ข่าว

ในหลวง เสด็จฯถวายผ้าพระกฐิน ทางชลมารค 24 ต.ค.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทร. แถลงจัดขบวนเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน พยุหยาตราทางชลมารค 24 ต.ค.นี้

 

                เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 5 ก.ค. 2562 ที่ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารส่วนบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) พล.ต.ท.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ,นายวิมานุกรรักษ์ ผู้อำนวยการสำนัก ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม กรมเจ้าท่า,นางประนอม คลังทอง รองอธิบดีกรมศิลปากร,นางพรทิพย์ อุดมเวทยนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ,พล.ร.อ.สมหมาย วงษ์จันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมขบวนเรือพระราชพิธี และพล.ร.ท.จงกล มีสวัสดิ์ รองเสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมขบวนเรือพระราชพิธี ร่วมกันแถลงข่าว การประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวน พยุหยาตราทางชลมารค ครั้งที่ 2/2562 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมขบวนเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 

 

 

 

                พล.ร.อ.ลือชัย กล่าวว่า วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่เป็นความภาคภาคภูมิใจของกองทัพเรือ และคณะอนุกรรมการจัดงาน ตามที่มีประกาศสํานักพระราชวัง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2562 เรื่องทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ให้มีการเสด็จเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในช่วงการพระราชพิธีทรงบําเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ปลายปี พ.ศ.2562 นั้น ถือเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเบื้องปลาย และการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการนี้ รัฐบาลได้มอบภารกิจในการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนิน ไปถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 

                โดยให้กองทัพเรือเป็นหน่วยงานหลักในการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆและมีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นอนุกรรมการ เช่น กรมศิลปากรกรมเจ้าท่า กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานราชการในพระองค์เป็นที่ปรึกษาและอนุกรรมการ คอยให้คําปรึกษาและข้อแนะนําการปฏิบัติต่าง ๆ ให้แก่คณะอนุกรรมการ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สง่างาม และสมพระเกียรติ โดยการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ได้จัดเตรียมเรือพระราชพิธี รวมทั้งสิ้น จํานวน 52 ลํา โดยมีเรือที่สําคัญเป็นเรือพระที่นั่ง ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้ ยังมีเรือพระราชพิธีอื่นด้วยเช่น เรือรูปสัตว์ เรือดั้ง เรือแซง เป็นต้น

 

 

ในหลวง เสด็จฯถวายผ้าพระกฐิน ทางชลมารค 24 ต.ค.

 

 

                ทั้งนี้ในส่วนของ คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกฯ ได้ดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมมาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนเรือพระราชพิธี ทั้ง 52 ลำ นั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 มาจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 7 ปี ที่ได้ว่างเว้นการจัดขบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค โดยกองทัพเรือได้ร่วมกับกรมศิลปากรสำรวจสภาพเรือพระราชพิธีแล้ว มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก เช่น เรือมีรอยแตก ตัวเรือบิด เป็นต้น 

                พล.ร.อ.ลือชัย กล่าวว่า เป็นอีกวันหนึ่งที่กองทัพเรือมีความภาคภูมใจยิ่งของกองทัพเรือ การนี้กองทัพเรือจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ในการซ่อมทําบูรณะเรือพระราชพิธี โดยแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนการซ่อมตัวเรืออยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพเรือโดยกรมอู่ทหารเรือ ส่วนการตกแต่งตัวเรืออยู่ในความรับผิดชอบของกรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ปัจจุบันได้ดำเนินการซ่อมบูรณะเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เรือพระราชพิธีทั้ง 52 ลำ อยู่ในสภาพพร้อมที่เข้าร่วมพระราชพิธีฯ ในครั้งนี้ ซึ่งในวันที่ 11 กรกฎาคม 2562 นี้ จะดำเนินการประกอบพิธีบวงสรวงเรือ พระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ จำนวน 14 ลำ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และโรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี จากนั้นวันที่ 12-23 กรกฎาคม จะเชิญเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ลงน้ำ และลากจูงเรือเข้าเก็บที่ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ เพื่อเตรียมงานพระราชพิธี การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ได้จัดเตรียมเรือพระราชพิธี รวมทั้งสิ้น จํานวน 52 ลํา โดยจัดรูปขบวนเรือพระราชพิธี ตามรูปแบบโบราณราชประเพณี ทุกประการ ซึ่งจะจัดรูปขบวนเรือ แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ประกอบด้วย

                ริ้วสายกลาง ซึ่งเป็นเรือพระราชพิธีสายสำคัญ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ มีเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่ง อเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้ยังมีเรืออีเหลือง เป็นเรือกลองนอก เรือแตงโม เป็นเรือกลองใน โดยเป็นเรือของ ผู้บัญชาการขบวนเรือพระราชพิธี พร้อมด้วย เรือตำรวจนอก และเรือตำรวจใน

 

 

ในหลวง เสด็จฯถวายผ้าพระกฐิน ทางชลมารค 24 ต.ค.

 

 

                ริ้วสายใน ขนาบข้างทั้งสองข้างของริ้วสายกลาง โดยมีเรือทองขวานฟ้า และเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือประตูหน้า เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ จำนวน 8 ลำ และปิดท้ายริ้วสายในด้วย เรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง เป็นเรือคู่ชัก

                ริ้วสายนอก ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ รวมขบวนเรือพระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ

 

 

 

                ด้านกําลังพลประจําเรือพระราชพิธี ได้คัดเลือกกําลังพลจากหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ จํานวน 2,200 นาย เป็นกําลังพลประจําเรือพระราชพิธี ซึ่งเป็นกําลังพลของกองทัพเรือทั้งหมด ส่วนใหญ่ เป็นกําลังพลที่ไม่เคยเป็นกําลังพลประจําเรือพระราชพิธีมาก่อน และได้มีการฝึกซ้อมมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยปัจจุบันได้รับการฝึกความคุ้นเคยกับเรือภายในหน่วยเสร็จสิ้นแล้ว ต่อไปจะเป็นการฝึกซ้อมในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม เป็นต้นไป 

                โดยเป็นการฝึกซ้อมการเข้ารูปขบวน และการเดินทางเป็นรูปขบวนเดินทางตามลําดับ เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงของเรือในขบวนเรือพระราชพิธี มีกําหนดการซักซ้อมในแม่น้ำเจ้าพระยา ตามแผนการซ้อม จํานวน 10 ครั้ง แบ่งเป็นการซ้อมย่อย จํานวน 8 ครั้ง และซ้อมใหญ่ จํานวน 2 ครั้ง เป็นการซ้อมเสมือนวันพระราชพิธีฯ เพื่อให้มีความพร้อมที่ปฏิบัติงานในวันพระราชพิธีที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 ตุลาคม ทั้งนี้เส้นทางเสด็จพระราชดําเนินที่ได้เตรียมไว้เป็นเส้นทางเดียวกับที่เคยใช้มาตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือ เส้นทางจากท่าวาสุกรี ถึง วัดอรุณราชวราราม

 

 

ในหลวง เสด็จฯถวายผ้าพระกฐิน ทางชลมารค 24 ต.ค.

 

 

                “นับเป็นบุญของพวกเรากองทัพทหารเรือ ที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย ให้จัดขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคถวายพระเกียรติท่านในครั้งนี้ และต้องขอบคุณรัฐบาลที่ได้มอบภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ให้แก่กองทัพเรือ ผมพูดแทนกำลังพลทุกนายของกองทัพเรือด้วยเลยว่า ทุกคนมีความภาคภูมิใจ จะทำให้ดีที่สุดให้ความเรียบร้อย สง่างาม สมพระเกียรติ เพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพและเทิดทูนยิ่งของ ประชาชนชาวไทยทุกคน ที่สำคัญคือจะเหน็ดเหนื่อยยากประการใด กำลังพลทุกคนไม่เคยท้อแท้ มีอย่างเดียวคือต้องทำเพื่อสถาบันที่รักยิ่งของเรา ที่ทุกคนเทิดไว้เหนือเกล้า สุดท้ายคือ อยากเชิญชวนประชาชนอีกครั้งหนึ่ง มาร่วมกันชื่นชมพระบารมี ชื่นชมความสวยงาม ชื่นชมอารยธรรมอันเก่าแก่ของประเทศไทย ขอย้ำว่า ไม่มีชาติใดในโลกเหมือนเราอีกแล้ว ขอเชิญชวนเยาวชนรุ่นใหม่จงมาศึกษาหาความรู้และจงภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทยตั้งแต่ครั้งอดีตว่าประเทศไทยไม่แพ้ชาติใดในโลกและของบอกถึงลูกหลานเยาวชน ที่ชอบโพส์ในโซเชียล ให้หันกลับมาดูรากเหง้า อารยธรรมที่สืบทอดมากว่า 700 ปี ไม่ได้สร้างมาเพียงแค่ข้ามวัน” พล.ร.อ.ลือชัย กล่าว 

                สำหรับการเตรียมการจัดขบวนเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในครั้งนี้ เป็นการจัดรูปขบวนตามรูปแบบโบราณราชประเพณี ทุกประการ โดยจัดรูปขบวนเรือ แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ประกอบด้วย

                - ริ้วสายกลาง ซึ่งเป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ มีเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลือง เป็นเรือกลองนอก เรือแตงโม ซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือ เป็นเรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอก และเรือตำรวจใน

                - ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง มีเรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือประตูหน้า เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ 8 ลำ และปิดท้ายสายในด้วยเรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง ซึ่งเป็นเรือคู่ชัก

                - ริ้วสายนอก ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ รวมทั้งสิ้น 52 ลำ

 

 

ในหลวง เสด็จฯถวายผ้าพระกฐิน ทางชลมารค 24 ต.ค.

 

 

                ทั้งนี้ เรือทุกลําทำจากไม้ มีอายุในการสร้างมาก โดยเฉพาะเรือพระที่นั่งทั้ง 3 ลํา กล่าวคือ

                เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างในรัชกาลที่ 5 มีอายุกว่า 102 ปี เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างในรัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จสิ้นในรัชกาลที่ 6 มีอายุ 108 ปี เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างในรัชกาลที่ 6 มีอายุ 95 ปี

                เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2539 มีอายุ 23 ปี ส่วนเรืออื่นๆในขบวน โดยเฉพาะเรือรูปสัตว์ แต่ละลํา ที่มีอายุการสร้างนับร้อยปี การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ