจิตเวชทำแบบนี้ไม่ได้

 

"คดีแอมไซยาไนด์ ไม่มีอะไรน่าห่วงว่าผู้ก่อเหตุจะรอดจากความผิดได้ ต้องยึดตามพยานหลักฐานเป็นสำคัญ หากเป็นผู้ป่วยโรคจิตทำแบบนี้ไม่ได้ แต่นี่ข้าข่ายเป็นผู้ต้องหาที่ก่อคดีสะเทือนขวัญคนทั่วโลก"

 

โทษประหารชีวิตสถานเดียว

'คดีแอมไซยาไนด์' ไม่มีเพียงคดีเดียว แต่มีหลายคดีมาก เมื่อญาติผู้เสียชีวิตเริ่มทยอยออกมาให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้รัดกุมและรอบคอบมากที่สุด ได้แก่

  • พยานหลักฐาน
  • พยานบุคคล
  • พยานวัตถุ
  • พยานแวดล้อม
  • พยานด้านวิทยาศาสตร์

 

พนักงานสอบสวนจะนำพยานหลักฐาน พยานบุคคล พยานวัตถุ พยานแวดล้อม พยานด้านวิทยาศาสตร์ จากการผ่าพิสูจน์ศพเหยื่อผู้เสียชีวิต นำมาเชื่อมโยงกับพยานที่มีอยู่ทั้งหมด คดีนี้ผู้เสียชีวิตไม่ตายฟรี และไม่ได้ล่าช้า ต้องให้เวลาเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบค้นข้อมูลหลักฐานให้ชัดเจนก่อนทำสำนวนเสนออัยการ

 

"ไม่ต้องห่วง เมื่อผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ป่วยโรคจิตเวช แต่เป็นอาชการกรก่อโศกนาฏกรรม ต้องเชื่อมั่นในระบบศาล และเรื่องนี้ยังไม่ถึงมือศาล ยังต้องต่อสู้กันอีกนาน 5-10 ปี เพราะผู้ต้องหาตั้งทนายสู้คดี แต่จากพยานหลักฐานในเบื้องต้นเป็นคนที่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคม ฆ่าเหยื่อแบบไตร่ตรอง จ่อโทษประหารชีวิตอย่างเดียว"

 

...กมลทิพย์ ใบเงิน...เรียบเรียง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ