ข่าว

จาก"ฟาร์มโค"สู่เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงนำชีวิต"ดร.เสรี ทองมาก" 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์ - ท่องโลกเกษตร โดย - สุรัตน์ อัตตะ  

          “เงินทองของมายา...ข้าวปลาสิของจริง” ประโยควรรคทอง ของ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ผู้บุกเบิกตำนาน “แตงโมบางเบิด”และเกษตรกรรมสมัยใหม่ จนได้รับขนานนามว่า “บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่”คงจะนำมาประยุกต์ใช้ได้ดีกับสถานการณ์ยุคปัจจุบันที่อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโคดรนา ไวรัสหรือโควิด-19 

จาก"ฟาร์มโค"สู่เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงนำชีวิต"ดร.เสรี ทองมาก" 

ดร.เสรี ทองมากกับโรงปุ๋ยอินทรีย์

จาก"ฟาร์มโค"สู่เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงนำชีวิต"ดร.เสรี ทองมาก" 

ดร.เสรี ทองมากกับภรรยาคู่ชีวิต

   

        หนุ่มใต้จากปลายด้ามขวาน"ดร.เสรี ทองมาก"ที่มาสร้างหลักปักฐานเหนือสุดแดนสยามติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้านพร้อมภรรยาคู่ชีวิต“ภูวนันท์ ทองมาก”ด้วยการสร้างฟาร์มสเตย์พอเพียง ภายใต้ชื่อ"ดร.เสรีฟาร์มสเตย์"แหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ตามทวิถีพอเพียงที่ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหลวงรัชกาลที่9 มาเป็นเข็มทิศชีวิตในการเดินไปสู่เป้าหมายในบั้นปลายของชีวิต  หลังเริ่มวางมือจากงานพัฒนาสังคมที่ทำมาค่อนชีวิต สำหรับปราชญ์ชาวบ้านด้านพัฒนาสังคม ที่ปัจจุบันรั้งตำแหน่งผู้จัดการมูลนิธิพัฒนรักษ์ องค์กรต่อสู้ความยากจนให้กับชายขอบที่มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะนำองค์ความรู้และประสบการณ์ชีวิตกลับมาสร้างอาณาจักรสวนเกษตรอินทรีย์ด้วยวิถีพอเพียงเพื่อให้คนในพื้นที่ได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้แบบครบวงจร

จาก"ฟาร์มโค"สู่เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงนำชีวิต"ดร.เสรี ทองมาก" 
ดร.เสรี ทองมาก อธิบายกิจกรรมภายในฟาร์มแก่ผู้มาดูงาน   

        "มีคำถามจากเพื่อน ๆ หลายคนหรือคนที่รู้จักสงสัยกันมากว่าทำเกษตรอินทรีย์ทำไมต้องมาเริ่มที่โค”เจ้าของดร.เสรีฟาร์มสเตย์เปิดประเด็นสนทนากับทีมข่าว“คมชัดลึก”ก่อนตอบคำถามให้คลายสงสัยว่าเป็นเพราะต้องการใช้โคเป็นเป็นสะพานเชื่อมจุดเริ่มต้นเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเกษตรอินทรีย์ โดยเริ่มจากผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์จากมูลโคแทนการใช้ปุ๋ยเคมีที่ใช้กันมาอย่างยาวนานเพื่อช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินและใส่พืชผักที่ปลูกไว้ ส่วนที่เหลือก็จำหน่ายสร้างรายได้ให้กับฟาร์ม โดยเขายอมรับว่าไม่ง่ายในการปรับสภาพดินที่แต่เดิมนั้นเต็มไปด้วยสารเคมีใส่พืชเชิงเดี่ยวที่เคยปลูกกันมาก่อน อาทิ ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น
           ใช้เวลากว่า 3 ปีในการปรับปรุงงสภาพดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ชีวิภาพจากมูลโค จนวันนี้สภาพดินเริ่มเข้าสู่ความเป็นอินทรีย์เกือบ 100% โดยเห็นจากตัวชีชี้วัด ไส้เดือนที่มีอยู่ในเต็มไปหมดภายในพื้นที่ของฟาร์ม โดยปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มานั้นเป็นวัตถุดิบหลักที่ได้มาจากมูลโคในฟาร์มที่เริ่มต้นเพียง 16 ตัว กระทั่งวันนี้โคได้ออกลูกออกหลานมีจำนวนถึง 39 ตัว

จาก"ฟาร์มโค"สู่เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงนำชีวิต"ดร.เสรี ทองมาก"  คอกโคเนื้อ


          “ก่อนโควิดระบาด มีคนมาดูงานเกือบทุกวันทั้งนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่  บ้างก็มาพัก บ้างก็มาเยี่ยมชม เพราะในฟาร์มเรามีที่พักเป็นโฮสเตย์ไว้บริการด้วย แต่ไม่มีอาหารบริการ เรามีห้องครัวให้ ซื้อของจากข้างนอกกลับมาทำกันเองได้  ส่วนที่ฟาร์มจะมีบริการเฉพาะกาแฟ แต่ส่วนใหญ่จะเข้ามาศึกษาดูงานอย่างเดียว ไม่ได้พัก” 
          ฟาร์มแห่งนี้ว่าเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังเมื่อปี 2559 โดยเริ่มจากโค 16 ตัวซื้อจากฟาร์มโคเนื้อในจ.กาญาจนบุรี เจ้าของฟาร์มมองว่าโคเป็นสัตว์ใหญ่ ใช้หญ้าเป็นอาหาร ซึ่งสามารถปลูกเองได้ไม่ต้องพึ่งพาบริษัทยักษ์ใหญ่ในเรื่องอาหารและลูกพันธุ์ ที่สำคัญเป็นสัตว์ใหญ่ที่ไม่อิงกลไกการตลาดไม่เหมือนสุกรหรือไก่  
        "ชอบตรงโคกินหญ้าไม่ต้องซื้ออาหาร ถ้าเทียบกับหมูหรือไก่ แล้วก็มันไม่อิงกลไกการตลาด ไม่ถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าที่เป็นผู้กำหนดราคามากเกินไป อย่างหมูพอถึงเวลาขาย ถ้าเราขายไม่ได้มันก็ต้องกินอาหารต้นทุนก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่สัตว์ใหญ่อย่างโคเกษตรกรจะเป็นผู้กำหนดราคาได้เอง ตลาดไม่ได้มีผลอะไรมาก ก็เลยตัดสินใจมาเลีี้ยงโค เป็นจุดเริ่มต้นในการทำเกษตร โดยเริ่มจาก 16 ตัวตอนนี้ออกลูกออกหลานเพิ่มขึ้นเป็น 39 ตัวแล้ว"ดร.เสรีชี้ไปดูคอกโค ภายในฟาร์มที่มีการแบ่งโซนอย่างชัดเจน คอกพ่อแม่พันธุ์ คอกโคขุนและคอกลูกโคเกิดใหม่   

จาก"ฟาร์มโค"สู่เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงนำชีวิต"ดร.เสรี ทองมาก"  บรรยากาศภายในฟาร์ม

จาก"ฟาร์มโค"สู่เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงนำชีวิต"ดร.เสรี ทองมาก"  ผักอินทรีย์ผลผลิตภายในฟาร์ม


 


          เขาเผยต่อว่าการเลี้ยงโคในรูปแบบฟาร์มให้คุ้มทุนนั้นเริ่มแรกจะต้องเลี้ยงไม่ต่ำกว่า 10 ตัว โดยใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปีจึงจะคุ้มทุน เพราะเมื่อบวกลบคูณหารต้นทุนเรื่องอาหาร การดูแลและมูลโคที่จะนำมาใช้แปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์แล้วจะคุ้มทุนได้ภายใน 3 ปีแรก เนื่องจาก 3 ปีแรกนั้นคนจะเลี้ยงโค 3 ปีต่อมาโคจะเลี้ยงโคและหลังจาก 6 ปีเป็นต้นไปโคก็จะเลี้ยงคน เพราะเมื่อโคออกลูกออกหลานมีจำนวนมากขึ้น มีปริมาณมูลโคมากขึ้น จึงเพียงพอที่จะนำมาแปรรูปเป็นรายได้ ซึ่งไม่นับการปลูกพืชผักหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นรายได้จากอานิสงค์มูลโค
         "ถ้าเราคิดจากเงินที่เรามีและพื้นที่ที่เราทำ ต้องมีโคไม่ต่ำกว่า 10 ตัวถึงจะคุ้มทุนใน 3 ปี ก็คือ 3 ปีแรกคนเลี้ยงโค 3 ปีต่อมาโคเลี้ยงโค หลังจาก 6 ปีไปแล้วโคเริ่มเลี้ยงคน รายได้ต่าง ๆ ก็จะเริ่มเข้ามา โดยรายได้อันแรกสุดก็คือมูลโคเอามาทำปุ๋ยอินทรีย์ อย่างที่ฟาร์ม 2 ปีแรกยังไม่ขายเอามาใช้ปรับปรุงดินพื้นที่ภายในฟาร์มก่อน  แต่เราตั้งเป้าไว้ว่าการเลี้ยงโคเป็นแค่ต้นน้ำ ปีนี้หรือนปีัหต่อ ๆ ไป ลูกโคที่เกิดใหม่ก็จะเริ่มทะยอยขายออกไปเพื่อเป็นรายได้ให้กับฟาร์ม วิธีการนขายจะไม่ได้ใช้ตาชั่ง แต่ใช้เครื่องชั่ง ในต่างจังหวัดส่วนใหญ่พ่อค้าจะใช้ตาชั่งคือมองดูแล้วตีราคา ชาวบ้านจะโดนกดราคาตลอด  เกษตรกรต้องทำงานเหนื่อยหนักใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าจะได้ขายโคแต่ละตัว พ่อค้าทำงานแค่ 2-3 ชั่วโมงฟันกำไรมากกว่าที่เกษตรกรใช้เวลาในการเลี้ยงอีก" 

จาก"ฟาร์มโค"สู่เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงนำชีวิต"ดร.เสรี ทองมาก"  โฮมสเตย์สำหรับบริการผู้มาพัก


         แม้โคเป็นแค่ส่วนหนึ่งในกิจกรรมของฟาร์ม แต่ก็เป็นเพียงต้นน้ำที่พร้อมแผ่ขยายไปสู่กิจกรรมอื่น ๆ โดยเริ่มจากการแปรรูปมูลโคเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวิภาพ ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของดร.เสรี ทองมาก ที่ได้คิดค้นขึ้นมา โดยนำองค์ความรู้จากประสบการณ์ที่ได้ไปพบเจอในระหว่างการทำงานมูลนิธิฯมาคิดปรับสูตรปุ๋ยอินทรีย์โดยเฉพาะ ก่อนนำมาทดลองใช้ภายในฟาร์มในระยะแรก จนประสบความสำเร็จ  ซึ่งสูตรปุ๋ยดร.เสรีนั้นแบ่งออกเป็น 3 สูตรหลัก โดยสูตรแรกเป็นการนำขี้ไส้เดือนมาผสมกับแกลบมูลโคที่โกยจากคอกในแต่ละวัน จากนั้นนำมาหมักไว้ประมาณ 10 วัน โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์เป็นส่วนผสมในการย่อยสลาย ก่อนนำไปใช้ใส่พืช ผัก ต้นไม้ภายในฟาร์ม


        ส่วนสูตรที่สองเป็นการนำสูตรแรกมาบดให้ละเอียดโดยเครื่องบดปุ๋ย ก่อนนำไปใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับสูตรแรก แต่สูตรนี้จะใช้เวลาในการสลายตัวเร็วกว่า สำหรับสูตรที่สาม เป็นการนำสูตรที่สองมาอัดเม็ดแล้วใส่จุลินทรีย์บางตัวเข้าไป ก่อนจะนำไบรรจุถุงเพื่อจำหน่ายใช้ประโยชน์ต่อไป โดยสูตรที่สามนี้เหมาะใช้กับไม้ดอกไม้ประดับ รวมถึงกล้วยไม้ทุกสายพันธุ์ ส่วนราคาจำหน่ายนั้นแต่ละสูตรจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประโยชน์การใช้สอย

จาก"ฟาร์มโค"สู่เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงนำชีวิต"ดร.เสรี ทองมาก" 


       "ตอนนี้รายได้หลัก ๆ มาจากปุ๋ย ผลิตได้เฉลี่ย 20 ตันต่อเดือน ส่วนราคาขายก็จะต่างกัน อย่างสูตรแรกอยู่ที่กิโลกรัมละ 5 บาท แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภายในฟาร์มเป็นหลัก สูตรที่สองกิโลกรัมละ 10 บาทพร้อมบรรจุถุงละ 5 กิโลกรัม ส่วนสูตรที่สามเป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดกิโลกรัมละ 15 บาท สูตรนี้ใช้ง่ายเหมาะสำหรับคนเมืองที่ปลูกไม้กระถาง ไม้ดอกไม้ประดับ  แต่ทุกสูตรจะใช้ปรับปรุงบำรุงดินควบคู่กันไปด้วย ปุ๋ยที่ผลิตทุกวันนี้ส่วนใหญ่จะขายอยู่แต่ในพื้นที่จ.น่านและยังผลิตไม่พอขายด้วย" 
         ปัจจุบันดร.ฟาร์มสเตย์ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 28 ไร่ในต.ภูเพียง อ.ภูเพียง จ.น่าน ห่างจากตัวเมืองน่านตามเส้นทางวัดธาตุแช่แห้งประมาณ 15 กิโลเมตร ผ่านวัดภูเพียงก่อนเลี้ยวซ้ายเข้าพื้นที่ฟาร์ม ใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 นาที สังเกตุป้ายบริเวณปากทางข้าฟาร์ม“ดร.เสรีฟารืมสเตย์”อย่างเด่นชัด มองทะลุเข้าไปในฟาร์มเห็นโฮมสเตย์หลังสีแดงหลังใหญ่สองชั้นตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่กลางฟาร์มเพื่อไว้รองรับสำหรับรองรับผู้มาเยือน
 
  

            สนใจเยี่ยมชมกิจกรรมภายในฟาร์มหรือที่พักติดต่อดร.เสรีฟาร์มสเตย์โทร. 08-1257-8538,08-19111446 ได้ตลอดเวลา 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ