ข่าว

"บิ๊กโจ๊ก" ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ Thailand smart city Bangkok model

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"บิ๊กโจ๊ก" ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ Thailand smart city Bangkok model เดินหน้า ‘สมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0’ สร้างความปลอดภัยให้ประชาชนเป็นเมืองอัจฉริยะ กลางปี 2566 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพมหานคร พร้อมการันตีความสำเร็จของโครงการ จากงานประกวดตำรวจโลกที่ดูไบ ประเทศไทยได้อันดับ1

 พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ ในงาน Thailand smart city Bangkok ที่ เครือเนชั่นกรุ๊ป โดย "เนชั่นทีวี" และ "โพสต์ทูเดย์" จัดงาน จัดขึ้น ที่ โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ ในหัวข้อ ‘นโยบายและแนวทางเพื่อความปลอดภัยขั้นสุดของเมืองระดับมหานคร’

    โดย พล.ต.อ.สุรเชษฐ์  ระบุว่า สมาร์ทซิตี้เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้น แต่ประเทศไทยยังไม่เกิดขึ้น โดย "ตำรวจ" เป็นส่วนของความปลอดภัยของสมาร์ทซิตี้
   ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีโครงการสมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 ที่ทำขึ้นเพื่อรองรับแนวคิดสมาค์ทซิตี้ โดยมี อดีต "ผบ.ตร." พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข  เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดและตนเองเป็นผู้ลงมือทำ

โดยการเริ่มทำโครงการนี้ เริ่มจากการประเมินลักษณะทางกายภาพในการเลือกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นแลนด์มาร์คด้านเศรษฐกิจและพื้นที่ที่มีเหตุอาชญากรรมสูง ซึ่งการเข้าไปดำเนินการลักษณะทางกายภาพเริ่มต้นจากการปรับปรุงทางม้าลาย ทางเดินเท้า ปรับปรุงทัศนียภาพ เพิ่มไฟส่องสว่าง เพื่อให้เหิดความปลอดภัย เพราะเหตุอาชญากรรม ปัจจัยคือบุคคลเสี่ยงและสถานที่เสี่ยง ดังนั้นจะต้องทำพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยงให้ไม่มีความเสี่ยง และทำพื้นที่ที่ประชาชนไม่กล้าเดินให้ประชาชนกลับมาเดินตามปกติให้ได้ 
   และเมื่อปรับปรุงลักษณะทางกายภาพแล้วก็จะมาสู่การดำเนินการด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะกล้องวงจรปิด และที่ผ่านมารัฐบาลติดกล้องวงจรปิดเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอ เนื่องจากไม่ได้มีการบูรณาการกล้องวงจรปิดกับหน่วยงานอื่นๆ แต่วันนี้ได้มีการบูรณาการกล้องวงจรปิดกับทุกหน่วยงานแล้ว เพื่อให้มุมกล้องสอดรับกันหากเกิดเหตุขึ้นจะได้ไล่ตรวจสอบกล้องวงจรปิดได้ง่ายขึ้น และมองว่าวันนี้ต้องใช้คนนำเทคโนโลยีไม่ใช่ใช้เทคโนโลยีนำคน และจะต้องมีการปรับเพิ่มกล้องเอไอ เพื่อช่วยแยกแยะบุคคลต้องสงสัย 

 

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์  บอกด้วยว่า หลังจากทำโครงการนี้ ได้ 6 เดือน ก็ได้ประกวดงาน "ตำรวจ"โลก ที่จัดปีละครั้ง ที่ผ่านมาจัดที่เมืองดูไบ  ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นเมืองที่รวมทุกอย่างเป็นอันดับหนึ่งของโลกให้ได้มากที่สุด เป็นอันดับหนึ่ง ตนเองก็เอาโครงการนี้เข้าประกวด และ ปรากฎว่าประเทศไทยได้อันดับ 1 ของโลก ในรางวัล The Best Experien in community Policing  ในด้าน Crime Prevention จากการประชุมสุดยอดตำรวจโลก World Police Summit 2022  ทั้งที่เทคโนโลยีของอเมริกา อังกฤษเหนือกว่าเราเยอะ แต่ประเทศไทยได้รางวัลนี้ เพราะนวัตกรรมด้านการป้องกันจากการมีส่วนร่วมของประชาชน 
   ดังนั้นการดำเนินการที่ดีที่สุดคือจะต้องให้ประชาชนรู้สึกว่า ทำโครงการแบบนี้แล้วประชาชนจะได้อะไร ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางจริงๆ และให้ประชาชนรู้สึกได้ว่า ทำแล้วประชาชนจะได้อะไร และวันนี้งานตำรวจไม่ได้ยากจะต้องทำการสำรวจว่าประชาชนอยากให้ทำอะไร 

   ทั้งนี้ยืนยันว่า "โครงการสมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0"  จะขับเคลื่อนและเดินหน้าต่อ และครั้งแรกที่ทำได้งบประมาณมา70กว่าบ้านและเมื่อมีการขับเคลื่อนจริงจัง ก็ได้งบประมาณมาทำต่อ โดยในพื้นที่ กทม.มีโครงการนำร่องที่ สน.ลุมพินี และสน.ห้วยขวาง ซึ่งทำให้ที่ผ่านมาเหตุอาชญากรรมลดลง จากตัวชี้วัดตำรวจโลก ตั้งแต่เริ่มทำในพื้นที่มีนครบาลมีเหตุอาชญากรรมลดลงเกิน80% ส่วนความหวาดกลัวภัยในกทม. ถือเป็นสำคัญเพราะเป็นเรื่องของความรู้สึกคน และที่ผ่านมาตั้งแต่มีโครงการ ความกลัวของประชาชนก็ลดลง และสิ่งเหล่านี้ตนเองรักษาไว้ ไม่ใช่ทำแค่ชั่วคราว
    และขณะนี้อยู่ระหว่างรองบประมาณ ซึ่งรัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้ 375ล้านบาท เพื่อเดินหน้าโครงการนี้ โดยมีตนเองเป็นผู้ขับเคลื่อน และคาดว่ากลางปีหน้าจะครอบคลุมทั้งกรุงเทพมหานครได้

   พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ บอกเพิ่มเติม ว่า โครงการสมาร์ทเซฟตี้โซนเป็นโครงการที่ตอบโจทย์ประชาชนและต้องการให้มีครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ เพื่อรองรับสมาร์ทซิตี้ของทุกจังหวัด และวันนี้มีโรงพัก 1484สถานีตำรวจ  ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องดำเนอนการให้ครบทั้งหมด แต่จะเน้นพื้นที่เมืองหลวงให้ครบทึกพื้นที่ก่อน คาดว่ากลางปี 2566 จะครบทุกพื้นที่ 88สถานีตำรวจในกรุงเทพมหานคร 

 

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ


  และจากพื้นที่นำร่องไปแล้ว ทำให้ความเขื่อมั่นของประชาชนในการทำงานของตำรวจเพิ่มสูงขึ้น และความอุ่นใจของเหตุอาชญากรรมหรือความหวาดกลัวภัยจากตัวชี้วัดของการทำงานตำรวจโลกลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด พร้อมย้ำว่าจะต้องทำพื้นที่ทุกพื้นที่ให้ประชาชนเกิดความอุ่นใจและปลอดภัย และประชาชนจะเป็รตัวขี้วัดการทำงานของตำรวจด้วยหากประชาชนอุ่นใจก็หมายความว่าตำรวจได้ทำงานจริง
   ส่วนการทำให้ครอบคลุมทั้งประเทศ คงต้องใช้ระยะเวลาอีก 3 ปี เพราะสิ่งสำคัญคือเรื่องของงบประมาณ ยิ่งหากไปดำเนินการในจังหวัดเล็กๆงบประมาณค่อนข้างมีน้อย เพราะวันนี้สิ่งสำคัญที่วันนี้ประชาชนไว้ใจมากที่สุดคือกล้องวงจรปิด เพราะไม่สามารถโกหกภาพได้ และเมื่อมีการเชื่อมต่อกล้องวงจรปิดของแต่ละพื้นที่แต่ชุมชนเข้ามายังตู้ยามของตำรวจในแต่ละพื้นที่ได้ทั้งประเทศนั้น ตำรวจก็จะสามารถมอนิเตอร์เหตุการณ์ได้และสั่งการเข้าไปดำเนินการได้ทันรวมถึงแจ้งไปยังประชาชนให้เข้าไปช่วยตรวจสอบได้อีกด้วย ทั้งนี้ก็จะทำให้ประชาชนเกิดความอุ่นใจเพิ่มขึ้น เรียกว่าเป็นหารแจ้งเหตุแบบพิเศษ ไม่ต้องเสียเวลาโทรศัพท์เพื่อแจ้งเหตุอย่างเดียว 

 

บิ๊กโจ๊ก ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ Thailand smart city Bangkok model

logoline