ข่าว

วิกฤติแล้ว เตียงผู้ป่วย "โควิด" แพทย์ย้ำเกินศักยภาพ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมการแพทย์ ยอมรับ ขณะนี้เตียงผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่ กทม. ทุกกลุ่มเต็มศักยภาพ ไม่สามารถขยายเตียงเพิ่มได้อีกแล้ว

นพ. สมศักดิ์  อรรฆศิลป์  อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า สำหรับสถานการณ์เตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐฯ ทุกระดับสี ในพื้นที่ กทม. โดยพบว่าทุกแห่งศักยภาพในการรองรับผู้ป่วยรายใหม่ในขณะนี้ เกือบเต็มทั้งหมดแล้ว โดยเฉพาะเตียงผู้ป่วยสีแดง ใน กทม. เหลือประมาณ 20 เตียง จากเดิมที่เคยคาดการณ์เอาไว้ว่า การระบาดระลอกในเดือนเมษายน จะมีเตียงรองรับผู้ป่วย ได้ถึงวันละ 400-500 คน 

 

วิกฤติแล้ว เตียงผู้ป่วย "โควิด" แพทย์ย้ำเกินศักยภาพ

 

 

ซึ่งขณะนั้น แต่ละโรงพยาบาลได้เพิ่งเตียงไอซียู  ในทุกสังกัดเพิ่มขึ้น รวมถึงการแบ่งโซน6 พื้นที่ใน กทม. เพื่อดูแลผู้ป่วย และบริหารจัดการเตียงร่วมกัน  แต่เนื่องจากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อใน กทม. ยังคงเพิ่มมากขึ้นทุกวัน มากกว่าพันคนในแต่ละวัน  ทำให้สถานการณ์เตียงที่จะรองรับผู้ป่วยในทุกระดับสี เกือบวิกฤต   ขณะเดียวกันแนวโน้มกลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง ที่เริ่มมีอาการหนักขึ้น หรือกลายเปลี่ยนเป็นสีแดง ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย  จึงส่งผลให้อัตราครองเตียงสีแดง เพิ่มขึ้นตามไปด้วย  รวมถึงเตียงในผู้ป่วยสีเขียว 

 

นอกจากนี้  โรงพยาบาลเอกชน ประมาณ 100-200 แห่ง ในพื้นที่ กทม. แม้จะมีห้องไอซียู. รองรับได้ 1-2 เตียง แต่ปัญหาสำคัญ คือ ขาดบุคลกรทางการแพทย์ ในการดูแล  เนื่องจากบุคลกรเหล่านี้ ก็มาจากโรงพบาบาลของรัฐฯ ที่ทำงานนอกเวลา ขณะเดียวกันบุคลกรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งตอนนี้ ได้ทำงานเกินกำลัง ในการดูแลผู้ป่วยทุกคนอยู่แล้ว 

 

ส่วนการแก้ปัญหาในขณะนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุข และทุกฝ่าย พยายามแก้ปัญหาในทุกวิถีทาง ทั้งการแบ่งโซนดูแลผู้ป่วยแต่ละพื้นที่  โดยหลักตอนนี้ คือ ทำอย่างไรให้สามารถลดจำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรง ลงให้ได้มากที่สุด 

 

ล่าสุดในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ร่วมกับทาง กทม. ออกแนวทาง  cummunity isolation คือ การแยกตัวออกจากชุมชนทันที  และทำ บับเบิลแอนด์ซิลไว้   ขณะเดียวกันตอนนี้  มีการติดเชื้อในผู้สูงอายุมากขึ้น  เบื้องต้นได้มีการหารือกับทาง กทม. จัดทำแนวทาง Nursing home isolation  กรณีหากผู้ดูแล และผู้สูงอายุติดเชื้อ แต่อาการไม่มาก  โดยให้ช่วยดูแลผู้สูงอายุระหว่างรอเตียง ขณะเดียวกันจะมีแพทย์ในพื้นที่คอยให้คำปรึกษา เพื่อผ่อนคลายระหว่างการจัดสรรเตียง

 

ขณะนี้ ผู้เสียชีวิตรายวัน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ ร้อยละ 80-90 มีโรคร่วม เบาหวาน ความดัน อ้วน และตอนนี้พบผู้สูงอายุติดเตียงมากขึ้น ได้หารือกับทาง กทม. เร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงมากขึ้น เพื่อลดการป่วย และลดการเสียชีวิต 

 

 

ขณะที่ ด้าน นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี ระบุว่า ขณะนี้เตียงผู้ป่วยไอซียูโควิด-19 ใน รพ.ราชวิถี เต็มทุกเตียง ทั้งไอซียูเต็มรูปแบบ และไอซียูส่วนต่อขยายที่เพิ่มมา สำหรับผู้ป่วยสีแดง อัตราครองเตียงในห้องไอซียูโควิด เฉลี่ยอยู่ประมาณ 10-20 วัน หากตรวจเชื้อซ้ำแล้วพบว่าไม่ติดเชื้อ ก็จะถูกย้ายไปยังห้องไอซียูทั่วไป  โดยตอนนี้ต้องสำรองเตียงไว้สำหรับผู้ป่วยโควิด ที่มีภาวะฉุกเฉิน ต้องผ่าตัด หรือช่วยเหลือที่เร่งด่วนด้วย

 

วิกฤติแล้ว เตียงผู้ป่วย "โควิด" แพทย์ย้ำเกินศักยภาพ

 

ทั้งนี้ภาพรวมสถานการณ์เตียงในกรุงเทพ และปริมณฑลวันที่ 21 มิถุนายน จากกรมการแพทย์ พบว่า ห้องสำหรับผู้ป่วยสีแดง อย่างห้องไอซียูความดันลบ ผู้ป่วยครองเตียง 268 เตียง ว่าง 46 เตียง / หอผู้ป่วยวิกฤตที่ดัดแปลงเป็นห้องความดันลบ ครองเตียง 689 เตียง ว่าง 68 เตียง /ห้องไอซียูรวม ครองเตียง 267 เตียง ว่าง 34 เตียง

 

ห้องสำหรับผู้ป่วยสีเหลือง ห้องแยก ครองเตียง 3,529 เตียง ว่าง 527 เตียง /ห้องสามัญ ครอง 6,582 ว่าง 1,458 เตียง และห้องสำหรับผู้ป่วยสีเขียว hospitel ครองเตียง 10,263 ว่าง 3,267 เตียง / เตียงสนาม ครองเตียง ว่าง 803 เตียง.

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ