ข่าว

เมื่อกทม. สั่งระงับเงินเยียวยา "5พันบาท" ผู้ค้ารายย่อยทั่วกรุงฯต้องทำอย่างไร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ด่วน กทม. สั่งระงับเงินเยียวยา "5พันบาท" ผู้ค้ารายย่อย นอกระบบประกันสังคม ตามมาตรการสกัดโควิดระลอก3 แล้ว

จากกรณีทางกรุงเทพมหานคร ได้มีการเผยแพร่ข่าวการเยียวยาผู้ค้ารายย่อย ที่อยู่นอกระบบประกันสังคม โดยมีแนวทางให้สำนักงานเขต สำรวจ "ผู้ค้ารายย่อยที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนประกันตนกับทางสำนักงานประกันสังคม" สำนักงานเขตละ 200 ราย เพื่อรับเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท "5พันบาท" เพื่อใช้สำหรับเป็นทุนสำรองในการดำรงชีพของประชาชนนั้น 

 

 

 

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางจินดารัตน์ ชโยธิน ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้แจ้งข้อความในกลุ่มไลน์สื่อมวลชนประจำ กทม. ว่า ขอยกเลิกข่าวการเยียวยาผู้ค้ารายย่อยคนละ "5พันบาท" จำนวนเขตละ 200 คน ข้างต้นเอาไว้ก่อน เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่จากสำนักประชาสัมพันธ์ กทม.ได้ระบุเพิ่มเติมว่า  "ขอตรวจสอบความชัดเจน เมื่อมีข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว จะส่งให้ช่วยเผยแพร่ใหม่นะคะ ขออภัยด้วยค่ะ"

 

อย่างไรก็ตาม หากมาตรการช่วยเหลือผู้ค้าในส่วนของ กทม. ระงับเงินเยี่ยวยา "5พันบาท" จะยังไม่มีข้อสรุป แต่ในส่วนของรัฐบาล ตามมติ ครม. วันนี้ (29 มิ.ย.) ได้เห็นชอบการดูแลทั้งลูกจ้าง และนายจ้าง ทั้งที่อยู่ในระบบ และ นอกระบบประกันสังคม ภายใต้งบประมาณ 8.5 พันล้านบาท รายละเอียดดังนี้

นายจ้าง/ลูกจ้าง ในระบบประกันสังคม
1. มาตรการที่ช่วยเหลือลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมจะได้รับการจ่ายเงินค่าจ้างให้ในสัดส่วน 50% ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 7,500 บาทต่อคนต่อเดือน 

2. มาตรการในการช่วยเหลือ ลูกจ้างในระบบประกันสังคม ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษอีก 2,000 บาท เนื่องจากลูกจ้างบางส่วนได้รับผลกระทบจากการหยุดงาน หรือบางธุรกิจอาจไม่จ่ายเงินเดือนให้ในช่วงนี้รัฐจึงให้เงินเป็นกรณีพิเศษเพื่อช่วยเหลือในช่วงเวลานี้ 

3. มาตรการในการช่วยเหลือนายจ้าง โดยนายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 3,000 บาทโดยเป็นการจ่ายรายหัวให้กับลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการจริงแต่ไม่เกิน 200 คน กำหนดระยะเวลา 1 เดือน 

 

นายจ้าง/ลูกจ้าง/ผู้ประกอบการ นอกระบบประกันสังคม
สำหรับ แรงงานที่อยู่นอกระบบประกันสังคม รัฐบาลได้กำหนดให้นายจ้าง/ผู้ประกอบการ นำส่งข้อมูลเข้าระบบประกันสังคมใน 1 เดือน เพื่อรับการช่วยเหลือ ดังนี้ 

- นายจ้าง จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 3,000 บาท โดยเป็นการจ่ายรายหัวให้กับลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการจริงแต่ไม่เกิน 200 คน กำหนดระยะเวลา 1 เดือน 

- ลูกจ้าง ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษอีก 2,000 บาท แต่จะไม่ได้ให้ค่าชดเชยการว่างงานฉุกเฉินในสัดส่วน 50%

   

ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง ไม่สามารถเข้าระบบประกันสังคมได้ 
สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง ไม่สามารถเข้าระบบประกันสังคมได้ ก็ยังสามารถรับการเยียวยาในส่วนนี้ได้ โดยการลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่น "ถุงเงิน" ในส่วนของมาตรการคนละครึ่ง เพื่อรับเงินเยียวยา 3,000 บาท ผ่านแอพฯ ถุงเงิน
 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ