ข่าว

"กยท." ร่วม "ยุทธศาสตร์กระบี่เมืองแพะ" ส่งเสริมเกษตกรสวนยาง

"กยท." ร่วม "ยุทธศาสตร์กระบี่เมืองแพะ" ส่งเสริมเกษตกรสวนยาง

06 เม.ย. 2564

"กยท." ร่วม "ยุทธศาสตร์กระบี่เมืองแพะ" ส่งเสริมเกษตกรสวนยาง ปรับเปลี่ยนอาชีพเลี้ยงแพะ เล็งตั้งกองทุนฯเพื่อการผลิตและโรงงานแปรรูปฯ 


นายประพันธ์ บุญเกียรติ ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย และนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย พร้อมคณะผู้อำนวยการสำนักงานการยางจังหวัด  เข้าพบ นายชวน ภูเก้าล้วน และศรีผ่องฟาร์ม ได้หารือความร่วมมือตามยุทธศาสตร์กระบี่เมืองแพะ โดยการยางแห่งประเทศไทย จะส่งเสริมให้เกษตรกรทำสวนยาง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างการผลิตยางปาล์มเพิ่มอาชีพการเลี้ยงแพะสร้างรายได้โดยมีความสนใจในการจัดเกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรมกับมหาลัยแพะนานาชาติกระบี่ 10,000 คนใน 3 ปี นอกจากนั้นสนใจจัดตั้งกองทุนแพะเพื่อการผลิต และการสร้างโรงงานแปรรูปเนื้อแพะแช่แข็งด้วย  โดยจะกลับไปวางแผนให้เกิดบูรณาการร่วมการพัฒนาต่อไป

 

\"กยท.\" ร่วม \"ยุทธศาสตร์กระบี่เมืองแพะ\" ส่งเสริมเกษตกรสวนยาง


นายณกรณ์​ กล่าวถึง แนวคิด ของคุณชวน ภูเก้าล้วน คือการใช้พื้นที่สวนยางและสวนปาล์มน้ำมันให้เกิดประโยชน์ โดยส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแพะเป็นรายได้เสริม ภายใต้ยุทธศาสตร์ “กระบี่เมืองแพะ” แบบครบวงจร โมเดลกระบี่เมืองแพะ มีเป้าหมายส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงแพะในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันแบบผสมผสาน ปลูกหญ้าอาหารสัตว์แค่ 2 ไร่ ก็เพียงพอสำหรับเลี้ยงแพะได้ 100 ตัว ตลอดทั้งปี 

 

\"กยท.\" ร่วม \"ยุทธศาสตร์กระบี่เมืองแพะ\" ส่งเสริมเกษตกรสวนยาง

 


สำหรับการเลี้ยงแพะเนื้อ ใช้เวลาคืนทุนไม่เกิน 18 เดือน ที่สำคัญมีฐานตลาดกว้างและมั่นคง โดยกลุ่มลูกค้าหลักคือ กลุ่มมุสลิมในประเทศและตลาดส่งออก​  ซึ่งตรงกับที่ กยท. มี นโยบายเปลี่ยน หรือปรับโครงสร้างอาชีพให้เกษตกรชาวสวนยาง ทำเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้ โดยจะมีทำการแบบครบวงจรคือจะทำโรงงานชำแหละเนื้อแพะ​ โรงงานแปรรูปเพื่อส่งออกให้ถูกต้องตามหลักอาหารฮาลาซ

 

\"กยท.\" ร่วม \"ยุทธศาสตร์กระบี่เมืองแพะ\" ส่งเสริมเกษตกรสวนยาง


"กยท.มีแนวคิดจะส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ หรือหากอยากจะปรับเปลี่ยนอาชีพจากการทำสวนยางพารามาเลี้ยงแพะ โดยรูปแบบที่คิดไว้ ทาง กยท. จะสนับสนุนเงินกู้ โดยออกเป็นแพกเกจเงินกู้ที่อยากจะเปลี่ยนอาชีพ และอาจจะมีเงินสนับสนุนในบางส่วน  เนื่องจาก กยท. มีโครงการปรับเปลี่ยนอาชีพอยู่แล้ว  มีแนวคิดว่าจะทำเป็น “ โครงการธนาคารแพะ” ในรูปแบบสหกรณ์  โดยจะมอบแพะให้กลุ่มสหกรณ์ ตัวเมีย 20 ตัว และตัวผู้ 1 ตัว ให้ชาวบ้านยืม หลังจากนั้น อีกสองปีให้เอามาคืน ซึ่งจะกำหนดอีกทีว่าจะให้คืน  25  หรือ 30 ตัว  เพื่อให้หมุนเวียนกับกลุ่มถัดไป   ซึ่งเกษตรกรทุกจังหวัดในภาคใต้ทุกจังหวัด ที่สนใจอยากจะเปลี่ยนอาชีพมาเลี้ยงแพะ ก็สามารถที่จะติดต่อ ที่กยท."นายณกรณ์กล่าว