ข่าว

"กรมชลฯ"คุมเข้มแผนจัดการ"น้ำ"ฤดูฝนขับเคลื่อน 10มาตรการ รับมือ"น้ำหลาก"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กรมชลประทาน"สนองนโยบายรัฐขับเคลื่อน10 มาตรการเตรียมรับมือ"ฝนตกหนัก"ช่วงปลายฤดูตามคาดการณ์เผยอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง-ขนาดใหญ่ สามารถรับ"น้ำ"ได้อีกกว่า42,000 ล้านลบ.ม.พร้อมคุมเข้มแผนการบริหารจัดการ"น้ำ"ในช่วงฤดฝน

 

"กรมชลประทาน"สนองนโยบายรัฐขับเคลื่อน10 มาตรการเตรียมรับมือ"ฝนตกหนัก"ช่วงปลายฤดูตามคาดการณ์เผยอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง-ขนาดใหญ่ สามารถรับ"น้ำ"ได้อีกกว่า42,000 ล้านลบ.ม.พร้อมคุมเข้มแผนการบริหารจัดการ"น้ำ"ในช่วงฤดูฝนหลังประสบผลสำเร็จในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภาวะฝนทิ้งช่วง


นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่า ในช่วงฤดูฝนปีนี้ปริมาณฝนตกจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 5 – 10 โดยตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2564 ฝนตกชุกหนาแน่นประมาณร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่และจะมีฝนหนักในหลายพื้นที่ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งได้นั้น

 

"กรมชลฯ"คุมเข้มแผนจัดการ"น้ำ"ฤดูฝนขับเคลื่อน 10มาตรการ รับมือ"น้ำหลาก"

 

 

"กรมชลฯ"คุมเข้มแผนจัดการ"น้ำ"ฤดูฝนขับเคลื่อน 10มาตรการ รับมือ"น้ำหลาก"

 

กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมโดยนำ 10 มาตรการในการรับมือฤดูฝนของรัฐบาลมาปฏิบัติในเชิงป้องกันก่อนเกิดภัย ไม่ว่าจะเป็นมาตรการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยได้มีการประเมินและเตรียมความพร้อมเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มเพื่อรองรับน้ำหลากซึ่งได้มีการวางแผนไว้ทุกลุ่มน้ำแล้วเช่นกันโดยเฉพาะในลุ่มเจ้าพระยา กรมชลประทานจะใช้ทุ่งบางระกำและ 12 ทุ่งของลุ่มเจ้าพระยาในการรองรับน้ำหลาก

 

"กรมชลฯ"คุมเข้มแผนจัดการ"น้ำ"ฤดูฝนขับเคลื่อน 10มาตรการ รับมือ"น้ำหลาก"

 

นอกจากนี้ยังได้ทบทวนปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่-กลาง เขื่อนระบายน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์

 

พร้อมทั้งได้ติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่- กลาง ซึ่งขณะนี้อ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำรวม 33,644 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)หรือ ร้อยละ 44 ของปริมาณการกักเก็บโดยเป็นปริมาณน้ำที่ใช้งานได้ 9,714 ล้านลบ.ม.หรือ ร้อยละ 19 ของปริมาณการกักเก็บสามารถรับรองน้ำได้อีกมีมากกว่า 42,423 ล้านลบ.ม. 

 

"กรมชลฯ"คุมเข้มแผนจัดการ"น้ำ"ฤดูฝนขับเคลื่อน 10มาตรการ รับมือ"น้ำหลาก"

 

รวมทั้งยังได้ซ่อมแซมปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน ตลอดจนได้ปรับปรุง แก้ไข กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำพร้อมทั้งได้ขุดลอกคูคลอง กำจัดผักตบชวา-วัชพืชในแม่น้ำและคูคลองโดยร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งนี้เพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำและช่วยให้ระบายน้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 อีกทั้งยังได้เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือและบุคลากรโดยเฉพาะเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ได้จัดเตรียมไว้ทั่วประเทศแล้วกว่า 2,138  เครื่องพร้อมที่ช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

"กรมชลฯ"คุมเข้มแผนจัดการ"น้ำ"ฤดูฝนขับเคลื่อน 10มาตรการ รับมือ"น้ำหลาก"

 

 “กรมชลประทานยังได้ดำเนินมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำตลอดจนวางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน พร้อมทั้งได้สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องและยังได้ติดตามประเมินผลเพื่อปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันอีกด้วย” นายประพิศ กล่าว

 

 อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวด้วยว่า ในช่วงต้นฤดูฝนที่ผ่านมาเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงประกอบกับปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำต่างๆอยู่ในเกณฑ์น้อยแต่เกษตรกรส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในลุ่มเจ้าพระยา 22 จังหวัดได้ทำการเพาะปลูกข้าวนาปีไปแล้ว มีความเสี่ยงที่ข้าวจะได้รับความเสียหาย

 

กรมชลประทานวางแผนบริหารจัดการน้ำช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษด้วยการจัดสรรน้ำตามรอบเวรให้กับเกษตรกร พร้อมทั้งประสานความขอความร่วมมือจากเกษตรกรที่ยังไม่ได้เพาะปลูกข้าวนาปีให้ชะลอออกไปก่อจนกว่าฝนจะตกอย่างสม่ำเสมอ  ซึ่งประสบผลสำเร็จทำให้ข้าวนาปีไม่ได้รับความเสียหาย

 

 “กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัดและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยให้ความสำคัญในการจัดสรรน้ำทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศ  การเกษตรและอุตสาหกรรม

 

ทั้งนี้ในช่วงฤดูฝนปี 2564 ได้ประเมินว่าจากความต้องการใช้น้ำทั้งประเทศประมาณ32,339 ล้าน ลบ.ม.จะจัดสรรเพื่อการอุปโภค-บริโภค 2,686 ล้าน ลบ.ม. การเกษตร 21,827 ล้านลบ.ม. อุตสาหกรรม 460 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ7,366 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งขณะนี้การจัดสรรน้ำเป็นไปตามแผนที่วางโดยได้จัดสรรไปแล้ว 7,320 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 23 ของแผนจัดสรรน้ำ” อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวในตอนท้าย
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ