ข่าว

"กรมทรัพยากรน้ำบาดาล"เปิดบันได3ขั้น สู่"แปลงใหญ่"ใช้น้ำเพื่อการเกษตรยั่งยืน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ที่ปรึกษาอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล" เผยเตรียมเดินหน้าต่อยอด"แปลงใหญ่น้ำบาดาล" เพื่อการเกษตรปีที่2 อีก 17 แห่งทั่วประเทศ หลังนำร่องโครงการต้นแบบ 6 แห่งในปีแรกพร้อมไต่บันได 3 ขั้นเพื่อก้าวสู่การใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน

รศ.ดร.วิโรจ อิ่มพิทักษ์ ที่ปรึกษาอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวในรายการ”เกษตรวาไรตี้” ในหัวข้อ”เจาะลึกน้ำบาดาลกับโมเดลสู่ความยั่งยืน” ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ม.ก.

 

โดยระบุว่าผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในปัจจุบันทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดวิกฤติภัยแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ส่งผลทำให้ผลผลิตภาคการเกษตรเสียหายหรือไม่ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย 

 

"กรมทรัพยากรน้ำบาดาล"เปิดบันได3ขั้น สู่"แปลงใหญ่"ใช้น้ำเพื่อการเกษตรยั่งยืน

รศ.ดร.วิโรจ อิ่มพิทักษ์ ที่ปรึกษาอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล

 

"กรมทรัพยากรน้ำบาดาล"เปิดบันได3ขั้น สู่"แปลงใหญ่"ใช้น้ำเพื่อการเกษตรยั่งยืน

 

"น้ำบาดาล"จึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่มนุษย์โลกควรจะนำขึ้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สุงสุด

 

จากข้อมูลกรมทรัพยากรน้ำบาดาลระบุปริมาณน้ำบนผิวโลก ปรากฎว่าในน้ำ 100% นั้นเป็นน้ำเค็มในมหาสมุทรถึง 97% มีน้ำจืดเพียง 3% เท่านั้น ซึ่งประกอบด้วย น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินหรือที่เรียกว่าน้ำบาดาล   

 

รศ.ดร.วิโรจแจงรายละเอียดต่อว่า ในขณะนี้ประเทศไทยมีน้ำบาดาลสำรองอยู่ประมาณ 1,137,713 ล้านลูกบาศก์เมตรและสามารถนำชึ้นมาใช้ได้เพียง 45,386 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ขณะที่ปริมาณที่นำขึ้นมาใช้จริงนั้นในปัจจุบันมีแค่ 14,741 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น เพราะฉะนั้นปริมาณน้ำบาดาลยังมีอีกเหลือเฟือที่พร้อมนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในภาคการเกษตร 

 

"กรมทรัพยากรน้ำบาดาล"เปิดบันได3ขั้น สู่"แปลงใหญ่"ใช้น้ำเพื่อการเกษตรยั่งยืน

 

 “เพราะนั้นมีความชัดเจนว่าน้ำบาดาลนับวันมีความสำคัญต่อคนไทยมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ แน่นอนว่าน้ำที่เอาขึ้นมาย่อมใช้ต้นทุนสูงกว่าน้ำผิวดิน ฉะนั้นเราจะทำอย่างไรให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุดและมั่นคงยั่งยืน” 

 

ที่ปรึกษาอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ยอมรับว่า ที่ผ่านมาภารกิจกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเพียงแค่นำน้ำขึ้นมาจากใต้ดินก็จบ แต่ความจริงไม่ใช่เพราะจะต้องมีการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายต่อยอดการใช้น้ำ โดยการบูรณาการจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้น้ำทุกหยดที่นำขึ้นมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ซึ่งที่ผ่านมากรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการเพียงแค่บันไดขั้นแรกเท่านั้นคือการสูบน้ำขึ้นมาจากใต้ดิน  

 

"กรมทรัพยากรน้ำบาดาล"เปิดบันได3ขั้น สู่"แปลงใหญ่"ใช้น้ำเพื่อการเกษตรยั่งยืน

 

“ที่ผ่านมากรมทรัพยากรน้ำบาดาลนำน้ำขึ้นมาถือว่าภารกิจจบ แต่ความจริงมันยังไม่จบ มันต้องบริหารจัดการกระจายน้ำต่อไปโดยร่วมกับภาคีเครือข่ายแล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับภูมิสังคมบริเวณนั้นด้วยว่าปลูกพืชอะไร พืชชนิดใด ทำการเกษตรแบบไหน มีระบบกระจายน้ำเป็นอย่างไรให้เป็นไปตามต้องการของเกษตรกร” 

 

 รศ.ดร.วิโรจ ยังกล่าวต่อไปว่า หลังจากที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีโครงการแปลงใหญ่น้ำบาดาลเพื่อการเกษตร โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.เข้ามาร่วมกันจัดทำโครงการนำร่องต้นแบบ )

 

"กรมทรัพยากรน้ำบาดาล"เปิดบันได3ขั้น สู่"แปลงใหญ่"ใช้น้ำเพื่อการเกษตรยั่งยืน

 

ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้ว 6 แห่ง ได้แก่ กาญจนบุรี ลำพูน เพชรบูรณ์ ยโสธร เลยและสระแก้ว ปรากฎว่ามีเกษตรกรได้รับประโยชน์มากกว่า 300 รายมีพื้นที่ได้รับประโยชน์มากกว่า 3,000 ไร่ และมีปริมาณการใช้น้ำรวม 657,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อการทำเกษตรแปลงใหญ่และขณะนี้กำลังดำเนินการต่อยอดโครงการปีที่สองอีก 17 แห่งเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรของประเทศมากขึ้น

 

ที่ปรึกษาอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ยังกล่าวถึงบันได 3 ขั้นโครงการแปลงใหญ่น้ำบาดาลเพื่อการเกษตร โดยขั้นแรกเป็นภารกิจของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลที่ต้องนำน้ำขึ้นมาจากใต้ดิน จากนั้นไปสู่ขั้นที่สองมีการกระจายน้ำไปสู่แปลงปลูก

 

แต่เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและยั่งยืนโดยมีการตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำพร้อมปรับเปลี่ยนผู้ใช้น้ำเป็นผู้ผลิตร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต.เทศบาล ตลอดจนสถาบันการศึกษาที่จะเข้ามาร่วมบริหารจัดการน้ำและดูแลพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ เพื่อก้าวไปสู่บันไดขั้นที่สาม คือ การหาตลาดรองรับ 

 

“หลังจากที่ได้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาโครงการเกษตรกรแปลงใหญ่น้ำเพื่อการเกษตรของกระทรวงทรัพย์ฯในปีแรกก็ได้ทำโครงการนำร่องต้นแบบขึ้น 6 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินผลโครงการและกำลังต่อยอดปีที่สองอีก 17แห่งตามภูมิสังคมที่ไม่เหมือนกันทั้งชนิดพืชที่ปลูกและสภาพน้ำจะต้องไปด้วยกัน อันนี้ก็เป็นหน้าที่ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลร่วมกับพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่และภาคีเครือข่ายที่มาร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน”รศ.ดร.วิโรจ ย้ำทิ้งท้าย  
                                     

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ